“ข่าวปลอม” !! ปัญหาที่มาพร้อมสื่อสังคมออนไลน์ ส่งผลกระทบอย่างไร? ป้องกันได้หรือไม่?
ควันหลงจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปีนี้มีหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง “ข่าวปลอม” หรือ “Fake News”. Kim Lacapria ผู้จัดการฝ่ายข้อมูลของเว็บไซต์ Snopes.com ซึ่งติดตามดูการให้ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดได้ทางเว็บ ให้คำจำกัดความของคำว่า “ข่าวปลอม” ว่าเป็นข่าวในเว็บไซต์ที่ไม่มีความจริงเลย ในขณะเดียวกัน ลักษณะของ “ข่าวปลอม” ที่แพร่สะพัดอยู่ตามเว็บไซต์ในขณะนี้ นอกจากจะเป็นข่าวที่ไม่มีมูลความจริงแล้ว ยังอาจรวมข่าวที่มีมูลความจริงเล็กน้อย ส่วนที่เหลือถูกบิดเบือน หรือแสดงอคติของผู้เขียนข่าวก็ได้ “ข่าวปลอม” ซึ่งกำลังเป็นที่พูดถึงมากในสหรัฐขณะนี้ ทำให้เกิดการแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากในหมู่นักข่าว นักวิชาการ และผู้ที่ใช้สื่อสังคมโดยทั่วไป ในขณะเดียวกัน ก็สร้างความกดดันให้แก่นาย Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง Facebook ด้วย เพราะปรากฏว่า “ข่าวปลอม” เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อต้นเดือนนี้ มีผู้คนเข้าไปอ่านและแสดงความคิดเห็นในช่วงสามเดือนสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้ง มากกว่าข่าวพาดหัวของสำนักข่าวใหญ่ 29 แห่งด้วยกัน Mark Zuckerberg ถึงกับต้องออกมากล่าวว่า กำลังปรับปรุงวิธีกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกจาก Facebook อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับก็คือ “ข่าวปลอม” หรือข่าวที่ทำให้เข้าใจผิดได้ หรือที่มีความจริงบางส่วน เมื่อมีสื่อกลางยอดนิยมช่วยกระพือให้อย่างรวดเร็วทันใจ เช่น Facebook และ…