ทะเบียนประวัติอาชญากรและระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Loading

ในกรณีที่การดำเนินการตรวจสอบประวัติและพฤติกรรมบุคคลพบข้อมูลการกระทำผิดในทะเบียนประวัติอาชญากรของบุคคลที่หน่วยงานของรัฐจะรับบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้าง หรืออยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติราชการ หน่วยงานของรัฐนั้นอาจเปิดโอกาสให้มีการนำผลการสิ้นสุดคดีความหรือให้มีการติดตามผลคดีที่ชัดเจน เพื่อมาประกอบการพิจารณาด้วย เพราะ ตามระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ.2554 ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2554 บทที่ 4 การคัดแยกและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และรายการประวัติหรือบัญชีประวัติ ข้อ 1 โดยการแสดงข้อมูลผลคดีความนี้ อาจแจ้งให้เจ้าของประวัตินำผลคดีมาแสดงเองหรือโดยการขอรับการสนับสนุนผลคดีไปยังหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบก็ได้ หากผลคดีเป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการพิมพ์ลายนิ้วมือแล้ว ถือได้ว่าบุคคลนั้นมิได้ขาดคุณสมบัติใดๆ ทางราชการในการบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้างได้ ข้อมูลตามทะเบียนประวัติอาชญากร เมื่อมีการจัดทำขึ้นแล้ว จะถูกจัดเก็บไว้ เมื่อมีการสั่งฟ้องดำเนินคดี มีคำพิพากษา ก็จะทำการลงบันทึกถึงผลการดำเนินคดี ได้แก่ ศาลสั่งยกฟ้อง หรือสั่งลงโทษ ก็จะลงต่อท้ายไว้ กรณีที่จะถูกจัดทำทะเบียนประวัติอาชญากรมาจาก 2.1 การทำความผิดทางอาญาทุกชนิด เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดำเนินคดี จะต้องมีการทำประวัติอาชญากรรม 2.2 ประวัติอาชญากรรมจะจัดทำเมื่อตั้งข้อกล่าวหาตั้งแต่ในชั้นตำรวจ หรือผู้เสียหายดำเนินการฟ้องร้องเอง จะจัดทำในชั้นที่ศาลสั่งว่าคดีมีมูล บุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนได้เสียกับเจ้าของประวัติ สามารถขอตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ โดยเฉพาะที่เป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัด เพราะมีหน้าที่ต้องจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อมิให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเสียหายแก่เจ้าของประวัติ ถึงแม้จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติอาชญากรก็ตาม ทั้งนี้…