Soft Power ภัยคุกคามที่พึงระวัง หรือการใช้กําลังอํานาจอย่างนุ่มนวล (ขณะนี้ยังไม่มีคําแปลอย่างเป็นทางการ จึงขอใช้คําว่า Soft Power ในลําดับต่อ ๆ ไป)เป็นคําที่ได้รับการเรียกและให้นิยามโดย JosephS. Nye, Jr. ในหนังสือ Soft Power: The Means to Success in World Politics นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗ โดย Nye ได้กล่าวว่าแนวคิดพื้นฐานของอํานาจในการทําให้ผู้อื่นปฏิบัติตามความต้องการของเรา มีวิธีการที่ทําได้โดยใช้กําลังบังคับ การล่อด้วยผลตอบแทน และการจูงใจให้ร่วมมือ โดย Nye ให้ความเห็นว่า การสร้างแรงจูงใจในวิธีที่สามลงทุนน้อยกว่าสองวิธีแรกมากซึ่งก็คือ การใช้ Soft Power นั่นเอง ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้ Soft Power กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นชาติตะวันตก ชาติตะวันออก หรือแม้กระทั่งสหรัฐ ฯ ก็มีการใช้ Soft Power อย่างมาก ตลอดจนจีนซึ่งกําลังเติบโตอย่างกล้าแข็งก็ได้มีการใช้ SoftPower เช่นเดียวกันอันที่จริงแล้ว Soft Power หรือการใช้ความนุ่มนวลได้เกิดมานานตั้งแต่ยุคโบราณแล้ว และมิใช่เพียงประเทศมหาอํานาจอย่างเดียว ประเทศอื่น ๆก็มีการใช้ Soft Power ในการดําเนินนโยบายของตนเอง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ Soft Power นั้นถ้าเปรียบเทียบแล้วก็คือ การใช้มาตรการทางสังคมจิตวิทยา โดยแทรกอยู่ในเรื่องต่าง ๆ และพยายามโน้มน้าวแทรกซึมแนวความคิดและวิถีชีวิตประจําวัน โดยไม่ให้รู้สึกตัวHard Power หรือ การใช้กําลังอํานาจบังคับในยุคโบราณการใช้กําลังเข้าทําสงครามเพื่อแย่งชิงทรัพยากร ก็คือการแย่งชิงทรัพย์สิน เงินทองเพชรพลอย รวมทั้งกวาดต้อนผู้คนเป็นแรงงานซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรอันมีค่า นี่ก็คือการใช้กําลังบังคับ หรือ Hard Power เข้าดําเนินการ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีเกิดขึ้น รวมถึงการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมของชาติตะวันตก มีดินปืน มีปืนและเครื่องจักรกลใช้ การเข้าสู่ยุคการล่าอาณานิคมเพื่อตักตวงผลประโยชน์และทรัพยากรของประเทศมหาอํานาจต่อประเทศที่ด้อยกว่า การทูตแบบที่เรียกว่า“Gun Boat Diplomacy”หรือการทูตแบบเรือปืนก็เกิดขึ้น ในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ.๑๘๕๓
ในสมัยโชกุนโยชิโนบุ ญี่ปุ่นถูกสหรัฐ ฯ ข่มขู่โดยส่งเรือรบนําโดย พลเรือจัตวา แมทธิว เพอรรี่เข้าปิดปากอ่าวโตเกียว บีบบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศค้าขายด้วย นอกจากนั้นประเทศเล็กและที่ล้าหลังก็ถูกชาติตะวันตกไม่ว่าจะเป็นอังกฤษฝรั่งเศส ฮอลันดา สหรัฐอเมริกา สเปน โปรตุเกส ฯ
เข้ายึดครองเป็นอาณานิคม เพื่อกอบโกยผลประโยชน์เข้าสู่ประเทศของตนเอง อย่างน่าเศร้าสลดและน่าละอายเป็นที่สุด
การใช้ Soft Power ในระยะเริ่มแรก
Soft Power คือการที่รัฐบาลใช้สื่อต่าง ๆ ในการโฆษณาหรือโปรโมทวัฒนธรรมของตนเอง อย่างเช่นฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ ๑๗ และ ๑๘ ได้โปรโมทวัฒนธรรมของตัวเองไปทั่วยุโรปจนกระทั่งภาษาฝรั่งเศสได้กลายเป็นภาษาทางการทูต และแม้แต่ภาษาที่ใช้ในศาลของบางประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้มีการพัฒนาการใช้ Soft Power อย่างเห็นได้ชัด โดยแต่ละประเทศได้ตั้งสํานักงานเพื่อชวนเชื่อในสิ่งที่ตนต้องการ ยกตัวอย่างเช่น อังกฤษ กับเยอรมนีได้พยายามชวนเชื่อให้ประชาชนชาวอเมริกันเห็นว่าตนเป็นฝ่ายดีในขณะที่อเมริกายังไม่เข้าร่วมสงคราม ความสําเร็จของอังกฤษเมื่อเทียบกับเยอรมนีก็คือแทนที่จะทําการโปรโมทอย่างกว้างขวาง อังกฤษมุ่งเน้นไปที่ชนชั้นสูงในสหรัฐ ฯ ในภายหลัง สหรัฐ ฯ ได้กลายเป็นอีกประเทศที่ใช้ข้อมูลข่าวสารและวัฒนธรรมเพื่อจุดประสงค์ทางการทูต โดยสหรัฐ ฯ ได้จัดตั้งหน่วยงานสําหรับรายงานข่าวซึ่งผู้จัดทําจะต้องทําให้ภาพพจน์ของสหรัฐ ฯ ต่อสายตาชาวโลกอยู่แง่บวก การประดิษฐ์วิทยุขึ้นมาในปี ค.ศ.๑๙๒๐ ก็ทําให้หลายประเทศหันมาให้ความสําคัญกับการถ่ายทอดการสื่อสารไปในหลาย ๆ ภาษาทั่วโลก เช่นการแข่งขันกันระหว่าง ลัทธิฟาสซิสต์ และนาซีเยอรมัน ในการทําภาพยนตร์ชวนเชื่อ และภายหลังอังกฤษเองก็ตระหนักในเรื่องนี้ และได้จัดตั้งสถานีวิทยุ BBC เพื่อออกอากาศในทุกภาษาในยุโรปรวมถึงภาษาอารบิก โดยในส่วนของ สหรัฐ ฯ เองบางส่วนได้อยู่ในรูปความสําเร็จของฮอลลีวูดที่โฆษณาวัฒนธรรมของสหรัฐ ฯ ต่อสายตาชาวโลกในช่วงสงคราม ในภายหลังวิทยุได้กลายเป็นเครื่องมือที่สําคัญ และถูกเรียกว่าเสียงจากอเมริกาหรือ VOA ก็ได้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
บทบาทของชาติต่าง ๆ ที่ใช้ Hard Power และ Soft Power ที่เกิดขึ้นกับสยามในอดีต
ตามที่กล่าวแล้วว่าในยุคโบราณมีการใช้ Hard Power เพื่อบีบบังคับให้ชาติที่ด้อยกว่ายอมทําตาม หรือเป็นการใช้กําลัทหารเข้ารุกรานประเทศที่ด้อยกว่านั่นเอง ในสมัยโบราณในขณะที่ประเทศไทยยังเป็นการรวมกลุ่มเป็นอาณาจักร เช่น อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรอยุธยา ก็มีการสงครามต่อกัน หรือมีสงครามกับอาณาจักรเพื่อนบ้าน เช่น อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง รวมถึงอาณาจักรพุกาม อาณาจักรขอมหรือแม้แต่อาณาจักรอันนัมหรือญวน ก็เพื่อขยายอาณาเขต และแสวงหาทรัพยากร ซึ่งมีทั้งคนที่เป็นทรัพยากรอันมีค่ากว่าทรัพย์สินเงินทองเพื่อผลประโยชน์แก่ชาติของตน นอกจากการใช้ Hard Power ตามที่กล่าวแล้วก็ได้มีการใช้ Soft Power ควบคู่กันไปด้วย จะขอยกตัวอย่างประเทศมหาอํานาจบางประเทศที่ใช้ Soft Power และ Hard Power ดังนี้
ฮอลันดาหรือวิลันดา
ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ระหว่าง พ.ศ.๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ ฮอลันดาได้เข้ามาทําการค้าขายกับอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในระยะต้นก็มีการค้าขายกันธรรมดา ซึ่งก็สร้างความร่ํารวยให้กับฮอลันดาหรือวิลันดาอย่างมาก ต่อมาเกิดกรณีพิพาทระหว่างฮอลันดากับกรุงศรีอยุธยา ฮอลันดาจึงถือโอกาสนํากองเรือมาปิดปากแม่น้ําเจ้าพระยา กรุงศรีอยุธยาไม่มีกําลังพอที่จะขัดขืน จึงต้องยอมตามข้อเรียกร้องของฮอลันดา ทําให้เกิดสนธิสัญญาที่สยาม สมัยกรุงศรีอยุธยาทํากับบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา เมื่อ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๒๐๗ หรือ ค.ศ.๑๖๖๔ โดยนอกจากจะให้สิทธิผูกขาดการค้าบางประการแก่บริษัท ฯ แล้ว ยังได้กําหนดสิทธิ์ในเรื่องอํานาจศาล โดยสรุปว่า ถ้าพนักงานบริษัท ฯ ก่ออาชญากรรมร้ายแรงในสยาม ต้องส่งให้ฮอลันดาพิจารณาโทษ ตามกฎหมายของฮอลันดา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเกิดสิทธิสภาพนอกอาณาเขตขึ้นครั้งแรกของสยามและการดําเนินการของฮอลันดา ก็คือ การใช้ Hard Power โดย Gun Boat Diplomacy บีบบังคับให้กรุงศรีอยุธยายินยอมทําตามที่ตนต้องการ
ฝรั่งเศส
หลังจากเหตุการณ์ที่ฮอลันดาคุกคามกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็เกรงว่ากรุงศรีอยุธยาจะไม่ปลอดภัยจากการคุกคามและยึดครองโดยฮอลันดา จึงโปรดเกล้าให้ก่อสร้างและพัฒนาเมืองลพบุรี(เป็นราชธานีที่สอง) ขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับ รวมทั้งพยายามเจริญสัมพันธไมตรี กับฝรั่งเศส เพื่อให้ช่วยเหลือในการสร้างป้อมสําหรับป้องกันภัยคุกคามอันอาจจะเกิดขึ้น ในรัชสมัยของพระองค์ทรงประทับอยู่ที่ลพบุรีปีละประมาณ ๘ เดือน จะประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาประมาณ ๔ เดือนเท่านั้น การเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ นั้น เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ ขุนนางไทยชาวกรีกเป็นตัวกลางในการติดต่อทั้งสิ้น ทั้งนี้เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ ก็มีเจตนาแอบแฝงบางประการ กล่าวคือ ต้องการใช้ฝรั่งเศสสนับสนุนและเป็นเกราะกําบังตัวเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์เอง หากสิ้นแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ ฯ แล้ว โดยกลอุบายของฝรั่งเศสในครั้งแรกก็เป็นการส่งนายช่างและทหารมารับราชการและช่วยเหลือในการก่อสร้างป้อมปราการ รวมทั้งดําเนินการค้าขาย แต่จุดมุ่งหมายสําคัญก็คือ ชักชวนให้สมเด็จพระนารายณ์ ฯเข้ารีต เพื่อนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งหากเป็นไปตามที่วางแผนไว้ ก็สามารถที่จะควบคุมกรุงศรีอยุธยาเข้าไปอยู่ในคริสตจักรได้ ซึ่งนี่ก็คือ การใช้ Soft Power นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระนารายณ์ ฯ เล็งเห็นถึงผลเสียแห่งการเข้ารีต จึงทรงอนุญาตให้ราษฎรสามารถเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ แต่สําหรับพระองค์เองได้ทรงแจ้งกับทางฝรั่งเศสว่าขอพิจารณาก่อน เนื่องจากเป็นเรื่องของศรัทธาและจิตใจ เมื่อแผนการขั้นนี้ไม่สําเร็จ เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ก็เตรียมการกับฝรั่งเศส เพื่อยึดกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ Hard Power คือกําลังทหารเข้าดําเนินการ เมื่อมีโอกาสอันเหมาะสม แต่
เป็นคราวเคราะห์ดีของกรุงศรีอยุธยา แม้ว่าช่วงปลายรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์จะเรืองอํานาจในราชสํานักมาก แต่ในขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ ฯ กําลังป่วยใกล้สวรรคตได้มอบอํานาจสิทธิ์ขาดให้กับพระเพทราชา ซึ่งเป็นผู้มีอํานาจและกําลังทหารในบังคับบัญชาเพื่อกํากับดูแลราชการแผ่นดิน ทั้งนี้พระเพทราชาและขุนหลวงสรศักดิ์ (บุตรบุญธรรมของพระเพทราชาซึ่งเป็นพระราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ ฯ)มีความเกลียดชังพวกฝรั่ง โดยเฉพาะเข้าใจถึงพฤติกรรมของเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์อยู่แล้ว เมื่อสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ฯ พระเพทราชาจึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวงขึ้นหลังจากนั้นจึงได้จับเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ประหารชีวิตและเกิดรบพุ่งกับกําลังทหารฝรั่งเศสที่ป้อมวิไชยเยนทร์ (ป้อมวิชัยประสิทธิ์ในปัจจุบัน) เป็นเวลานานถึง ๒ เดือนจนสามารถเจรจาสงบศึกและขับไล่ฝรั่งเศสออกจากกรุงศรีอยุธยาไปได้ จึงเป็นอันยุติการมีบทบาทของฝรั่งเศส ฮอลันดา โปรตุเกสและฝรั่งเศสในยุคต่อมา
การใช้ Hard Power ของฝรั่งเศส ในสมัย ร.ศ.๑๑๒ โดยวิธี Gun Boat Diplomacy
นอกจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นแล้ว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสก็ได้ใช้ Hard Power โดยวิธี Gun Boat Diplomacy อีกครั้ง โดยใน รศ.๑๑๒ ได้ใช้เรือปืนผ่านปากน้ำบุกฝ่าเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา และเกิดสู้รบกับทหารเรือที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ทหารทั้ง ๒ ฝ่ายบาดเจ็บล้มตายไปจํานวนหนึ่ง โดยฝรั่งเศสบาดเจ็บและตายเล็กน้อย แต่ฝรั่งเศสได้หาเหตุถือโอกาสเรียกค่าปฏิกรรมสงครามจากสยามถึง ๓ ล้านฟรังส์และยึดดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ไปจากสยามอีกด้วยอันที่จริงแล้ว เค้าลางในการเข้ามารุกรานสยาม ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว โดยในตอนต้นก็เป็นการค้าขาย เผยแพร่ศาสนา ซึ่งก็คือใช้ Soft Power เมื่อสบโอกาสจึงใช้ Hard Power เข้าดําเนินการ
อังกฤษ
เช่นเดียวกัน อังกฤษมีการติดต่อค้าขายกับสยามเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากอังกฤษยึดครองพม่าได้ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ ก็คืบคลานเข้ามายังสยาม เพื่อเข้ามาค้าขายก่อน และหาโอกาสเข้ายึดครอง
การเสียดินแดนไทยแก่ฝรั่งเศส และอังกฤษ
ซึ่งก็คือ Soft Power และตามด้วย Hard Power จนกระทั่งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามจําเป็นต้องยกไทรบุรี เกาะหมาก และหัวเมืองฝ่ายใต้ ให้อังกฤษไปเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้การดําเนินการของทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสในยุคนั้น เป็นการดําเนินชนิดหมาป่าต่อลูกแกะ เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติของตน ซึ่งนอกจากดินแดนแล้วยังทําให้สยามต้องสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้กับประเทศดังกล่าว ซึ่งถือเป็นความขมขื่นของสยามเป็นอย่างยิ่ง
จีน