วิธีการเตรียมแผนฉุกเฉินเตรียมการเผชิญเหตุรุนแรงจากการชุมนุมประท้วง

Loading

หลักการ สืบเนื่องจากเหตุการณ์และสภาพที่เกิดจากการชุมนุมประท้วงต่อต้านการบริหารงานของหน่วยงานรัฐบาล หลักการที่ต้องคำนึงถึง 1. สาเหตุที่ก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงและการดำเนินการแก้ไขของหน่วยงาน เช่น การจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปเจรจารับทราบสาเหตุ-พยายามแก้ไปัญหาให้แก่ผู้ชุมนุมประท้วง 2. ผลและสภาพภายหลังดำเนินการเจรจา เช่น ลดความรู้สึกเผชิญหน้าระหว่างกันลงได้ หรือเพิ่มความรู้สึกขัดแย้งให้ทวียิ่งขึ้น 3. ประเมินสภาพของกลุ่มผู้ชุมนุม เช่น 3.1 ในชั้นต้นเป็นเพียงการชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วงขนาดย่อย 3.2 ต่อมากลุ่มผู้นำการประท้วงมีเป้าหมายและพยายามเคลื่อนไหวในรูปแบบการปลุกระดมและประกอบกิจกรรมต่างๆ ในบริเวณที่ทำการประท้วง เพื่อกดดันหน่วยงาน 3.3 ผลจากข้อ 3.2 ทำให้มีประชาชนมาเข้าร่วมชุมนุมและยิ่งขยายตัวออกไป 3.4 การชุมนุมมีท่าทีที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ 3.5 ประเมินได้ว่าอาจกลายเป็นการเข้ายึดพื้นที่ตั้งหน่วยงาน หรือสถานที่ราชการ ในบริเวณใกล้เคียง หรือทำการปิดเส้นทางการจราจรโดยรอบ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อาจเปรียบได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่การก่อจลาจล ที่มุ่งทำลายชีวิตและทรัพย์สินของส่วนราชการ 4. ประเมินพื้นที่ตั้งของหน่วยงาน บริเวณโดยรอบ และพื้นที่ใกล้เคียงว่า ใกล้กับสถานที่สำคัญประเภทใดบ้างที่อาจเป็นหรือเป็นเป้าหมายของการชุมนุม ประท้วงต่อไปหรืออาจได้รับความเสียหาย ในกรณีที่การประท้วงขยายตัว เช่น พื้นที่ตั้งใกล้ทำเนียบรัฐบาล ตั้งใกล้กับโบราณสถาน เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าว หน่วยงานของรัฐจึงต้องเผชิญกับการเคลื่อนไหวทุกรูปแบบที่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงกระทำ เพื่อก่อกวน กดดัน หรือโจมตี รวมถึงการมุ่งทำลายล้าง การวางมาตรการรักษาความปลอดภัยภายในพื้นที่เป็นการเฉพาะเพิ่มขึ้นจึงเป็นความจำเป็น เพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินที่มีสาเหตุจากการชุมนุมประท้วง เนื่องจากมาตรการรักษาความปลอดภัยเดิม ส่วนใหญ่จะเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันสถานที่จากการโจรกรรม…

ความสำคัญที่หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการกรอก รปภ.1 (ประวัติบุคคล)

Loading

เนื่องจากบุคคลมีความสำคัญที่สุดต่อการดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัย ถึงแม้จะมีการจัดระบบควบคุม ตรวจสอบ หรือกำหนดมาตรการใด ๆ ขึ้นอย่างรอบคอบ และมีประสิทธิภาพก็ตาม แต่หากบุคคลที่อยู่ภายใต้ระบบหรือมาตรการเหล่านั้น เป็นบุคคลที่ปราศจากสำนึก ขาดระเบียบวินัย หรือขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐแล้ว บุคคลประเภทนี้อาจกลายเป็นผู้ก่อให้เกิดภัยอันตรายแก่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่สังกัดอยู่ ฉะนั้น การคัดกรองบุคคลจึงนับ เป็นวิธีการหนึ่งที่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐต้องสนใจดำเนินการเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และสามารถปฏิบัติงานราชการให้สำเร็จลุล่วงอย่างดีที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ วิธีการเบื้องต้นในการคัดกรองบุคคล ที่จะรับเข้ามาปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ คือการกรอก รปภ.1 เนื่องจากเอกสารนี้เป็นแบบสอบถามข้อมูลประวัติและพฤติกรรมโดยทั่วไปของบุคคล ที่จะได้รับการบรรจุเข้าปฏิบัติงาน นับเป็นการพิสูจน์ทราบเบื้องต้นถึงประวัติ-ความประพฤติส่วนตัวของบุคคลนั้น อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐที่บุคคลนั้นจะเข้ามาสังกัด เนื่องจาก รปภ.1 ถือเป็นการรายงานตัวต่อทางราชการที่เป็นลายลักษณ์อักษรประเภทหนึ่ง ซึ่งเจ้าของประวัติสมควรให้ข้อมูลที่ครบถ้วนตามความเป็นจริง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามระเบียบของราชการ หากบุคคลใดไม่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือแล้ว อาจหมายถึงพิรุธของบุคคลนั้นว่าเคยมีประวัติหรือพฤติกรรมที่ไม่ต้องการเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก ซึ่งสิ่งที่ต้องการปกปิดดังกล่าวอาจกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดภัยอันตราย ต่อส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐได้ในภายหลัง