1. การใช้สารเคมีในลักษณะเจือปนหรือปนเปื้อนในน้ำดื่ม อาหาร หรือจากการสัมผัสแตะต้อง เพื่อให้พิษของสารเคมีสะสมในร่างกาย เช่น ที่กระดูก ถุงน้ำดี ไต ตับ วิธีนี้จะใช้ระยะเวลายาวนาน แต่จะให้ผลลัพธ์แน่นอนโดยจะทำแก้ไขหรือรักษาได้ยาก
2. การใช้สารเคมีในรูปของก๊าซพิษฟุ้งกระจายในอากาศ เป็นวิธีที่ให้ผลและเหมาะกับการนำมาใช้ทำลายล้างมากที่สุด แต่ต้องกระทำในพื้นที่อับอากาศ เช่น มีอากาศหนาวเย็น หรือสถานที่ใช้เครื่องปรับอากาศหรือใช้ระบบระบายอากาศ เช่น บริเวณอาคารผู้โดยสารในท่าอากาศยาน โรงภาพยนตร์ อาคารสมัยใหม่ที่นิยมกระจกติดทึบ สถานที่เช่นนี้จะควบคุมการหมุนเวียนของอากาศ โดยระบบระบายอากาศที่ออกแบบสร้างไว้ ไม่ใช่การหมุนเวียนแบบธรรมชาติที่สามารถถ่ายเทออกสู่ภายนอกได้รวดเร็ว ดังนั้น หากมีการปล่อยก๊าซพิษในสถานที่ดังกล่าว ระบบระบายอากาศจะช่วยให้ก๊าซฟุ้งกระจายตัวอย่างช้าๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนั้น ต้องสูดหายใจรับก๊าซพิษเข้าไปเต็มที่ ก่อนที่จะทันรู้สึกตัว หรือได้รับความช่วยเหลือ หรือหลบออกจากพื้นที่เกิดเหตุได้ทัน อย่างไรก็ดี ในพื้นที่โล่งแจ้งหรืออากาศร้อน การใช้สารเคมีในรูปของการฟุ้งกระจายจะไม่ได้ผลเต็มที่ เพราะก๊าซพิษจะฟุ้งกระจายจนเจือจางไปก่อนที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่สิ่งมีชีวิตได้ ตัวอย่างเช่น ทางการสหภาพโซเวียตปล่อยก๊าซพิษทำร้ายกลุ่มกบฏเชเชนที่เข้ายึดและจับตัวประกันที่โรงละครในกรุงมอสโก เมื่อเดือนตุลาคม 2545 เป็นผลให้ทั้งกลุ่มกบฏและตัวประกันเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก
ลักษณะของสารเคมีพิษ แบ่งได้เป็น
1. Nerve Agent เป็นสารทำลายระบบประสาท หากได้รับสารนี้โดยตรงหรือเป็นจำนวนมาก จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ก๊าซ Soman(GD), ก๊าซ Tabun(GA), ก๊าซ Sarin(GB), ก๊าซ Sinab(CD)
2. Blood Agent เป็นสารทำลายเม็ดเลือด(Plasma) จะผ่านเข้าทางระบบหายใจสู่ระบบการหมุนเวียนของเส้นเลือด หากได้รับจำนวนมากจะเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น Hydrogen Cyanide(AG), Cyanogen Chloride(CX)
3. Blister Agent เป็นสารทำลายเซลผิวหนังและเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต โดยกัดกร่อนผิวหนังและเนื้อเยื่อ จะเกิดแผลพุพอง เน่าเปื่อย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เช่น ก๊าซมัสตาร์ด, Yperite(HD)
4. Choking Agent เป็นประเภทที่ทำลายระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต(ส่วนใหญ่จะพบจากสารเคมีในวงการอุตสาหกรรม) แบ่งได้เป็น 3ประเภท
4.1 Suffocate Agent ทำให้การหายใจติดขัด ทำลายเยื่อโพรงจมูก ปอด หากได้รับจำนวนมากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น Phosgene, Chlorine
4.2 Vomiting Agent ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ หากได้รับสารนี้จำนวนมากจะเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น Adamsite (DM), ก๊าซ VX
4.3 Tear Agent ทำลายผิวหนังและนัยตา ทำให้มองไม่เห็นจนต้องหยุดการเคลื่อนไหวชั่วขณะ แต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น PS(Chloropigrin), CN(Chloro Acetophenone)
5. TOXIN สารกึ่งระหว่างสารเคมีและชีวภาพ สกัดมาจากเชื้อโรคและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของพิษจากอาหารกระป๋องหรือพิษที่ปนเปื้อนในอาหารสำเร็จรูป