การก่อวินาศกรรมด้วยอาวุธชีวภาพ (Biology Warefare)

Loading

อาวุธชีวภาพในที่นี้หมายถึง การเพาะไวรัส แบคทีเรีย เห็ดรา และพืชบางชนิด เพื่อเตรียมไว้สำหรับการบ่อนทำลาย วินาศกรรม หรือเพื่อทำสงคราม โดยมุ่งกระทำต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และพืช อันจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ  ตัวอย่างเช่น เชื้อโรคที่เชื่อว่ามีการเพาะเลี้ยงไว้อย่างปกปิดในหลายประเทศ ได้แก่ เชื้อแอนแทรกซ์(Anthrax)ที่สร้างแผลพุพองในสัตว์เลี้ยง เมื่อมนุษย์ได้เชื้อประเภทนี้ก็อาจเสียชีวิตได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีเชื้อกาฬโรค อหิวาตกโรค เชื้อโรคที่ทำให้อาหารเป็นพิษ(Botulism) เชื้อเห็ดราหรือแบคทีเรียที่สามารถทำลายพืชผลผลิตการเกษตรและปศุสัตว์ เป็นต้น  เชื้อชีวภาพเหล่านี้ เมื่อนำไปปล่อยในแหล่งสาธารณูปโภค แหล่งที่อยู่อาศัย หรือพื้นที่กสิกรรม จะสร้างความเสียหายและก่อกวนความสงบในสังคมทั้งภาครัฐและประชาชนอย่างยิ่ง  ปัจจุบัน มีการกล่าวโทษหลายประเทศว่า ทำการเพาะเลี้ยงเชื้อชีวภาพไว้ใช้ในการสู้รบ อย่างเช่น สหรัฐฯ กล่าวโทษว่า อิรักมีเชื้อแอนแทรกซ์ประมาณ 12,000 ลิตร และ Botulism ประมาณ 500,000 ลิตร เพื่อบรรจุที่หัวขีปนาวุธสำหรับยิงไปตามประเทศศัตรู เป็นต้น การก่อวินาศกรรมด้วยอาวุธชีวภาพสามารถดำเนินการได้ โดยนำเชื้อโรคที่เพาะเลี้ยงไปปล่อยลงตามแหล่งเป้าหมายที่ง่ายต่อการดำเนินการและให้ผลรวดเร็ว เช่น สถานีผลิตน้ำประปา อ่างเก็บน้ำ หลังจากนั้น เชื้อชีวภาพจะแพร่กระจายตัวเอง โดยทำลายสิ่งมีชีวิตด้วยพิษภัยที่สร้างไว้  เชื้อชีวภาพที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงนี้เชื่อว่า สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่า พิษร้ายแรงกว่า และทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าเชื้อชีวภาพตามธรรมชาติ…

การก่อวินาศกรรมด้วยสารเคมีพิษ

Loading

1. การใช้สารเคมีในลักษณะเจือปนหรือปนเปื้อนในน้ำดื่ม อาหาร หรือจากการสัมผัสแตะต้อง เพื่อให้พิษของสารเคมีสะสมในร่างกาย เช่น ที่กระดูก ถุงน้ำดี ไต ตับ วิธีนี้จะใช้ระยะเวลายาวนาน แต่จะให้ผลลัพธ์แน่นอนโดยจะทำแก้ไขหรือรักษาได้ยาก 2. การใช้สารเคมีในรูปของก๊าซพิษฟุ้งกระจายในอากาศ เป็นวิธีที่ให้ผลและเหมาะกับการนำมาใช้ทำลายล้างมากที่สุด แต่ต้องกระทำในพื้นที่อับอากาศ เช่น มีอากาศหนาวเย็น หรือสถานที่ใช้เครื่องปรับอากาศหรือใช้ระบบระบายอากาศ เช่น บริเวณอาคารผู้โดยสารในท่าอากาศยาน โรงภาพยนตร์ อาคารสมัยใหม่ที่นิยมกระจกติดทึบ สถานที่เช่นนี้จะควบคุมการหมุนเวียนของอากาศ โดยระบบระบายอากาศที่ออกแบบสร้างไว้ ไม่ใช่การหมุนเวียนแบบธรรมชาติที่สามารถถ่ายเทออกสู่ภายนอกได้รวดเร็ว  ดังนั้น หากมีการปล่อยก๊าซพิษในสถานที่ดังกล่าว ระบบระบายอากาศจะช่วยให้ก๊าซฟุ้งกระจายตัวอย่างช้าๆ  ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนั้น ต้องสูดหายใจรับก๊าซพิษเข้าไปเต็มที่ ก่อนที่จะทันรู้สึกตัว หรือได้รับความช่วยเหลือ หรือหลบออกจากพื้นที่เกิดเหตุได้ทัน อย่างไรก็ดี ในพื้นที่โล่งแจ้งหรืออากาศร้อน การใช้สารเคมีในรูปของการฟุ้งกระจายจะไม่ได้ผลเต็มที่ เพราะก๊าซพิษจะฟุ้งกระจายจนเจือจางไปก่อนที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่สิ่งมีชีวิตได้   ตัวอย่างเช่น ทางการสหภาพโซเวียตปล่อยก๊าซพิษทำร้ายกลุ่มกบฏเชเชนที่เข้ายึดและจับตัวประกันที่โรงละครในกรุงมอสโก เมื่อเดือนตุลาคม 2545 เป็นผลให้ทั้งกลุ่มกบฏและตัวประกันเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ลักษณะของสารเคมีพิษ แบ่งได้เป็น 1. Nerve Agent เป็นสารทำลายระบบประสาท หากได้รับสารนี้โดยตรงหรือเป็นจำนวนมาก จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ก๊าซ Soman(GD), ก๊าซ…

การก่อวินาศกรรมด้วยระบบไฟฟ้าหรือกระแสแม่เหล็กไฟฟ้า (Electronic and Electromagnaetic Interference)

Loading

การก่อวินาศกรรมด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หมายถึงการนำเอาพลังงานดังกล่าวมาใช้รบกวน ขัดขวาง หรือสร้างความสับสนเกี่ยวกับการรับ-ส่งสัญญาณหรือสร้างความไม่เข้าใจระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับในระบบโทรคมนาคม แบ่งเป็น 1. การเข้าแทรกสัญญาณข้อมูล การใช้อุปกรณ์พิเศษในการแผ่สัญญาณไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงไปรบกวน(Jam)หรือขัดขวางสัญญาณสื่อสาร ทำให้การส่งหรือรับสัญญาณพร่ามั่ว เบี่ยงเบน หรือขาดหายไป เช่น การส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนหรือขัดขวางการรับ-ส่งสัญญาณสื่อสารผ่านดาวเทียม เรดาห์ เครื่องตรวจรับสัญญาณ(Sensor) ระบบสื่อสารหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือการใช้ Electro-Magnetic Pulse (EMP) ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กความถี่สูงไปรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะคลื่นแม่เหล็กทำให้เกิดความหน่วงในระบบของคอมพิวเตอร์ และหากคลื่นแม่เหล็กที่ส่งออกมามีความเข้มสูงมาก ก็จะมีผลให้แผ่นดิสเก็ตที่เป็นจานแม่เหล็ก ซึ่งใช้จัดเก็บข้อมูลถูกทำลาย เพราะวิธีการจัดเก็บข้อมูลในดิสเก็ตนี้ใช้หลักเส้นแรงแม่เหล็กเช่นกัน 2. การตรวจจับการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปล่งออกมาจากแหล่งกำเนิด การตรวจจับนี้เพื่อหาตำแหน่งที่เกิดคลื่นนั้นๆ เมื่อสามารถทราบตำแหน่งที่ชัดเจนแล้ว จึงค่อยดำเนินการวินาศกรรม เช่น กรณีการสังหารนาย Dzhokhar Dudayev หัวหน้ากบฏแบ่งแยกดินแดนเชเชชที่บ้านพัก ซึ่งห่างจากกรุงกรอซนีราว 30 ไมล์  สำนักข่าว Interfax ของสหภาพโซเวียต รายงานว่า ได้ใช้จรวดยิงเป้าหมาย หลังจากสามารถตรวจจับสัญญาณโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมที่นาย Dudayev ใช้สนทนาในบ้านพัก โดยใช้สัญญาณโทรศัพท์ดังกล่าวเป็นตัวชี้เป้าของจรวดโจมตี เป็นต้น

ไฟไหม้กรมทรัพย์กลางดึก ‘คอมพิวเตอร์-เอกสาร’วอด

Loading

            เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารภายในกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลางดึก ทำให้คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน และเอกสารได้รับความเสียหาย เจ้าหน้าที่เร่งหาสาเหตุ           เมื่อเวลา 02.15 น. วันที่ 19 พ.ย. ร.ต.ท.พิฆเนศ เตรียมเกิดทรัพย์ พนักงานสอบสวน สน.พญาไท รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ภายในกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี จึงประสานรถน้ำดับเพลิงจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 8 คัน รุดไปตรวจสอบ ที่เกิดเหตุอยู่ภายในอาคารโกเมน มีความสูง 5 ชั้น โดยที่บริเวณชั้น 4 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม พบแสงเพลิงและกลุ่มควันเกิดขึ้นจากห้องส่วนแผนและประมวลผลส่วนธรณีพิบัติภัย กับห้องส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง จึงรีบใช้น้ำสกัดดับไฟ ใช้เวลาประมาณ 15 นาที จึงสามารถควบคุมเพลิงเอาไว้ได้    …

Soft Power ภัยคุกคามที่พึงระวัง

Loading

Soft Power ภัยคุกคามที่พึงระวัง หรือการใช้กําลังอํานาจอย่างนุ่มนวล (ขณะนี้ยังไม่มีคําแปลอย่างเป็นทางการ จึงขอใช้คําว่า Soft Power ในลําดับต่อ ๆ ไป)เป็นคําที่ได้รับการเรียกและให้นิยามโดย JosephS. Nye, Jr. ในหนังสือ Soft Power: The Means to Success in World Politics นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗ โดย Nye ได้กล่าวว่าแนวคิดพื้นฐานของอํานาจในการทําให้ผู้อื่นปฏิบัติตามความต้องการของเรา มีวิธีการที่ทําได้โดยใช้กําลังบังคับ การล่อด้วยผลตอบแทน และการจูงใจให้ร่วมมือ โดย Nye ให้ความเห็นว่า การสร้างแรงจูงใจในวิธีที่สามลงทุนน้อยกว่าสองวิธีแรกมากซึ่งก็คือ การใช้ Soft Power นั่นเอง ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้ Soft Power กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นชาติตะวันตก ชาติตะวันออก หรือแม้กระทั่งสหรัฐ ฯ ก็มีการใช้ Soft Power อย่างมาก ตลอดจนจีนซึ่งกําลังเติบโตอย่างกล้าแข็งก็ได้มีการใช้ SoftPower…

ปิดปารีสฆ่าไอเอส! ฝรั่งเศสไล่ล่า7ชั่วโมงดับ2 ‘เอบโด’เย้ย‘เรามีแชมเปญ’

Loading

เสียงปืนเสียงระเบิดระงมปารีสอีกครั้ง หน่วยความมั่นคงฝรั่งเศสระดมกำลังล่าตัวการใหญ่บงการถล่มกรุงวันศุกร์ 13 ปิดพื้นที่ปฏิบัติการนาน 7 ชั่วโมง คนร้ายดับสอง หนึ่งในนี้เป็นหญิงระเบิดตัวตายเอง รวบผู้ต้องสงสัยได้อีกเจ็ด “ชาร์ลีเอบโด” ไม่พรั่นก่อการร้ายลงปกการ์ตูนเย้ย แต่ยุโรปยังผวาไม่เลิก ขู่บึ้มป่วนเตะบอล-สายการบิน อีกด้านฝรั่งเศส-รัสเซียบอมบ์ในซีเรียฆ่าไอเอสได้แล้วกว่า 30 ศพ กองกำลังความมั่นคงของฝรั่งเศสเปิดปฏิบัติการจู่โจมครั้งใหญ่ที่ย่านแซงต์เด อนีส์ทางเหนือของกรุงปารีสตั้งแต่เช้ามืดของวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2558 เพื่อล่าตัวผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายครั้งนองเลือด ที่สุดในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส รายงานเอเอฟพีกล่าวว่า ปฏิบัติการยาวนาน 7 ชั่วโมงจบลงโดยผู้ต้องสงสัยเสียชีวิต 2 ราย ถูกจับกุม 7 ราย และมีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 5 นาย ปฏิบัติการที่ชานกรุงปารีสเกิดขึ้นที่อาคารอพาร์ตเมนต์หลังหนึ่งซึ่งฟรังซัว ส์ โมแลงส์ อัยการกรุงปารีส เปิดเผยว่า เบาะแสที่ได้จากการสอดแนมทางโทรศัพท์และพยานทำให้เชื่อได้ว่า อับเดลฮามิด อะบาอุด ที่ต้องสงสัยว่าเป็นคนวางแผนบงการโจมตีปารีสเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน อยู่ภายในอพาร์ตเมนต์นั้น การปะทะกันระหว่างกองกำลังความมั่นคงกับผู้ต้องสงสัย 2-4 คนที่หลบซ่อนอยู่ภายในเริ่มต้นเมื่อเวลาประมาณ 04.20 น. เสียงปืนและเสียงระเบิดดังกึกก้องทั่วบริเวณ เจ้าหน้าที่ต้องสั่งอพยพประชาชนที่พักอาศัยในพื้นที่นั้น หรือไม่ก็สั่งให้หลบซ่อนตัวอยู่ภายในห้อง…