ตามกฎหมาย ภูมิลำเนาของบุคคลมี ๒ ประเภทคือ
๑. ถิ่นที่อยู่อันบุคคลธรรมดาแสดงเจตนาว่าให้เป็นภูมิลำเนา
๒. ภูมิลำเนาของบุคคลประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นการเฉพาะ
ภูมิลำเนาตามกฎหมายไทย
๑. ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา
๑.๑ องค์ประกอบ ถิ่นใดจะเป็นภูมิลำเนาของบุคคลใดนั้น ต้องมีองค์ประกอบดังนี้
๑.๑.๑ ถิ่นนั้นเป็นแกล่งพักพิงของบุคคลนั้น โดยพิจารณาตามความเป็นจริง ถิ่นเช่นว่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นถิ่นที่อยู่ตามทะเบียนสำมะโนครัว ถิ่นที่อยู่ถาวร ถิ่นอันตั้งรกรากถาวร หรือถิ่นที่อยู่หรือที่ทำงานเป็นการประจำแต่ต้องไม่ใช่ถิ่นที่อยู่เป็นการชั่วคราวหรือเพียงระยะสั้นๆ ซึ่งสามารถกะเวลาที่อยู่ชั่วคราวหรือสั้นๆนั้นได้แน่นอน เช่น หอพักของนักศึกษาไม่ถือเป็นภูมิลำเนา แม้ว่ามีการย้ายสำมะโนครัวมายังหอพักนี้แล้วกตาม (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๗)
๑.๑.๒ บุคคลนั้นแสดงเจตนาให้ถิ่นดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของตน โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ใดๆที่บุคคลนั้นแสดงออกให้บุคคลอื่นรับรู้ได้ว่า ตนต้องการให้ถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาของตน (ประมวลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา ๓๘)
๒. การเปลี่ยนภูมิลำเนา บุคคลสามารถกระทำได้ โดยการเปลี่ยนหรือย้ายถิ่นที่อยู่ และ/หรือแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนา ทั้งนี้ ให้คำนึงว่า บุคคลดังกล่าวต้องมิใช่บุคคลพิเศษ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น คนไร้ความสามารถ ผู้เยาว์ ฯลฯ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๑)
๓. บุคคลยังสามารถกำหนดให้ถิ่นใดเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของตนก็ได้ เพื่อใช้ไว้ทำการใดๆ ตามแต่ประสงค์ การดังกล่าวกระทำได้โดยแสดงเจตนาให้ปรากฏชัดแจ้งว่า ต้องการให้ถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ
กรณีที่ภูมิลำเนาไม่ปรากฏ
ในกรณีที่ภูมิลำเนาของบุคคลไม่ปรากฏ กล่าวคือ บุคคลนั้นไม่เปิดเผยให้ผู้ใดทราบก็คงดี หรือไม่มีความแน่นอนแน่ชัดว่าบุคคลนั้นต้องการให้ถิ่นใดเป็นภูมิลำเนาของตนก็ดี หรือ ประการอื่นก็ดี ให้เอาถิ่นที่บุคคลนั้นพำนักอยู่เป็นหลักแหล่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น ซึ่งหากว่าบุคคลนั้นพำนักอยู่เป็นหลักแหล่งในหลายถิ่น จะถือเอาถิ่นใดเป็นภูมิลำเนาก็ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘)
กรณีที่บุคคลมีถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่งหลายถิ่น
ในกรณีที่บุคคลมีถิ่นที่อยู่หรือถิ่นอันเป็นหลักแหล่งในการประกอบอาชีพหลายแห่ง และทุกแห่งก็ล้วนสำคัญ ไม่อาจกำหนดได้ว่าถิ่นใดสำคัญกว่าเพื่อน ในกรณีเช่นว่านี้กฎหมายยอมรับให้บุคคลมีภูมิลำเนาหลายแห่งได้ โดยจะถือเอาแห่งใดเป็นภูมิลำเนาของตนเองก็ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘)
กรณีที่บุคคลมีที่อยู่ไม่เป็นหลักเป็นแหล่ง
ในกรณีที่บุคคลใดมีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง เช่น ครองชีพด้วยการสัญจรไปมา เป็นต้นว่า ทำงาน และปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ บนรถบรรทุกในกรณีเช่นว่านี้ หากพบตัวบุคคลดังกล่าวในถิ่นไหนก็ให้ถือเอาถิ่นที่พบตัวนั้นเป็นภูมิลำเนาของบุคคลเช่นว่า (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔o)
๑ ภูมิลำเนาในกรณีพิเศษ
๑.๑ ภูมิลำเนาของ คู่สมรส บุคคลที่เป็นสามีและภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ภูมิลำเนาของบุคคลทั้งสองนี้ได้แก่ถิ่นที่อยู่ซึ่งทั้งสองอยู่กินฉันสามีภรรยา เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแสดงเจตนาให้ชัดแจ้งว่าประสงค์จะมีภูมิลำเนาต่างหากจากกัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๓)
๑.๒ภูมิลำเนาของ ผู้เยาว์ ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ได้แก่ ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม กล่าวคือ ได้แก่ ภูมิลำเนาของผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดา และ/หรือมารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือ ภูมิลำเนาของผู้ปกครองของผู้เยาว์ ทั้งนี้ จนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ ในกรณีที่บิดาและมารดามีภูมิลำเนาต่างหากจากกัน ถูมิลำเนาของผู้เยาว์จะได้แก่ภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาที่ผู้เยาว์นั้นพำนักอยู่ด้วย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๔)
ทั้งนี้บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง บิดาซึ่งมีทะเบียนสมรส หรือมีเอกสารของราชการรับรองความเป็นบิดา ส่วนมารดาถือเป็นมารดาโดยชอบธรรมด้วยกฎหมายเสมอ ตัวอย่างเช่น เด็กชาย ก เป็นบุตรของเด็กชาย ข และ นาง ค ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภรรยา ณ จังหวัดเชียงราย โดยไม่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายต่อมานาย ข ย้ายไปราชการ ณ จังหวัดเชียงใหม่ สามีภรรยาทั้งสองจึงตกลงใจให้เด็กชาย ก ย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกับนาย ข ยังจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนนาง ค คงอยู่จังหวัดเชียงรายตามเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ ภูมิลำเนาของเด็กชาย ก ได้แก่จังหวัดเชียงรายตามภูมิลำเนาของมารดา เนื่องจากนาย ข นั้นไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ก จึงมุถือว่าเป็ฯผู้แทนโดยชอบผู้ใช้อำนาจปกครองของเด็กชาย ก ได้เป็นต้น
๑.๓ ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถและของคนเสมือนไร้ความสามารถ ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถได้แก่ ภูมิลำเนาของผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ตน แล้วแต่กรณีทั้งนี้ จนกว่าศาลจะได้เพิกถอนคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๕)