ความสำคัญที่หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการกรอก รปภ.1 (ประวัติบุคคล)

Loading

เนื่องจากบุคคลมีความสำคัญที่สุดต่อการดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัย ถึงแม้จะมีการจัดระบบควบคุม ตรวจสอบ หรือกำหนดมาตรการใด ๆ ขึ้นอย่างรอบคอบ และมีประสิทธิภาพก็ตาม แต่หากบุคคลที่อยู่ภายใต้ระบบหรือมาตรการเหล่านั้น เป็นบุคคลที่ปราศจากสำนึก ขาดระเบียบวินัย หรือขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐแล้ว บุคคลประเภทนี้อาจกลายเป็นผู้ก่อให้เกิดภัยอันตรายแก่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่สังกัดอยู่ ฉะนั้น การคัดกรองบุคคลจึงนับ เป็นวิธีการหนึ่งที่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐต้องสนใจดำเนินการเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และสามารถปฏิบัติงานราชการให้สำเร็จลุล่วงอย่างดีที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ วิธีการเบื้องต้นในการคัดกรองบุคคล ที่จะรับเข้ามาปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ คือการกรอก รปภ.1 เนื่องจากเอกสารนี้เป็นแบบสอบถามข้อมูลประวัติและพฤติกรรมโดยทั่วไปของบุคคล ที่จะได้รับการบรรจุเข้าปฏิบัติงาน นับเป็นการพิสูจน์ทราบเบื้องต้นถึงประวัติ-ความประพฤติส่วนตัวของบุคคลนั้น อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐที่บุคคลนั้นจะเข้ามาสังกัด เนื่องจาก รปภ.1 ถือเป็นการรายงานตัวต่อทางราชการที่เป็นลายลักษณ์อักษรประเภทหนึ่ง ซึ่งเจ้าของประวัติสมควรให้ข้อมูลที่ครบถ้วนตามความเป็นจริง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามระเบียบของราชการ หากบุคคลใดไม่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือแล้ว อาจหมายถึงพิรุธของบุคคลนั้นว่าเคยมีประวัติหรือพฤติกรรมที่ไม่ต้องการเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก ซึ่งสิ่งที่ต้องการปกปิดดังกล่าวอาจกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดภัยอันตราย ต่อส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐได้ในภายหลัง

สโนว์เดนเผย รัฐบาลอังกฤษสอดแนมข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟน

Loading

นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตเจ้าหน้าที่สัญญาจ้างของซีไอเอซึ่งกำลังลี้ภัยอยู่ในรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับรายการพานอรามาของบีบีซีถึงเรื่องการสอดแนมข้อมูลว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงของอังกฤษสามารถดักฟังข้อความจากโทรศัพท์มือถือ โดยที่ผู้ใช้เองไม่รู้ตัวและไม่สามารถทำอะไรได้ ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ ทีมงานของรายการต้องใช้เวลาร่วม 3 เดือนในการนัดหมาย โดยสื่อสารกันผ่านแอปพลิเคชันเข้ารหัส จากนั้นทีมงานได้รับข้อความให้ไปเปิดห้องที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงมอสโกและติดต่อนายสโนว์เดนเพื่อบอกเบอร์ห้องให้เขามาพบ นายสโนว์เดนบอกว่า ทุกวันนี้มีการสอดแนมข้อมูลของคนทั่วไปผ่านการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่ผู้ถูกสอดแนมไม่ได้ทำอะไรผิด และไม่มีทางรู้ตัวเลยว่ากำลังถูกสอดแนมอยู่ ประเด็นหนึ่งที่เขารู้สึกกังวลคือ การที่ศูนย์บัญชาการการสื่อสารของรัฐบาลอังกฤษ (GCHQ) ซึ่งเป็นหูเป็นตาของทางการ สามารถเจาะระบบเพื่อล้วงข้อมูลบนสมาร์ทโฟนได้ โดยใช้ระบบที่เรียกว่า CNE (Computer Network Exploitation) เขาบอกความลับเรื่องโครงการฝึกอบรมการล้วงข้อมูลโดยรัฐบาล ภายใต้ชื่อรหัสโครงการว่า “สเมิร์ฟ”ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนชื่อดังของนักเขียนชาวเบลเยียม     เทคนิคที่ใช้ในโครงการสเมิร์ฟนี้ทำได้หลายอย่าง เช่น “สเมิร์ฟช่างฝัน” (Dreamy Smurf) สามารถสั่งเปิดปิดโทรศัพท์มือถือของเราได้แม้แต่ตอนที่เครื่องปิดอยู่ “สเมิร์ฟจอมจุ้น” (Nosy Smurf) จะสั่งเปิดไมโครโฟนและบันทึกเสียงทุกอย่างรอบ ๆ ตัวได้โดยที่เจ้าของไม่รู้ตัว ส่วน “สเมิร์ฟนักแกะรอย” (Tracker Smurf) สามารถระบุตำแหน่งผู้ใช้และแอบติดตามตำแหน่งที่อยู่ได้ นอกจากนี้ นายสโนว์เดนยังระบุถึงการที่ GCHQ แอบล้วงข้อมูลจำนวนมากจากการสื่อสารภายในปากีสถาน ซึ่งคาดว่าเพื่อแกะรอยผู้ก่อการร้าย โดยใช้วิธีเจาะเข้ากล่องชุมทางสัญญาณข้อมูลดิจิตอลของบริษัทซิสโกของสหรัฐฯ ซึ่งปฏิบัติการนี้มีขึ้นโดยที่บริษัทซิสโกเองก็ไม่รู้ตัว เรื่องนี้รัฐบาลอังกฤษได้ส่งสัญญาณอนุญาตให้ดำเนินการในทางลับ…

ไล่บี้! แก้กฎหมาย เล็งหักเงินเดือน-ใช้หนี้กยศ. ส่งชื่อทั้งหมดเข้าเครดิตบูโร

Loading

กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. กำลังดำเนินการปรับแก้กฎหมายเพื่อดำเนินการติดตามทวงหนี้กับผู้ที่ค้างชำระ โดยเตรียมใช้มาตรการหักเงินเดือนกับองค์กรนายจ้างอีกด้วย เมื่อ 18 ต.ค.58 น.ส.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า ขณะที่ กยศ.กำลังปรับยกร่างพ.ร.บ.กองทุนเพื่อการศึกษาให้มีอำนาจเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้กู้ และสามารถสั่งให้นายจ้างหักเงินเดือนของบุคลากรในหน่วยงานได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ เพราะขณะนี้ มีผู้กู้ กยศ.จำนวนมาก ไม่ดำเนินการแจ้งที่อยู่ปัจจุบัน เพราะผู้กู้ส่วนใหญ่คิดว่าการที่ไม่แจ้งที่อยู่ปัจจุบัน หรือไม่ติดต่อชำระหนี้กับทาง กยศ.เป็นการกระทำที่จะสามารถทำให้หนี้หายไป ซึ่งตนขอยืนยันว่าหนี้ดังกล่าวไม่มีทางหักลบ โดยหากพ.ร.บ.ดังกล่าวประกาศใช้ กยศ.ก็จะสามารถทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับองค์กรนายจ้าง ให้หักเงินเดือนบุคลากรที่เป็นผู้กู้ โดยมีมาตรการจูงใจต่างๆ เช่น ในกรณียินยอมให้หักเงินเดือน อย่างไรก็ตามในปี 2561 ทาง กยศ.มีนโยบายนำบัญชีของผู้กู้ทั้งหมดเข้าเป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ซึ่งจะแสดงสถานะบัญชีของผู้กู้ จึงขอความร่วมมือผู้กู้ที่ค้างชำระหนี้ให้เร่งดำเนินการติดต่อมายังกยศ. เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1445212066 วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 06:44:41 น.