ความเป็นมาของการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่
การรักษาความปลอดภัยสถานที่ คือ มาตรการป้องกันหรือป้องปรามที่กำหนดไว้ โดยมุ่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะดำเนินการได้และมีความพร้อมต่อการเผชิญกับเหตุร้าย ความจริงการรักษาความปลอดภัยสถานที่มาจากสามัญสำนึกและสัญชาติญาณของมนุษย์ในการระวังภัยอันตราย นับแต่ยุคหินที่อาศัยอยู่ตามถ้ำ มนุษย์ยุคหินที่อยู่เป็นกลุ่มรวมกันภายในถ้ำเดียวกันจะร่วมมือกันปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัย ไม่ให้มนุษย์ต่างกลุ่มหรือสัตว์ป่าเข้ามาหรือเข้าใกล้พื้นที่อาศัยของกลุ่มตน วิธีป้องกัน เช่น ก่อกองไฟไว้ที่ปากถ้ำ มียามเฝ้าทางเข้า และเมื่อรู้จักเลี้ยงสุนัข ก็ใช้สุนัขช่วยเฝ้าระวัง เป็นต้น ต่อมาเมื่อเจริญขึ้น จึงรู้จักประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงสำหรับปกป้องพื้นที่อาศัย เช่น ทำรั้วแบ่งอาณาเขตไปพร้อมกับการป้องกันภัยจากการรุกล้ำ จากกองไฟบนพื้นดินกลายเป็นคบไฟ และเป็นแสงไฟจากโคมส่องสว่างหรือไฟฉาย การประดิษฐ์เครื่องมือประเภทต่าง ๆ มาช่วยหรือเสริมการเฝ้าระวัง สังเกตการณ์ และการป้องกันจึงมีพัฒนาการเรื่อยมาพร้อมกับมีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น ถึงแม้จะเกิดการพัฒนาวิธีการและเครื่องมืออุปกรณ์ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมากมาย แต่จุดมุ่งหมายในการใช้งานยังคงเดิม คือ การเฝ้าระวังและตรวจตรามิให้เกิดการบุกรุก กับแจ้งเตือน ป้องกัน และขัดขวางการลุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ในครอบครอง อย่างไรก็ดี อาคาร สิ่งก่อสร้าง หรือสถานที่ตั้งในปัจจุบันมีทั้งขนาดที่ใหญ่และมีความสลับ ซับซ้อนของอาคารมากขึ้น จากสภาพนี้จึงต้องมีการวางแนวทางป้องกันมากยิ่งกว่าถ้ำในยุคหิน ดังนั้น ระบบการป้องกันจึงมีความซับซ้อนตามไปด้วย มาตรการการรักษาความปลอดภัยจึงมีการกำหนดขอบเขตมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่รองรับกับความซับซ้อนเหล่านั้น ได้แก่ ต้องมีการกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการรักษาความปลอดภัย ต้องมีการกำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยเช่น จัดทำรั้ว/กำแพงแบ่งพื้นที่ จัดทำแสงส่องสว่าง จัดทำเครื่องกีดขวาง…