Legal High part 1
ลักษณะของการระเบิด ลักษณะของการระเบิดนับเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนการเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุระเบิด เพราะการระเบิดคือผลลัพธ์ที่เกิดกับสิ่งที่เป็นเป้าหมายในการทำลาย การระเบิด หมายถึง แรงอัดที่เกิดขึ้นจากการกระทำ ณ จุดหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อสสารที่อยู่ตรงจุดนั้นและที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้สสารนั้นเกิดการแตกหรือปริออกจากกัน ทั้งยังครอบคลุมถึงแรงอัดที่เกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ของสสารอีกด้วย ซึ่งการเผาไหม้มาจาก 2 องค์ประกอบ คือ การทำปฏิกิริยาระหว่างสสารด้วยกัน และระหว่างสสารกับออกซิเจนอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นความร้อน ในบางกรณียังก่อให้เกิดก๊าซที่มีแรงดันขึ้นด้วย พลังงานที่เกิดจากการระเบิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งด้านพาณิชย์และการทหาร สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 2.1 การระเบิดในลักษณะของ explosion คือ การเพิ่มความดันอย่างรุนแรงและรวดเร็วในพื้นที่จำกัด สาเหตุที่เกิดมาจากสารที่มีคุณสมบัติในการระเบิดตีกระทบกัน หรือได้รับพลังงานกระตุ้นจากภายนอก เช่น ความร้อน หรือเกิดจากปฏิกิริยาเคมีอย่างรวดเร็ว ที่ทำให้เกิดความร้อนจากภายในออกมา และอาจให้ก๊าซที่มีปริมาณมาก การระเบิดในลักษณะนี้จะสร้างความเสียหายได้น้อยกว่าการระเบิดในลักษณะของ detonation 2.2 การระเบิดในลักษณะของ detonation คือ การสันดาปที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดความกดดันและอุณหภูมิสูง ซึ่งการสลายตัวของสารภายใต้ความดันสูง และเมื่อความดันถูกปล่อยผ่านวัตถุต่างๆ ด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วของเสียง จะสามารถทำลายวัตถุเหล่านั้นได้ การระเบิดในลักษณะนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ก๊าซออกซิเจนช่วยการลุกไหม้ รูปแบบการจุดระเบิด แบ่งออกเป็น 3.1 การจุดระเบิดที่เกิดจากปฏิกิริยาจากการเผาไหม้อย่างรวดเร็ว(deflagrated) การระเบิดรูปแบบนี้เกิดจากการเผาไหม้ ส่วนใหญ่เกิดจากวัตถุระเบิดแรงต่ำ…
คำว่า ”วินาศกรรม” หรือ Sabotage ตามความหมายของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 คือ “การกระทำใดๆ เพื่อทำลาย ทำความเสียหายต่อทรัพย์สิน วัสดุ ข้อมูลข่าวสาร อาคาร สถานที่ ยุทธปัจจัย ที่สงวนสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก หรือรบกวน ขัดขวาง แก้ไข เปลี่ยนแปลง หน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใดๆ รวมทั้งการประทุษร้ายต่อบุคคล ซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนหรือความเสียหายทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา หรือทางใดทางหนึ่ง” อย่างไรก็ดี การก่อวินาศกรรมควรมีความหมายให้ครอบคลุมถึงพัฒนาการที่แปรเปลี่ยน ในแง่ของการกระทำใดๆ ที่กระทำเพื่อทำลาย สร้างความชะงักงัน หรือสร้างความเสียหายทั้งหมดหรือบางส่วนทั้งต่อวัตถุ ข้อมูลข่าวสาร ระบบการทำงานใดๆ รวมทั้งการประทุษร้ายต่อบุคคล ซึ่งผลของการวินาศกรรมนี้จะกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อย ผลประโยชน์ หรือความมั่นคงของประเทศชาติ รัฐบาล องค์กร กลุ่มชน หรือแม้แต่ตัวบุคคล ด้วย คำว่า “วินาศกร” หรือ Saboteur คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความเสียหายแก่ฝ่ายตรงข้ามทั้งในด้านชีวิต ทรัพย์สิน และขวัญกำลังใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ แบ่งออกเป็น วินาศกรอาชีพ…
โดยปกติแล้วระเบิดแสวงเครื่องมีลักษณะเหมือนกับวัสดุหรือของใช้ทั่วไป ทำให้การสังเกตุ หรือการพิสูจน์ว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องนั้นทำได้ยาก แต่ประชาชนทั่วไปสามารถสังเกตเบื้องต้นได้จากลักษณะ ดังนี้ 1. เป็นวัตถุที่ไม่มีเจ้าของ หรือหาเจ้าของไม่พบ 2. เป็นวัตถุที่มีลักษณะภายนอกผิดไปจากรูปเดิม เช่น กล่องมีร่องรอยเปรอะเปื้อน, มีรอยยับหรือมีสีที่เปลี่ยนแปลงไป 3. เป็นวัตถุที่ควรจะอยู่ในที่อื่นมากกว่าจะอยู่ตรงนั้น 4. เป็นวัตถุที่ไม่เคยพบเห็น ณ ที่ตรงนั้นมาก่อน ถ้ามีข้อผิดสังเกตดังกล่าวให้นึกไว้เสมอว่า “วัตถุดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นระเบิดแสวงเครื่อง” เมื่อพบวัตถุต้องสงสัยดังกล่าวให้ปฏิบัติดังนี้ 1. ห้ามจับต้อง หยิบยกเครื่อนย้าย ทำให้สั่นสะเทือนหรือเคลื่อนไหวโดยเด็ดขาด 2. สอบถามหาเจ้าของหรือวัตถุต้องสงสัย หากไม่มีผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าของให้สันนิษฐานก่อนว่าวัตถุต้องสงสัยอาจจะเป็นวัตถุระเบิด 3. จดจําลักษณะทั่วไปของวัตถุต้องสงสัย เช่น ขนาด รูปร่าง มีเสียงการทํางาน มีสายไฟฟ้าและบริเวณที่พบเห็นเพื่อเป็นข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด 4. แจ้งผู้รับผิดชอบสถานที่ที่พบเห็นวัตถุต้องสงสัยทราบเพื่อแจ้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต่อไป 5. อพยพผู้คนออกจากอาคารสถานที่นั้นโดยด่วน ด้วยวิธีนุ่มนวลเพื่อไม่ให้เกิดการตื่นกลัว 6. กําหนดเขตอันตรายและป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องโดยประมาณจากขนาดของวัตถุต้องสงสัยโดยปิดกั้นระยะ ตั้งแต่ 100-400 เมตร 7. ผู้พบเห็นวัตถุต้องสงสัยให้รอให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว