อ้างกฎหมายอะไรมาดักฟัง ดักรับข้อมูลข่าวสาร……

Loading

: จากบางส่วนของบทความ นายสุทัศน์ เงินหมื่น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม น.ส.พ.มติชน/12 มิถุนายน 2543 คำถาม  กฎหมายใดให้อำนาจในการดักฟัง/ดักรับข้อมูลจากโทรศัพท์ และหากมีการดักฟัง/ดักรับข้อมูลจากโทรศัพท์โดยไม่ชอบ ผู้กระทำและการกระทำนี้มีผลตามกฎหมายอย่างไร คำตอบ   เนื่องจากมีกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จึงเริ่มจาก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 105  บัญญัติว่า จดหมาย ไปรษณียบัตร โทรเลข สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอื่น ซึ่งส่งทางไปรษณีย์และโทรเลข จากหรือถึงผู้ต้องหาหรือจำเลย และยังมิได้ส่ง ถ้าเจ้าหน้าที่ต้องการเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนไต่สวน มูลฟ้อง พิจารณา หรือการกระทำอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายนี้ ให้ขอคำสั่งจากศาลถึงเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์โทรเลขให้ส่งเอกสารนั้นมา ถ้าอธิบดีกรมตำรวจ หรือข้าหลวงประจำจังหวัดเห็นว่า เอกสารนั้นต้องการใช้เพื่อการดังกล่าวแล้ว ระหว่างที่ขอคำสั่งต่อศาล มีอำนาจขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไปรษณีย์โทรเลขเก็บเอกสารนั้นไว้ก่อน บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ไม่ใช้ถึงเอกสารโต้ตอบระหว่างผู้ต้องหา หรือจำเลยกับทนายความของผู้นั้น พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 วัตถุประสงค์หลักของมาตรา 105  คือ ต้องการได้ข้อมูลการติดต่อสื่อสารของตัวจำเลยหรือผู้ต้องหา ด้วยเหตุว่า ข้อมูลการติดต่อสื่อสารนั้นเป็นประโยชน์ต่อการสืบทราบข้อเท็จจริงในการจะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ     ความเหมาะสมในด้านสิทธิ/เสรีภาพของบุคคลของกฎหมายนี้ ต้องพิจารณา  2  เเง่ คือ 1. เพื่อประโยชน์ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาขั้นการสืบสวน สอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง…

พฤติกรรมการละเมิดของสายลับ CIA

Loading

อัลดริช เฮเซน เอมส์ ( Aldrich Hazen Ames) อัลดริช เฮเซน เอมส์ ( Aldrich Hazen Ames) เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ.2484  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน  เคยปฏิบัติหน้าที่ต่อต้านการข่าวกรองและนักวิเคราะห์ของหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (CIA)  พ.ศ. 2537 ถูกตัดสินให้มีความผิดในข้อหาเป็นสายลับให้กับสหภาพโซเวียต นักปฏิบัติการหัวรุนแรงชื่อ เดนิซ กิชมิช นายเอมส์ ได้รับมอบหมายให้ไปประจำการที่กรุงอังคารา ตุรกี ปี 2512 รับผิดชอบในการประเมินและระบุตัวเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของโซเวียตในตุรกีเพื่อให้เป็นผู้ให้ข่าวแก่ CIA  และประสบความสำเร็จในการแทรกซึมเข้าไปในองค์กรคอมมิวนิสต์  ผ่านนักศึกษาและนักปฏิบัติการหัวรุนแรงชื่อ เดนิซ กิชมิช แม้ว่าจะประสบความสำเร็จ แต่ผลการประเมินการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน่าพึงพอใจ ทำให้นายเอมส์หมดกำลังใจและ คิดจะลาออกจาก CIA ในปี 2515 นายเอมส์กลับสหรัฐฯ และปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ CIA กรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ แผนกโซเวียต-ยุโรปตะวันออก (Soviet-East Europe;…

เปิดประสิทธิภาพ ‘CCTV เทคโนโลยีใหม่’ ลดภาระตำรวจ-อาชญากรรมบนถนน

Loading

ผมเห็นด้วยที่จะใช้ระบบ TLEC เพื่อลดปัญหาการจราจรและภาระของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลายคนคิดว่า เอากล้องมาจับ เพราะอยากได้ค่าปรับเยอะๆ แต่เรากำลังหาวิธีที่จะควบคุมผู้ขับขี่ให้มีวินัยได้ตลอด 24 ชม. เพื่อลดปัญหาการจราจรลง… ผ่านมากว่า 2 เดือนแล้ว นับจากช่วงค่ำของวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา เสียงระเบิดดังสนั่นขึ้นที่ศาลพระพรหม บริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ เคยมีการชุมนุมนับครั้งไม่ถ้วน จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 20 ราย และบาดเจ็บอีกนับร้อยคน ซึ่งหลักฐานสำคัญในการช่วยคลี่คลายประเด็นสำคัญในคดีดังกล่าว คือ กล้องวงจรปิด หรือ CCTV ที่สามารถบันทึกเหตุการณ์ ภาพเส้นทางการหลบหนีของชายเสื้อเหลือง นับว่าเป็นประโยชน์ในการแกะรอยคนร้าย แต่การจับกุมตัวคนร้ายยังใช้เวลานาน เนื่องจากกล้อง CCTV ที่ติดอยู่บริเวณท้องถนน จับภาพไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ไม่สามารถระบุข้อมูลรวมไปถึงลักษณะรูปพรรณสัณฐานที่ชัดเจน ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีแนวคิดที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิดให้ทันสมัย เพิ่มยิ่งขึ้น ทางทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ พล.ต.อ.ประวุฒิ ถาวรศิริ ที่ปรึกษา สบ10 ในฐานะ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึง ประสิทธิภาพของระบบ “Traffic Laws Enforcement Camera”…

ชาวเน็ตควรต้องรู้ ตำรวจปอท.เผย 10 พฤติกรรม”ไลค์ เม้นท์ แชร์ โพสต์ เสี่ยงคุก”

Loading

ตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. จัดกิจกรรม “โพสต์ต้องคิด คลิกเสี่ยงคุก” ภายใต้โครงการออนไลน์ ใสสะอาด เรารักในหลวง ที่ลานเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อรณรงค์ ให้ประชาชน เข้าใจกฎหมายในการใช้สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัย และให้ความรู้เพื่อรู้ทัน และป้องกันกลอุบายต่างๆ ไม่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ต.อ.สมพร แดงดี รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ต้องการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน ตระหนักรู้เกี่ยวกับการโพส แชร์ ข้อความเท็จที่สร้างความเสียหายให้ผู้อื่น และสร้างความวุ่นวายในสังคม ว่ามีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมา มีประชาชน เข้ามาร้องเรียนจำนวนมาก และเมื่อจับผู้โพสต์ หรือ แชร์ ข้อความได้ ก็มักอ้างว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึวฝากเตือนประชาชน ว่าการโพสข้อความ หรือ สิ่งต่างๆ ในสังคมออนไลน์ สามารถตรวจสอบได้ เพราะมีหลักฐานปรากฎชัดเจน แม้จะมีการปลอมชื่อเพื่ออำพรางตัวตน รวมถึงผู้ที่กดไลค์ หรือ คอมเม้นท์ ก็อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายได้ เนื่องจากเป็นการสนับสนุน การกระทำความผิด นอกจากนี้ตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ได้รวบรวม…