เท่าที่พบข้อมูลการใช้สารเคมีในการสู้รบมีขึ้นประมาณ พ.ศ.114 ได้มีการเผาสารกำมะถันรมฝ่ายศัตรูในการรบระหว่างกลุ่มนครรัฐกรีกในคาบสมุทรเพโลปอนเนส (Peloponnesian War) การนำสารรเคมีมาใช้ในการสู้รบที่ชัดเจนที่สุดคือ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ( พ.ศ. 2457-2461)ได้นำก๊าซน้ำตาคลอรีน (Chlorine) สารฟอสจีน (Phosgene) สารคลอโรพิคริน (Chloropicrin) มาใช้ แต่ปรากฎหลักฐานชัดเจนคือ กรณีทหารจากแคนาดาบาดเจ็บจากมาสตาร์ดก๊าซ (Mustard Gas) ต่อเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482 – 2488) เยอรมันใช้กรดไซยานิก (Cyanic Acid) สังหารหมู่ชาวยิว และมีหลักฐานว่ากองทัพเยอรมันสะสมสารพิษทำลายระบบประสาทจำนวนมาก ได้แก่ ทาบุน (Tabun) และซารีน (Sarin) ในสงครามระหว่างสามทศวรรษหลังนี้ อ้างว่า พบหลักฐานการใช้มาสตาร์ดก๊าซในสงครามระหว่างอิรัก-อิหร่าน และล่าสุดเมื่อ พ.ศ.2556 นี้ มีการกล่าวโทษว่า รัฐบาลซีเรียใช้ก๊าซซารีนสังหารฝ่ายตรงข้ามและประชาชน
สำหรับการก่อการร้าย กรณีที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้น คือ กรณีกลุ่มลัทธิโอม ชินริเคียว (Aum Shinrikyo) ปล่อยก๊าซซารีนในขบวนรถไฟใต้ดินของกรุงโตเกียว ญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2538 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 12 ราย และบาดเจ็บนับพันคน ส่วนการปราบปรามการก่อการร้ายด้วยก๊าซพิษ กรณีที่รุนแรงที่สุด คือ กบฎเชเชน จับตัวประกันในโรงละครที่กรุงมอสโค โซเวียต เมื่อ พ.ศ.2545 โซเวียตปล่อยก๊าซพิษเข้าทางระบบระบายอากาศของโรงละคร เป็นผลให้ทั้งกบฎและตัวประกันเสียชีวิตประมาณ 170 คน ไม่มีการเปิดเผยก๊าซพิษที่นำใช้
เหตุผลที่มีการนำอาวุธเคมีมาใช้
- มีต้นทุนการผลิต และเทคโนโลยีที่ไม่สูงนัก
- ให้ผลลัพธ์ทันทีที่ทำการแพร่กระจายและเป็นพื้นที่กว้างพอสมควร เช่น รถไฟใต้ดิน
- สามารถนำเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายได้ง่าย เพราะสามารถซุกซ่อนในรูปแบบต่างๆ ได้ง่าย ตรวจตราได้ยาก4. เมื่อสารนั้นออกฤทธิ์ สร้างภาพที่รุนแรง มีผลบั่นทอนต่อศรัทธาความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในโดยตรงทันที
ประเภทของอาวุธเคมี
- สารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ เมื่อได้รับจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อบุทางเดินหายใจและส่งผลต่อร่างกายทำให้ขาดออกซิเจน (Asphyxiant) ทั้งยังอาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในภายหลัง ตัวอย่างสารเหล่านี้ ได้แก่ สารคลอรีน (Chlorine) สารไดฟอสจีน (Diphosgene) สารฟอสจีน (Phosgene) เป็นต้น
- สารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบผิวหนังและเนื้อเยื่อบุ เมื่อสัมผัสผิวหนังจะก่อให้เกิดการระคายเคือง เกิดตุ่มแผล และทำลายเนื้อเยื่อบุอ่อน เช่น ตา เยื่อระบบทางเดินหายใจ สารที่นิยมใช้เป็นอาวุธ ได้แก่ กลุ่มมัสตาร์ด
- สารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท เมื่อรับสารเหล่านี้เข้าไป ถึงแม้จะในปริมาณน้อย แต่สารนี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยายับยั้งเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรส (Acetycholinesterase) ในเนื้อเยื่อ ซึ่งจะส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อหยุดการทำงาน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ การออกฤทธิ์คล้ายกับสารกำจัดแมลง ตัวอย่างได้แก่ สารซาริน สารทาบุน เป็นต้น
- สารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท สารจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ไม่ทำให้ถึงแก่ความตาย แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ชั่วขณะ ได้แก่ สารเสพติด เช่น ยาบ้า กัญชา แอลเอสดี เป็นต้น
- สารออกฤทธิ์ก่อให้เกิดความรำคาญ เกิดภาวะชะงักงันชั่วขณะ ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อระบบสัมผัสชั่วคราว เช่น แสบตา แสบจมูก จาม อาเจียน จนถึงปวดแสบปวดร้อนในบริเวณสัมผัสสาร ได้แก่ ก๊าซน้ำตา สารจามหรือแอแดมไซด์ (Adamsite) สารจากพืช เช่น หมามุ่ย การใช้สำหรับเพื่อสกัดกั้น หรือสลายฝูงชน เพื่อระงับเหตุจลาจล มากกว่ามุ่งทำอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกาย
- สารออกฤทธิ์ต่อสิ่งแวดล้อม นำมาใช้เพื่อทำลายพืชพรรณธรรมชาติ เช่น ฝนเหลืองในสงครามเวียดนาม ซึ่งสหรัฐฯ นำมาโปรยด้วยเครื่องบิน เพื่อทำลายป่าไม้ ที่ซ่อนของเวียดกง การใช้มุ่งผลใน 2 ลักษณะ คือ ทำลายพืชพรรณโดยตรง ได้แก่ สารพวกฟอสจีน (Phosgene) กรดไดคลอโรฟีนอกซีแอซิติก (Dichlorophenoxyacetic) กรดคาโคไดลิก (Cacodilic) หรือสารที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของดิน ได้แก่ สารโบรเมซิล (Bromasil) สารโมนูรอน (Monuron) เป็นต้น
————————-
ที่มา
กลุ่มพัฒนาความปลอดภัยด้านสารเคมี สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาวุธเคมี และอาวุธชีวภาพ.” เอกสารเผยแพร่, 2545.
กลุ่มงานวิชาการและเลขานุการ สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม “สาระน่ารู้ในการควบคุมวัตถุอันตรายตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535,” 2545.
ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล. Available form URL:http//www.pantip.com/wahkor/article/chaiwat/cwt_subj.html