สำหรับความหมายของอาชญากรรม มีผู้ให้ความหมายไว้มากมายแตกต่างกัน สามารถสรุปได้ดังนี้
อาชญากรรมในความหมายอย่างกว้าง
- อาญา หมายถึง อำนาจ โทษ(ใช้สำหรับ พระเจ้าแผ่นดิน)
- กรรรม หมายถึง การกระทำที่สนองผลร้ายที่ทำไว้แต่ปางก่อน
อาชญากรรม คือ การกระทำซึ่ง
- มีการกระทำผิด เจตนา
- ลักษณะความผิด *ร้ายแรง อันตรายต่อสังคม *กฎหมายเข้าไปดำเนินการ
- ได้รับโทษ *สมาชิกของสังคม
*กฎหมายบ้านเมือง
-เป็นขั้นตอน
-เป็นทางการ
สรุปได้ว่า อาชญากรรมในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง พฤติกรรมที่มีการกระทำผิดโดยผู้กระทำผิดมีเจตนาในการกระทำดังกล่าว โดยเป็นการกระทำความผิดที่มีลักษณะร้ายแรง มีความรุนแรงและเป็นอันตรายต่อสังคม ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบจำนวนมหาศาลต่อสังคม อันเป็นการกระทำที่มีการละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษทั้งที่ไม่เป็นทางการจากสมาชิกในสังคม อาทิ การตำหนิ ติเตียน การไม่คบหาสมาคมด้วย และการได้รับโทษที่เป็นทางการจากข้อกำหนดของกฎหมายบ้านเมือง โดยผู้กระทำผิดจะต้องถูกลงโทษโดยผ่านกระบวนการยุติธรรมเป็นสำคัญ
อาชญากรรมในความหมายอย่างแคบ
อาชญากรรม คือ การกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญา
อาชญากร คือ ผู้กระทำผิดทางอาญาที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดและได้รับโทษทางอาญา
สรุปได้ว่า อาชญากรรมในความหมายอย่างแคบ คือ พฤติกรรมที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมายอาญาเท่านั้น โดยการพิจารณาพฤติกรรมการกระทำของบุคคลในสังคมตามข้อกำหนดของกฎหมายอาญาเท่านั้น ไม่ได้คำนึงถึงเจตนา หรือลักษณะของความผิดแต่อย่างใด
นอกจากนี้ อาชญากรรมอาจมีความหมายที่แตกต่างกันในแต่ละประเด็น ดังนี้
– อาชญากรรมในแง่กฎหมาย
อาชญากรรม เป็นการกระทำที่มีความผิดและมีบทลงโทษทางอาญาเป็นหลักโดยการกระทำความผิดทางอาญา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- อาชญากรรมที่มีความชั่วร้ายในตัวเอง (Mala inse)
- อาชญากรรมที่ไม่มีความชั่วร้ายในตัวเอง (Mala prohibita)
– อาชญากรรมในแง่สังคมวิทยา
อาชญากรรม เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อสังคมส่วนรวม และสังคมมุ่งจะลงโทษผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าว
– อาชญากรรมในแง่อาชญาวิทยา
อาชญากรรม เป็นการกระทำความผิดในทางอาญา มีสาเหตุในการกระทำความผิดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนด โดยการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหาย และจะต้องมีมาตรการในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดที่เหมาะสม
นอกจากนี้อาชญากรรมอาจมีความหมายที่แตกต่างกัน อาทิ
อาชญากรรม คือ การกระทำที่ละเมิดกฎหมายอาญา การกระทำใด ๆ ไม่ว่าจะน่าประณามน่าลงโทษ มากสักเพียงใด หรือ ไม่ว่าจะเป็นการผิดศีลธรรมมากเพียงใด ก็ไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรม ถ้าไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้
อาชญากรรมคือ การกระทำ หรือ ละเว้นการกระทำใด ๆ ซึ่งกฎหมายมหาชนได้บัญญัติห้ามไว้ เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ และถ้าผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษโดยวิธีดำเนินกระบวนพิจารณาทางศาล
อาชญากรรม คือ การกระทำโดยมีเจตนาละเมิดกฎหมายอาญา หรือละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายอาญาบังคับให้กระทำ (ทั้ง Statutory และ case law) โดยไม่มีข้อแก้ตัวที่สมเหตุสมผล ซึ่งทำให้รัฐต้องดำเนินการลงโทษในฐานะที่เป็นความผิด
สรุปได้ว่า อาชญากรรมคือ พฤติกรรมที่ฝ่าฝืนข้อห้ามของรัฐในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายอาญาโดยผู้กระทำมีเจตนาชั่วร้าย และจากการฝ่าฝืนดังกล่าว ผู้กระทำจะต้องได้รับโทษทางอาญาความหมายของอาชญากร
อาชญากร คือ ผู้กระทำผิดทางอาญาที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดและลงโทษทางอาญา
ที่มา : http://www.polsci.chula.ac.th/sumonthip/cri-crimedef.htm