ขั้นตอนเพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับการวางมาตรการ การรักษาความปลอดภัยสถานที่

Loading

ก่อนการดำเนินการวางมาตรการการรักษาความปลอดภัยสถานที่ภายในแต่ละหน่วยงานของรัฐจำเป็นต้องสำรวจตรวจสอบ เพื่อให้ได้ทราบถึงข้อมูลข่าวสารด้านต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับจุดอ่อน ข้อขัดข้อง หรือความบกพร่องในด้านต่างๆ โดยจะนำมาศึกษาทบทวน เพื่อหาแนวทางวางมาตรการที่เหมาะสม รัดกุม และมีประสิทธิภาพ การสำรวจตรวจสอบสำหรับการวางมาตรการการรักษาความปลอดภัยสถานที่ของหน่วยงานของรัฐนั้น ควรดำเนินการทุกครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนที่ทำการ ก่อสร้างขึ้นใหม่ นอกจากนี้ หน่วยงานของรัฐควรกำหนดห้วงเวลา เช่น ทุก ๖ เดือน หรือ ๑ ปี ให้ส่วนงานรักษาความปลอดภัยทำการสำรวจตรวจสอบ เพื่อทบทวนหรือหาข้อบกพร่องของมาตรการที่กำหนดไว้ เพื่อสรุปเป็นรายงานเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณา เพราะโดยพื้นฐานในแต่ละหน่วยงานของรัฐย่อมมีความแตกต่างจากกันอยู่แล้ว ทั้งในด้านระดับความสำคัญ พื้นที่ตั้ง สภาพแวดล้อม และหน้าที่ความรับผิดชอบ ขั้นที่หนึ่ง : รวบรวมและศึกษาข้อมูลข่าวสาร ตรวจสอบความเป็นจริงของข้อมูลข่าวสารจากรายงานที่ได้เคยจัดทำไว้แต่เดิม และข้อมูลเกี่ยวกับความบกพร่องด้านการรักษาความปลอดภัยสถานที่ที่เคยเกิด ทั้งภายในพื้นที่ทำการและพื้นที่บริเวณใกล้เคียงโดยรอบของหน่วยงานของรัฐ เช่น รายงานเกี่ยวกับการโจรกรรม เหตุเพลิงไหม้ หรือเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานไม่ค่อยตระหนักถึงความ สำคัญของการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนสภาพสังคมและอุปนิสัยโดยรวมของประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้ เช่น มีย่านชุมชนแออัดอยู่ใกล้เคียง หรือแหล่งลักลอบค้ายาเสพติด บ่อนการพนัน สถานเริงรมย์ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้นับว่ามีความสำคัญสำหรับนำมาใช้ประกอบการวางมาตรการการรักษาความปลอดภัยสถานที่ เพราะจะทำให้สามารถวางแผนการรักษาความปลอดภัยสถานที่ ให้รองรับภัยอันตรายได้อย่างถูกต้องเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ขั้นที่สอง : สำรวจพื้นที่และอาคารสถานที่ที่จะวางมาตรการการรักษาความปลอดภัยโดยละเอียด…

กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่รักษาความปลอดภัย

Loading

เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับกลุ่มบุคคล และหน้าที่ที่แต่ละกลุ่มจะต้องกระทำในการรักษาความปลอดภัยสถานที่ขณะเข้ามาอยู่ในพื้นที่ของหน่วยงาน จึงแบ่งประเภทของบุคลออกเป็นกลุ่มดังนี้ ๑. ผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสถานที่ ๑.๑ เจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัย เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายและมีอำนาจดำเนินการแทนหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสถานที่ภายในหน่วยงาน ๑.๒ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย คือ เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุม ดูแลการรักษาความปลอดภัยตามระเบียบปฏิบัติที่แต่ละหน่วยงานของรัฐกำหนดขึ้น และอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วย ๑) เจ้าหน้าที่ส่วนงานรักษาความปลอดภัยประจำหน่วยงานของรัฐนั้น ๒) เจ้าหน้าที่จากส่วนงานอื่นที่ได้รับมอบหมายภารกิจรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอีกหน้าที่หนึ่ง ซึ่งการมอบหมายนี้ต้องออกเป็นคำสั่งภายใน โดยหัวหน้าหน่วยงานมอบให้เจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัยเป็นผู้ดำเนินการแทน ๑.๓ ยามรักษาการณ์ ได้แก่ ๑) ลูกจ้างประจำภายในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งประจำที่กำหนดให้ทำหน้าที่ยามรักษาการโดยเฉพาะ ๒) พนักงานจากบริษัทรักษาความปลอดภัยเอกชน ซึ่งหน่วยงานของรัฐจัดจ้าง ๓) สำหรับหน่วยงานความมั่นคงของชาติ ควรขอรับการสนับสนุนกำลังจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายสามารถทำการตรวจค้นหรือเข้าควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นมาดำเนินการต่อไป ๒. ผู้ที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบการรักษาความปลอดภัยสถานที่ภายในหน่วยงาน ๒.๑ เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานของรัฐนั้น ๒.๒ ผู้มาปฏิบัติงานภายในพื้นที่หน่วยงานของรัฐ แบ่งออกเป็น ๑) ผู้ปฏิบัติงานประจำ เช่น บุคคลที่ได้รับการว่าจ้างจากหน่วยงานของรัฐให้เข้ามาปฏิบัติงาน พนักงานทำความสะอาดจากบริษัทเอกชน ผู้ประกอบการร้านอาหาร ๒) ผู้เข้ามาปฏิบัติงานชั่วคราว เช่น คนงานก่อสร้าง พนักงานซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์หรือสาธารณูปโภค นักเรียนนักศึกษาที่เข้ามารับการฝึกงาน ๒.๓…

พระราชบัญญัติล้างมลทินกับผลการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล

Loading

ในกรณีที่ผลการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลด้วยพิมพ์ลายนิ้วมือ และพบประวัติอาชญากรรมของบุคคล การที่หน่วยงานของรัฐจะรับบุคคลนั้นบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้างให้เข้ามาปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลพินิจถึงคุณสมบัติหรือความมีศีลธรรมอันดีตามแต่ที่หน่วยงานของรัฐนั้นกำหนดไว้เป็นการภายใน สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล ที่ควรทราบ เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐมีดังนี้ พระราชบัญญัติล้างมลทิน จุดประสงค์ของพระราชบัญญัติล้างมลทิน คือ ให้บุคคลที่เคยรับโทษจากคำพิพากษาของศาล และได้พ้นโทษมาแล้ว หรือผู้ที่เคยอยู่ในหน่วยงาน ของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ ในกรณีความผิดต่างๆ โดยเป็นการกระทำก่อนหรือในวันที่ที่ได้ประกาศพระราชบัญญัติล้างมลทินแล้ว ให้บุคคลนั้นได้พ้นจากมลทิน เสมือนว่าไม่เคยต้องโทษตามที่ได้กระทำความผิดนั้นๆ มาก่อน แต่พระราชบัญญัติล้างมลทิน ไม่ใช่การลบล้างโทษหรือความผิดที่กระทำไว้ ฉะนั้น การล้างมลทิน จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิต่างๆ ผลลัพธ์ที่เกิดจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ 1.1 สำหรับหน่วยงานของรัฐ บุคคลที่ล้างมลทินแล้ว สามารถสอบเข้ารับราชการได้ เพราะตามคุณสมบัติของผู้สอบเข้ารับราชการ ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาว่าต้องโทษมาก่อน แต่ในทางปฏิบัติ การตีความของแต่ละหน่วยงานของรัฐอาจแตกต่างกัน และประวัติการกระทำผิดก็ยังคงปรากฏอยู่ แต่มีบันทึกต่อท้ายว่า ได้ล้างมลทินแล้ว 1.2 ผู้ที่กระทำผิดและถูกสั่งให้ออกจากราชการ เมื่อได้รับการล้างมลทินแล้ว ไม่น่าจะกลับเข้ารับตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ เพราะมีข้อจำกัดหลายประการ ตั้งแต่ตำแหน่งที่รองรับ หรือการยอมรับตามข้อเท็จจริง หากกระทำผิดร้ายแรง ยิ่งเป็นการยากที่จะได้รับการบรรจุเข้ากลับรับราชการอีก 1.3…

ทะเบียนประวัติอาชญากรและระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Loading

ในกรณีที่การดำเนินการตรวจสอบประวัติและพฤติกรรมบุคคลพบข้อมูลการกระทำผิดในทะเบียนประวัติอาชญากรของบุคคลที่หน่วยงานของรัฐจะรับบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้าง หรืออยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติราชการ หน่วยงานของรัฐนั้นอาจเปิดโอกาสให้มีการนำผลการสิ้นสุดคดีความหรือให้มีการติดตามผลคดีที่ชัดเจน เพื่อมาประกอบการพิจารณาด้วย เพราะ ตามระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ.2554 ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2554 บทที่ 4 การคัดแยกและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และรายการประวัติหรือบัญชีประวัติ ข้อ 1 โดยการแสดงข้อมูลผลคดีความนี้ อาจแจ้งให้เจ้าของประวัตินำผลคดีมาแสดงเองหรือโดยการขอรับการสนับสนุนผลคดีไปยังหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบก็ได้ หากผลคดีเป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการพิมพ์ลายนิ้วมือแล้ว ถือได้ว่าบุคคลนั้นมิได้ขาดคุณสมบัติใดๆ ทางราชการในการบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้างได้ ข้อมูลตามทะเบียนประวัติอาชญากร เมื่อมีการจัดทำขึ้นแล้ว จะถูกจัดเก็บไว้ เมื่อมีการสั่งฟ้องดำเนินคดี มีคำพิพากษา ก็จะทำการลงบันทึกถึงผลการดำเนินคดี ได้แก่ ศาลสั่งยกฟ้อง หรือสั่งลงโทษ ก็จะลงต่อท้ายไว้ กรณีที่จะถูกจัดทำทะเบียนประวัติอาชญากรมาจาก 2.1 การทำความผิดทางอาญาทุกชนิด เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดำเนินคดี จะต้องมีการทำประวัติอาชญากรรม 2.2 ประวัติอาชญากรรมจะจัดทำเมื่อตั้งข้อกล่าวหาตั้งแต่ในชั้นตำรวจ หรือผู้เสียหายดำเนินการฟ้องร้องเอง จะจัดทำในชั้นที่ศาลสั่งว่าคดีมีมูล บุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนได้เสียกับเจ้าของประวัติ สามารถขอตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ โดยเฉพาะที่เป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัด เพราะมีหน้าที่ต้องจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อมิให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเสียหายแก่เจ้าของประวัติ ถึงแม้จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติอาชญากรก็ตาม ทั้งนี้…

แฉแฮกเกอร์จีนล้วงตับอาเซียนมานานนับทศวรรษ

Loading

เว็บไซต์เวียดนามนิวส์รายงานว่า ไฟร์อาย บริษัทด้านความมั่นคงเครือข่ายของสหรัฐอเมริกาค้นพบว่า มีการสอดแนมทางไซเบอร์เพื่อจารกรรมข้อมูลอ่อนไหวจากอินเดียและบางประเทศในอาเซียน ซึ่งรวมถึงเวียดนามมาเป็นเวลานานกว่าทศวรรษแล้ว โดยในการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับรายงานเรื่องนี้ ที่ชื่อว่า “เอพีที30 และกลไกของปฏิบัติการสอดแนมไซเบอร์ที่ดำเนินมาเป็นเวลานาน” จัดขึ้นที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ไฟร์อายเปิดเผยรายละเอียดว่ากลุ่มแฮกเกอร์ เอพีที30 ที่เชื่อว่าเป็นของรัฐบาลจีน ปฏิบัติการโจมตีคอมพิวเตอร์หลายพันเครื่องในเวลาเดียวกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อขโมยข้อมูลที่อ่อนไหวจากหลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวียดนาม ไทย เกาหลีใต้ อินเดีย และมาเลเซียได้อย่างไร รายงานระบุว่า เอพีที30 ใช้ประโยชน์จากพัฒนาการทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเลือกปฏิบัติการในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน การหารือระดับภูมิภาคอื่นๆ อาทิ กรณีพิพาทด้านพรมแดนระหว่างจีน อินเดียและชาติอื่นๆ ในเอเชีย โดยพบมัลแวร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ มากกว่า 200 ตัวที่ออกแบบโดยเอพีที30 ทำงานอยู่ในคอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่อยู่ในที่ทำการสำคัญทั้งของรัฐบาลและธุรกิจเอกชนในเวียดนามหลายแห่ง นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวที่รายงานข่าวสภาพเศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิทธิมนุษยชน การคอร์รัปชั่น กองทัพ และกรณีพิพาทเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเลของจีน ก็ตกเป็นเป้าด้วย โดยปฏิบัติการจารกรรมเหล่านี้ สามารถสืบสาวร่องรอยย้อนหลังไปได้ไกลถึงปี 2548   —————————————————– http://www.matichon.co.th วันที่ 28 พฤษภาคม 2558

เผยมีทหารญี่ปุ่น ที่ถูกส่งไปสนับสนุนสงครามอิรัก-อัฟกานิสถาน และในมหาสมุทรอินเดีย ฆ่าตัวตาย 54 นายในช่วง 10 ปี

Loading

เจแปน ทูเดย์ และสำนักข่าวเกียวโด รายงานว่า ในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ขยายบทบาทของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นในต่างแดน นายเกน นาคาทานิ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ได้เผยตัวเลขทหารที่ฆ่าตัวตายหลังถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ช่วงปี 2544-2553 ว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 54 นาย จำนวนนี้ 25 นายสังกัดหน่วยนาวิกโยธิน ที่เข้าร่วมภารกิจเติมน้ำมันในมหาสมุทรอินเดีย   ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วยกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดิน 21 นาย กับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ 8 นาย ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับภารกิจมนุษยธรรม กำลังบำรุง และการบูรณะฟื้นฟูในอิรัก แต่ยากจะโยงสาเหตุการฆ่าตัวตายกับภารกิจในต่างแดนอย่างเดียว เนื่องจากการปลิดชีวิตตนเอง มักมีหลายปัจจัยประกอบกัน และทั้งหมดฆ่าตัวตายหลังกลับถึงญี่ปุ่นแล้ว   รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่นเผยตัวเลขนี้ ขณะตอบกระทู้ของนายคาซูโอะ ชิ ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ที่กังวลเกี่ยวกับสภาพอารมณ์และจิตใจของทหารที่ถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจต่างแดน   ทั้งนี้ การประกาศใช้กฎหมายพิเศษว่าด้วยการต่อต้านก่อการร้ายเมื่อตุลาคม 2544 เปิดทางให้กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น เข้าไปมีส่วนร่วมกับภารกิจเติมน้ำมันในมหาสมทุรอินเดีย เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการต่อต้านก่อการร้ายนำโดยสหรัฐ ในและรอบอัฟกานิสถาน โดยมีทหารญี่ปุ่นกว่า 22,000 นายที่มีส่วนร่วมภารกิจเหล่านี้ช่วงปี 2544-2553   —————————————————– http://www.…