เยอรมนีเล็งทบทวน ก.ม.ปืนหลังเหตุกราดยิง 9 ศพมิวนิก

Loading

     รัฐบาลเยอรมนีเล็งทบทวนกฎหมายการครอบครองอาวุธปืนในประเทศกันใหม่ หลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญเมื่อช่วงเย็นวันที่ 22 ก.ค. นายเดวิด อาลี ซันโบลี วัย 18 ปี ชาวเยอรมันเชื้อสายอิหร่าน ใช้อาวุธปืนสั้น 9 มม. กราดยิงชาวบ้านอย่างไม่เลือกหน้า ในร้านฟาสต์ฟู้ดแมคโดนัลด์ ตามด้วยบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าโอลิมเปีย ในนครมิวนิก แคว้นบาวาเรีย ทางตอนใต้ของเยอรมนี ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ บาดเจ็บอย่างน้อย 27 คน ขณะที่คนร้ายเองก็ได้ตัดสินใจใช้สื่อมรณะกระบอกเดียวกันจบชีพตัวเองในเวลาต่อมา      ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 ก.ค. นายซิกมาร์ เกเบรียล รองนายกรัฐมนตรีเยอรมนีและรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า รัฐบาลจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางในการควบคุมการเข้าถึงอาวุธมรณะเหล่านี้ การควบคุมอาวุธปืนถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับรัฐบาล ในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนก็อยู่ระหว่างการเร่งตรวจสอบว่า นายซันโบลี วัยรุ่นอายุ 18 ปี มีอาวุธปืนในครอบครองได้อย่างไร ทั้งที่เคยมีประวัติเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์ด้วยอาการโรคซึมเศร้า      ส่วนนายโธมัส ดี ไมซีเรอร์ รมว.มหาดไทยเยอรมนี ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์บิลด์ แอม…

การ – การณ์ หลักง่ายๆ เพื่อป้องกันความสับสน

Loading

    คำว่า “การ” และ “การณ์” ที่ผมยกมาเป็นหัวข้อในวันนี้ เป็นคำที่พบบ่อยมากในภาษาไทย โดยมักใช้ประกอบกับคำอื่นได้ทั่วไป เนื่องจากคำทั้งสองเป็นคำพ้องเสียง ออกเสียงว่า /กาน/ เหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ดังนั้นเมื่อใช้ในการพูดจึงมักไม่ค่อยเป็นปัญหา แต่จะไปเกิดปัญหาขึ้นเมื่อสื่อสารโดยการเขียน เพราะคนไทยบางคนยังสับสนระหว่างสองคำนี้ บางครั้งในบริบทที่ต้องใช้คำว่า “การ” ก็ไปใช้คำว่า “การณ์” แทน หรือในบริบทที่ต้องใช้คำว่า “การณ์” ก็เขียนเป็น “การ” ทำให้ผิดความหมายที่ต้องการจะสื่อ วันนี้ผมจึงขอเสนอหลักง่ายๆ เพื่อป้องกันความสับสนดังกล่าวครับ     ก่อนอื่นเราต้องศึกษาความหมายของคำทั้งสองก่อน คำว่า “การ” มีอยู่สามความหมาย ได้แก่ การ ๑ น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว…