1.ข้อสังเกตเกี่ยวกับภาพที่ได้จากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
– ภาพที่ 1, 2, 3 แสดงให้เห็นถึงการปะทะกันระหว่างคนร้ายในรถบรรทุกระเบิดกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย แต่ไม่เห็นจำนวนคนร้ายที่มากับรถบรรทุกระเบิด
– ภาพที่ 4 ในกรอบสีเหลืองแสดงให้เห็นว่า เกิดการระเบิดครั้งแรก และมีไฟลุกไหม้
– ภาพที่ 5 ในกรอบสีฟ้า ท่าทางยืนรวมกลุ่มดูรถบรรทุกระเบิดไฟไหม้แสดงว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่ได้ตื่นตกใจกับการปะทะคนร้ายที่ขับรถบรรทุกระเบิดและการระเบิดครั้งแรกในรถบรรทุก
– ภาพที่ 6 กรอบสีส้ม เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 1 นาย พยายามใช้ถังดับเพลิงฉีดดับไฟในรถบรรทุกระเบิด
1.1 จากภาพที่ 1, 2, 3 คนขับรถบรรทุกระเบิดยังไม่น่าจะเสียชีวิต แต่รถบรรทุกติดเครื่องกีดขวางจนไม่สามารถผ่านเข้ามาถึงตัวอาคารโรงแรมได้สำเร็จ
1.2 จากภาพที่ 4 เกิดการระเบิดที่ที่นั่งตอนหน้ารถบรรทุกระเบิดด้านซ้าย ซึ่งเป็นส่วนที่นั่งด้านข้างไม่ใช่ที่นั่งคนขับ เพราะที่นั่งขับรถยนต์ในปากีสถานอยู่ด้านขวามือ จากการระเบิดครั้งแรกนี้น่าจะทำให้คนร้ายที่อยู่ในรถบรรทุกเสียชีวิตแล้ว เพราะท่าทีของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในภาพที่ 5, 6 แสดงความเชื่อมั่นว่า พวกตนอยู่ในสภาพที่มีความปลอดภัยกว่าในภาพที่ 1, 2, 3
1.3 จากภาพทั้งหมดนี้ มีข้อน่าสังเกตว่า ไม่น่าจะเป็นการระเบิดแบบพลีชีพ หากเป็นวิธีนี้แล้ว คนร้ายน่าจะจุดระเบิดทันทีที่รถบรรทุกติดเครื่องกีดขวาง เพราะพร้อมที่จะเสียชีวิตและรู้ตัวแล้วว่าหมดโอกาสที่จะเข้าถึงเป้าหมายที่ต้องการได้ ฉะนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจุดระเบิดในตอนหน้ารถเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในภาพที่ 4 ที่น่าจะมีผลให้คนร้ายในรถบรรทุกเสียชีวิตไปก่อน ทั้งยังทิ้งช่วงเวลาอีกหลายนาทีระหว่างภาพที่ 4 จนถึงภาพที่ 6 จากนั้นจึงน่าจะเกิดระเบิดที่สร้างความเสียหาย
2. การระเบิดที่สร้างความเสียหายในครั้งนี้น่าจะมาจากวิธีตั้งเวลาจุดระเบิดและน่าจะมีการจุดระเบิดอย่างน้อย 2ครั้ง คือ ครั้งแรกที่ตอนหน้ารถบรรทุกระเบิด และครั้งที่ 2 จึงเกิดการระเบิดที่สร้างความเสียหายในครั้งนี้
3.เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ที่โรงแรมมาริออตถูกโจมตี โดยในครั้งแรกเมื่อ 26 มกราคม 2550 เจ้าหน้าที่รัฐสามารถยับยั้งการระเบิดพลีชีพที่ท่าอากาศยานนานาชาติและที่โรงแรมมาริออตไว้ได้ และจากนั้น รัฐได้จัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทำการตรวจตราและเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดตามสถานที่ที่น่าจะเป็นเป้าหมายในกรุงอิสลามาบัดตลอดมา และที่โรงแรมมาริออตก็เป็นสถานที่ที่อยู่ในการเฝ้าระวังของรัฐแห่งหนึ่งด้วย
4. ทำเลที่ตั้งของโรงแรมแห่งนี้ค่อนข้างเป็นพื้นที่ส่วนตัว ต่างจากโรงแรมระดับห้าดาวแห่งอื่นที่ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ พื้นที่โดยรอบปลูกไม้ต้นและอยู่ที่ปลายเนินเขามาร์กาลลา นอกจากนี้ บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของส่วนราชการสำคัญและหน่วยงานของต่างชาติ เช่น ทำเนียบรัฐบาล บ้านพักนายกรัฐมนตรี และที่ทำการ สถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ เป็นต้น หากสามารถก่อเหตุร้ายในพื้นที่นี้ขึ้นได้แล้วจะส่งผล
4.1 สามารถบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของฝ่ายรัฐที่จะประกันความปลอดภัยในการดำรงชีวิตลงอย่างยิ่ง
4.2 ผลเสียหายที่เกิดขึ้นจะไม่กระทบถึงการดำรงชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ เพราะเป็นเขตที่ตั้งสถานที่ทำการของรัฐและชาวต่างชาติ
5.การเสริมเครื่องกีดขวางทางเข้า-ออกโรงแรมเพิ่มขึ้นจากแขนกั้นเหล็กที่ใช้ตามปกตินับเป็นสิ่งที่ช่วยให้ความเสียหายลดน้อยลง เพราะสามารถยับยั้งรถบรรทุกระเบิดให้ห่างจากตัวอาคารโรงแรมได้ประมาณ 500 เมตรขึ้นไป ซึ่งระยะห่างดังกล่าวนี้ช่วยผ่อนอำนาจการระเบิดต่ออาคารลงได้มาก เพราะหากรถบรรทุกระเบิดสามารถเข้าถึงบริเวณหน้ามุขทางเข้าห้องล็อบบี้ได้แล้ว อาคารด้านหน้าและส่วนต้อนรับทั้งหมดน่าจะเสียหายในลักษณะของการพังทลาย โดยเปรียบเทียบได้กับกรณีระเบิดอาคารสำนักงาน Federal Investigation Agency ที่เมืองลาฮอร์ ปากีสถาน เมื่อ 11 มีนาคม 2551 เนื่องจากคนร้ายประสบความสำเร็จในการนำรถบรรทุกระเบิดเข้าไปจุดระเบิดใกล้ตัวอาคารสำนักงาน
กรณีระเบิดที่เมืองลาฮอร์ครั้งนั้นน่าจะใช้วัตถุระเบิดน้อยกว่ากรณีโรงแรมมาริออต เพราะสภาพซากรถต้นเหตุที่เหลืออยู่ (ตามลูกศร) น่าจะเป็นรถยนต์มากกว่ารถบรรทุก ฉะนั้น จำนวนวัตถุระเบิดที่บรรทุกมาอาจจะน้อยกว่ากรณีโรงแรมมาริออต ซึ่งประมาณว่า วัตถุระเบิดหนักประมาณ 500 กิโลกรัมขึ้นไป อย่างไรก็ดี กรณีระเบิดที่เมืองลาฮอร์สร้างความเสียหายแก่โครงสร้างอาคารรุนแรงกว่ากรณีโรงแรมมาริออต
6. จากสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงแรมมาริออต มีข้อสังเกตดังนี้
6.1 จุดที่รถบรรทุกระเบิดเป็นหลุมกว้าง 6 เมตร ลึก 4 เมตร แสดงว่า เป็นวัตถุระเบิดที่มีแรงอัดระเบิดสูง ซึ่งพิจารณาว่า น่าจะเป็นวัตถุระเบิดผลิตเอง จากเหตุระเบิดที่ผ่านมา คนร้ายในปากีสถานนิยมใช้โปแตสเซียมหรือผงอลูมิเนียม เป็น SECONDARY EXPLOSIVE และจุดระเบิดด้วยวัตถุระเบิดทางทหาร เช่น RDX, TNT ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะให้แรงอัดระเบิดสูง แต่จะไม่มีแรงฉีกกระชากเหมือนกับการใช้วัตถุระเบิดทางทหารโดยตรง ตัวอย่างการใช้วัตถุระเบิดทางทหารก่อเหตุร้าย โดยใช้วัตถุระเบิดที่อาจมีปริมาณใกล้เคียงกับกรณีโรงแรมมาริออต แต่อาจมีปริมาณของวัตถุระเบิดทางทหารมากกว่า ได้แก่ กรณีระเบิดที่
เมืองโอคลาโฮมา สหรัฐฯ เมื่อ 4 มิถุนายน 2540 ซึ่งรถต้นเหตุเป็นรถบรรทุกที่จอดอยู่ใกล้หน้าอาคาร เป้าหมาย แรงอัดระเบิดจึงสามารถกระแทกทำลายโครงสร้างด้านหน้าอาคารได้เต็มกำลังและรอบทิศทาง ส่วนที่พิจารณาว่าเป็นวัตถุระเบิดทางทหารเพราะแรงอัดระเบิดสามารถฉีกกระชากและทำลายโครงสร้างที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กได้ตลอดแนวชั้นอาคารทุกชั้น
6.2 ขนาดของหลุมที่เกิดขึ้นจากแรงอัดระเบิดโดยตรงพิจารณาได้ว่า แรงอัดระเบิดส่วนใหญ่กระแทกลงตรงพื้นที่รถบรรทุกระเบิดติดเครื่องกีดขวางอยู่จึงทำให้เกิดหลุมขนาดใหญ่ขึ้น การบังคับให้แรงอัดระเบิดลงสู่ส่วนล่างสามารถกระทำได้โดยใช้สิ่งที่มีน้ำหนักกดทับวัตถุระเบิด เมื่อจุดระเบิดแล้ว แรงอัดระเบิดไม่สามารถดันขึ้นสู่ด้านบนได้สะดวกก็จะกระแทกลงสู่ส่วนล่างแทน ซึ่งเป็นการผ่อนรัศมีการทำลายของแรงอัดระเบิดลงไปพร้อมกันด้วย ลักษณะเช่นนี้จะใช้ในการขุดบ่อหรือระเบิดก้อนหินขนาดใหญ่ที่ฝังลึกอยู่ในดิน ตามผังที่แสดงนี้
ผังแสดงการระเบิดที่บังคับทิศทางให้แรงอัดระเบิดลงสู่พื้นล่าง
จากผังที่แสดงด้านบนนี้น่าจะเป็นวิธีการที่คนร้ายนำมาใช้กับกรณีโรงแรมมาริออต แต่อย่างไรก็ดี วิธีการแบบนี้ ทำให้พิจารณาได้อีกว่า คนร้ายอาจไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะทำลายล้าง แต่ต้องการสร้างความเสียหายให้เป็นผลคุกคามทางจิตวิทยาและให้เป็นที่ประจักษ์ถึงศักยภาพของตน เหตุผลประกอบการพิจารณามีดังนี้
6.2.1 บริเวณที่แรงอัดระเบิดสร้างความเสียหายอย่างมาก ได้แก่ บริเวณสวนประดับด้านหน้า ลานจอดยานพาหนะ เฉลียงและห้องโถงส่วนต้อนรับของอาคาร ส่วนอาคารห้องพักที่อยู่ถัดไปเสียหายจากเพลิงไหม้ จากภาพนี้จะเห็นว่าส่วนที่เสียหายทั้งหมดเป็นวัสดุเปราะบาง ส่วนที่เป็นโครงสร้างเสียหายไม่มากนัก เมื่อซ่อมแซมแล้ว สามารถใช้งานได้เช่นเดิม ที่เป็นเช่นนี้เพราะวัตถุระเบิดที่นำมาใช้เป็นประเภทให้แรงผลักดันแต่ไม่ฉีกกระชาก ฉะนั้น โครงสร้างของอาคารด้านหน้าทั้งหมดจึงไม่หักทลาย แรงอัดระเบิดที่เกิดขึ้นจะเคลื่อนตัวผ่านไปผลัก/กระแทกแล้วดึงอากาศให้เคลื่อนตัวกลับ ทำให้สิ่งเปราะบางแตกกระจายหรือถูกดึงจนหลุด/ล้มไปจากตำแหน่งที่อยู่เดิม
6.2.2 ไม้ยืนต้นและไม้พุ่มประดับที่บริเวณทางเข้าโรงแรมเป็นข้อที่น่าพิจารณาว่า หากคนร้ายไม่ประสงค์จะทำลายล้างแล้ว การทำการจุดระเบิดที่บริเวณใกล้แถวต้นไม้ จะช่วยปะทะและเสียดทานอำนาจการระเบิดลงได้ จึงนำเอาส่วนนี้มาช่วยลดความเสียหายลงได้บางส่วน
ภายหลังการระเบิดต้นไม้ถูกทำลายทั้งหมด แต่โครงสร้างคอนกรีตยังอยู่ในสภาพที่ซ่อมแซมได้
เมื่อเทียบกับกรณีการระเบิดที่วิหารพระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี ศรีลังกา เมื่อ 25 มกราคม 2541 และกรณีการระเบิดที่โรงแรม เจ.ดับลิว.มาริออต จาการ์ตา อินโดนีเซีย เมื่อ 5 สิงหาคม 2546 ผลเสียหายมีความคล้ายคลึงกันทั้ง 3 กรณี
สภาพวิหารพระเขี้ยวแก้วภายหลังการระเบิดที่เป็นผลมาจากคนร้ายซุกซ่อนวัตถุระเบิดไว้ในรถเข็นโดยใช้สิ่งของที่มีน้ำหนักปิดทับด้านบนไว้ และจุดระเบิดเมื่อเข้าใกล้ทางเข้าวิหาร ก่อให้เกิดหลุมตรงจุดที่เกิดการระเบิด ส่วนผนังวิหารไม่เสียหายมากนัก ส่วนกรณีในอินโดนีเซีย เกิดความเสียหายเฉพาะสิ่งเปราะบาง เช่น กระจก ฝ่าผนัง เท่านั้น และประมาณเดือนกันยายน 2546 โรงแรม เจ.ดับลิว.มาริออต จาการ์ตาเปิดให้บริการเช่นเดิม ภายหลังซ่อมแซมเสร็จ
มากนัก ส่วนกระเบื้องตกแต่ง เครื่องปรับอากาศ หรือ กระถางเขี่ยบุหรี่ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มีสิ่งกำบัง ไม่เสียหาย พิจารณาได้ว่า แรงอัดระเบิดที่เกิดขึ้นมีอำนาจเพียงแรงผลักดันไม่มีแรงฉีกกระชาก ซึ่งต่างกับภาพด้านข้าง กรณีระเบิดอาคารที่พักอาศัยในกรุงมอสโคว เป็นการระเบิดแบบมีแรงฉีกกระชาก
สภาพห้องโถงต้อนรับเสียหายเฉพาะส่วนที่ขวางการเคลื่อนตัวของแรงอัดระเบิด ส่วนที่อยู่ในที่กำบังไม่เสียหาย ตัวอย่างเช่น แจกันดอกไม้บนเคาเตอร์ของส่วนต้อนรับยังคงตั้งอยู่ในตำแหน่งเดียวกับในภาพโฆษณาโรงแรมตามกรอบเหลือง
ระบบแสงสว่างในห้องโถงต้อนรับที่อยู่ในกำบัง เช่น ไฟดาวไลท์ใต้เคาเตอร์ตามลูกศรสีน้ำเงิน ไม่เสียหาย แต่โคมระย้าตามลูกศรสีเหลือง เสียหายเฉพาะแก้วประดับ ทั้งนี้เนื่องจากเคาร์เตอร์ต้อนรับนี้ตั้งอยู่ด้านข้างของห้องโถง ซึ่งเท่ากับมีผนังทางเดินไปสู่ส่วนอื่นกำบังไว้ทั้งหมด เมื่อแรงอัดระเบิดเคลื่อนตัวผ่านมาตามช่องทางประตูทางเข้าและหน้าต่างกระจก สิ่งที่ขวางอยู่จึงไม่ถูกกระแทกทำลายโดยตรง
สิ่งของที่ใช้ตกแต่ง/ประดับภายในล็อบบี้ของโรงแรมเสียหายมากที่สุด เนื่องจากเป็นห้องกระจกติดถนน จึงเป็นจุดที่รับและปะทะกับแรงอัดระเบิดโดยตรง แต่สภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นมาจากแรงผลักดันเท่านั้น จะเห็นได้จากซากปลาสวยงามที่เลี้ยงในตู้กระจก ซึ่งใช้กั้น เพื่อแบ่งสัดส่วนของห้องโถงต้อนรับ ซากยังคงอยู่ในสภาพดีไม่ฉีกขาด บริเวณนี้มักจะมีแขกของโรงแรมมานั่งพักหรือพบปะพูดคุยกันในตอนเช้า
ในส่วนโครงหลังคาและฝ้าหลังคาของห้องรับประทานอาหารซึ่งอยู่ต่อจากล็อบบี้ ยังคงสภาพดี เพราะอยู่สูงกว่าแนวเคลื่อนตัวของแรงอัดระเบิดอย่างมาก ในภาพเป็นการหลบหนีของพนักงานโรงแรมหลังจากเกิดระเบิดแล้ว