แนวทางการปฏิบัติเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน

Loading

แนวทางปฏิบัติ : กรณีโทรศัพท์ลึกลับหรือถูกข่มขู่ทางโทรศัพท์ โทรศัพท์ลึกลับหรือการข่มขู่ทางโทรศัพท์ มักมุ่งที่จะทำให้เราเสียขวัญ หรือก่อความรำคาญ หากสามารถวิเคราะห์ที่มาของโทรศัพท์นั้นได้ จะช่วยให้สามารถทราบร่องรอยและเป็นประโยชน์ในการสืบสวน เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไปได้ แต่โดยทั่วไปผู้ที่ได้รับโทรศัพท์ประเภทนี้มักจะเกิดความกลัวและรีบวางหูโทรศัพท์ ซึ่งเป็นวิธีการที่ผิด แนวทางปฏิบัติ จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องบันทึกเสียงไว้ให้พร้อมเสมอ และต่อเครื่องโทรศัพท์พ่วงไว้ให้ผู้อื่นร่วมฟังได้ด้วย พยายามชวนผู้ที่โทรศัพท์มา ให้พูดต่อไปเรื่อย ๆ นานเท่าที่จะทำได้ พยายามพิสูจน์ทราบจากเสียงที่ได้ยินมาว่า ผู้ที่โทรศัพท์มานั้นเพศอะไร อายุประมาณเท่าใด สำเนียงการพูดเป็นอย่างไร ฯลฯ ประเมินสภาพทางจิตใจของผู้ที่โทรศัพท์มาว่าเป็นคนอย่างไร สติสมประกอบหรือไม่ พยายามสอบถามให้รู้ถึงความมุ่งหมาย หรือความตั้งใจในการโทรศัพท์มาขู่ หรือให้รู้ว่าเป็นภัยคุกคามประเภทใด พยายามจดบันทึกรายละเอียดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาทิ วันที่ เวลา โทรมาจากตู้สาธารณะหรือส่วนตัว เป็นต้น พยายามฟังเสียงอื่น ๆ ประกอบเท่าที่สามารถได้ยินจากทางโทรศัพท์ เช่น เสียงรถไฟ เสียงเรือ เสียงเครื่องจักร เสียงเพลง เสียงสัตว์ ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนต่อไป เมื่อวางโทรศัพท์แล้ว ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที โดยเฉพาะถ้าเป็นการ ขู่วางระเบิด ดังนี้ 8.1 หมายเลขโทรศัพท์ 191 8.2 กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด…

ระเบียบปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยสถานที่

Loading

การกำหนดระเบียบปฏิบัติเพื่อรักษาความปลอดภัยสถานที่ของแต่ละหน่วยงานของรัฐย่อมมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม ความจำเป็นที่เผชิญอยู่ ดังนั้น เพื่อให้การวางระเบียบปฏิบัติในแต่ละหน่วยงานของรัฐเป็นไปอย่างเหมาะสม ครอบคลุมสภาพการณ์ และเพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติตามได้จริง หน่วยงานของรัฐควรพิจารณาจาก ภารกิจ หน้าที่ ความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐ สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ จำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย งบประมาณสำหรับการรักษาความปลอดภัยและการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ข่าวสาร สิ่งบอกเหตุ และการแจ้งเตือนภัย การติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงาน และกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ รายงานผลการสำรวจหรือการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยที่ได้เคยกระทำมา   ระเบียบปฏิบัติสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยสถานที่ ยามรักษาการณ์ – ดูแล สอดส่อง และตรวจตราความปลอดภัยภายในพื้นที่ของหน่วยงาน เพื่อให้พ้นจากการโจรกรรม การก่อวินาศกรรม การจารกรรม และอุบัติภัย ฯลฯ ที่อาจเกิดขึ้น และสร้างความเสียหายแก่อาคารสถานที่ ทรัพย์สินต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะการดูแล ป้องกันการลุกล้ำ บุกรุกเข้าไปในพื้นที่ควบคุม – ประจำการอยู่ที่ทางเข้า-ออกหลัก เพื่อตรวจสอบและอำนวยความสะดวกแก่บุคคล ยานพาหนะ และการนำสิ่งของต่างๆ เข้า-ออกในพื้นที่ควบคุมของหน่วยงาน – ในระหว่างปฏิบัติงานตามหน้าที่ ถ้ามีเหตุเป็นที่น่าสงสัยให้แจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำวันของหน่วยงานทราบ – การรับ-ส่งหน้าที่ของยามรักษาการณ์ ให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรในสมุดรับส่งเวรประจำวัน ยามรักษาการณ์จะเข้าแทนหน้าที่กันโดยพลการมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานเสียก่อน หากยามรักษาการณ์ไม่สามารถรับหน้าที่ตามวันเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่งได้…

ความจำเป็นในการสำรวจสถานที่เพื่อการรักษาความปลอดภัย

Loading

เป้าหมายที่ต้องกำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยขึ้นก็เพื่อควบคุมและป้องกันการกระทำของบุคคลที่อาจเป็นภัยหรือเป็นภัย ดังนั้น ในส่วนของเป้าหมายการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ จึงเป็นการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ เพื่อดำเนินการป้องกันบุคคลที่จะก่อให้เกิดภัย อันตราย และการกำหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ก็เป็นแนวทางปฏิบัติให้บุคคลยึดถือและกระทำตาม เพื่อป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งจากคนหรือธรรมชาติ จากสภาพสังคมในปัจจุบัน การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ได้กลายเป็นมาตรการที่จำเป็นต้องดำเนินการโดยบุคคล ประกอบกับการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และวิทยาการสมัยใหม่มาเสริมการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถป้องปราม หน่วงเหนี่ยว และป้องกันภัยอันตรายและการคุกคามในรูปแบบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การรักษาความปลอดภัยสถานที่ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการวางแนวทางและกำหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานที่นั้นๆ ฉะนั้น ก่อนที่จะการกำหนดแนวทางการรักษาความปลอดภัยสถานที่ จึงต้องทำการสำรวจและตรวจสอบข้อเท็จจริงของสถานที่ตั้ง บริเวณโดยรอบ และสภาพแวดล้อม เพื่อหารายละเอียดเกี่ยวกับจุดอ่อน-จุดแข็งของที่ตั้งเหล่านั้น ตลอดจนสภาพแวดล้อมและข้อแม้ต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการรักษาความปลอดภัยสถานที่ที่จะดำเนินการ จุดมุ่งหมายในการกำหนดแนวทางการรักษาความปลอดสถานที่ เพื่อควบคุมบุคคลที่อาจเป็นหรือเป็นภัยมิให้ล่วงล้ำเข้ามาในบริเวณพื้นที่ตั้ง รวมทั้งอาคารสิ่งก่อสร้างภายในพื้นที่ตั้ง แบ่งออกเป็น ป้องปรามและป้องกันภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยความประมาท เลินเล่อ ความบกพร่อง หรือด้วยความตั้งใจทำลายต่อสถานที่และบริเวณโดยรอบของที่ตั้งของหน่วยงานของรัฐ   เช่น อาคารสำนักงาน สถานที่จ่ายหรือที่ตั้งถังจัดเก็บเชื้อเพลิง โรงเก็บวัสดุและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ โรง เก็บสารเคมี โรงผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น หรือพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานของรัฐใช้ประโยชน์ เช่น ที่ตั้งสำนักงานของหน่วยงานของรัฐ โดยเช่าพื้นที่อาคารของเอกชน ซึ่งอาจจะใช้ทั้งอาคารหรือบางส่วนของอาคาร ทั้งนี้ให้พิจารณารวมถึงภัยธรรมชาติที่อาจสร้างความเสียหายอีกด้วย ป้องกันอุบัติภัยและปกป้องจากการคุกคามทุกรูปแบบต่อบุคคลสำคัญ ที่เข้าสู่พื้นที่ตั้งของหน่วยงานของรัฐหรือสถานที่ซึ่งหน่วยงานของรัฐใช้ประโยชน์ เช่น อาคารของหน่วยงานของรัฐหรือ…