‘อัล-ชาบับ’ โจมตีโรงแรมในเมืองหลวงโซมาเลีย ดับ 10 จับตัวประกันหลายคน

Loading

     กลุ่มติดอาวุธ อัล-ชาบับ ในโซมาเลีย บุกโจมตีโรงแรมในกรุงโมกาดิชู เมื่อวันพุธ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 10 ราย และยังปักหลักอยู่ภายในอาคาร โดยจับตัวประกันไว้หลายคนด้วย…      สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักรบของกลุ่มติดอาวุธ อัล-ชาบับ ในโซมาเลีย ก่อเหตุบุกโจมตีโรงแรม ‘Ambassador’ ในเมืองหลวง กรุงโมกาดิชู ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐและนักธุรกิจมักเดินทางมาพัก เมื่อช่วงเย็นวันพุธที่ผ่านมา สังหารผู้คนอย่างน้อย 10 ราย และจับตัวประกันเอาไว้จำนวนหนึ่ง      การโจมตีเริ่มขึ้นด้วยระเบิดรถยนต์ฆ่าตัวตาย ที่ประตูหน้าของโรงแรม ก่อนที่นักรบจำนวนหนึ่งจะบุกเข้าไปภายในอาคาร โดยร้อยโท มูฮัมเหม็ด ฮุสเซน ตำรวจโซมาเลีย เปิดเผยว่า สมาชิกสภา 2 คนอยู่ในกลุ่มผู้เสียชีวิตด้วย และจนถึงตอนนี้สถานการณ์ที่โรงแรมยังไม่คลี่คลาย ยังมีนักรบอัล-ชาบับอีก 2 คนอยู่ภายในโรงแรม      ตอนนี้โรงแรมกำลังถูกโอบล้อมด้วย ทหารติดอาวุธหนักมากมาย โดยพวกเขาใช้จรวดอาร์พีจี และปืนกลติดรถกระบะในการต่อสู้กับนักรบติดอาวุธซึ่งอยู่บนชั้น 2 ของโรงแรม     …

At Least 10 Killed in Somalia Ambassador Hotel Attack

Loading

     Witnesses in Somalia’s capital say at least 10 people were killed and more than 15 others wounded when militants attacked a major hotel Wednesday.      Somali lawmaker Mohamed Ismail Shuriye told VOA that two parliamentarians, Abdullahi Jama Kaboweyne and Mohamud Gure, were killed during the attack. He said a third lawmaker, Abdullah…

Smart Socia Media รู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์

Loading

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดทำคู่มือเล่มนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์แก่ประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน สามารถที่จะใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์มากที่สุด ตลอดจนรู้เท่าทันเกี่ยวกับภัยคุกคามที่มาพร้อมกับความสะดวกสบายในการเข้าถึงและใช้งาน คู่มือเล่มนี้ จึงมุ่งหวังที่จะให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อภัยคุกคามในทุกภาคส่วนของประเทศทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ส่งผลให้คนไทยทุกคนสามารถที่จะใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างเป็นประโยชน์สร้างสรรค์และปลอดภัย อ่านบทความต่อได้ที่ http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/download/Booklet%20.pdf

มาตรการในการลดการแพร่กระจายเนื้อหาอันไม่เหมาะสม บนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับภาครัฐ

Loading

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันการใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการใช้งานบนสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ซึ่งเป็นสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีอิทธิพลสูง เนื่องด้วยมีการเชื่อมโยงกับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก และมีการสร้างส่วนร่วมกับผู้ใช้งานให้มีปฏิสัมพันธ์กัน อาทิเช่น FacebookInstagram Twitter Youtube เป็นต้น ทั้งนี้ภาครัฐทุกภาคส่วน มีหน้าที่ในการช่วยกำกับดูแลการใช้งานอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม ถูกกฎหมาย ตลอดจนเฝ้าระวังมิให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือก่อให้เกิดปัญหาสังคม อย่างไรก็ตามหน่วยงานภาครัฐอาจจะตกเป็นเป้าหรือเครื่องมือของผู้ไม่ประสงค์ดี เพื่อใช้ในการแพร่กระจายเนื้อหาอันไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของเนื้อหาอันไม่เหมาะสมโดยไม่เจตนา สำหรับมาตรการในการลดการแพร่กระจายเนื้อหาอันไม่เหมาะสมบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับภาครัฐ มีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องดำ เนินการตามมาตรการนี้แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑. กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับมอบหมายให้ติดตามการเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม ๒. กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐโดยทั่วไป สำหรับมาตรการดังกล่าว มีดังนี้ กลุ่มที่ ๑. สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับมอบหมายให้ติดตามการเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม มาตรการในการดำเนินการ เหตุผล ๑. ให้ใช้บัญชีใช้งาน (Account) ที่สร้างขึ้นใช้เป็นการเฉพาะสำหรับการติดตาม : สำหรับการติดตามกลุ่มบุคคลหรือติดตามเนื้อหาอันไม่เหมาะสมบนสื่อสังคมออนไลน์ ให้ใช้บัญชีใช้งาน (Account) ที่สร้างขึ้นใช้เป็นการเฉพาะสำหรับการติดตาม กล่าวคือ ห้ามใช้บัญชีที่เป็นของตนเองที่มีการเชื่อมโยงกับเพื่อนสมาชิกคนอื่น (Friend) เข้าทำการติดตาม สื่อสังคมออนไลน์ เช่นYoutube และ Facebookจะพิจารณาเนื้อหาที่เฝ้าติดตาม…

เอกลักษณ์ – อัตลักษณ์

Loading

     ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับคำว่า “เอกลักษณ์” ในความหมายว่าเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เขาเป็นคนมีน้ำเสียงดุดันเป็นเอกลักษณ์ ส่วนคำว่า “อัตลักษณ์” ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ผมพบว่ามีการใช้มากขึ้นในปัจจุบันโดยเฉพาะในแวดวงวิชาการ เช่น สัมมนาเรื่องการแสดงอัตลักษณ์ของกวีในบทประพันธ์ร่วมสมัย      คำว่า “เอกลักษณ์” และ “อัตลักษณ์” นี้สะกดคล้ายคลึงกัน แต่มีความหมายไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แถมยังมีความหมายบางส่วนทับซ้อนกันอยู่ วันนี้ผมจึงขอหยิบยกเอาสองคำเจ้าปัญหามาอธิบายดังนี้ครับ      คำว่า “เอกลักษณ์” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า ลักษณะที่เหมือนกันหรือมีร่วมกัน เช่น ชุมชนนี้มีเอกลักษณ์อยู่ที่การทอผ้าจก หมายความว่าคนในชุมชนนี้มีอาชีพทอผ้าจกเหมือนๆ กันหมด อย่างไรก็ดี คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่า “เอกลักษณ์” ในความหมายว่าลักษณะอันเป็นเฉพาะ มีหนึ่งเดียวของสิ่งๆ หนึ่งดังที่ผมกล่าวไปแล้วข้างต้น เช่น ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย      ส่วนคำว่า “อัตลักษณ์” ไม่มีบันทึกไว้ในพจนานุกรม แต่มีตำราหลายเล่มให้ความหมายคำว่า “อัตลักษณ์” ไว้ว่าคุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของบุคล สังคม ชุมชน หรือประเทศนั้นๆ…

ทันกาล, ทันการณ์ และ ทันการ

Loading

     คำที่ผมยกมาเป็นหัวข้อในวันนี้เป็นคำที่มีผู้ใช้สับสนกันมากครับ โดยทั้งสามคำเป็นคำพ้องเสียง อ่านเหมือนกันหมดว่า /ทัน-กาน/ แต่มีวิธีการสะกดต่างกัน และมีการใช้ต่างกันด้วย นอกจากนี้ ในจำนวนสามคำนี้ยังมีคำหนึ่งที่ (น่าจะ) เป็นคำที่ผิดและไม่มีใช้ในภาษาไทย ส่วนจะเป็นคำใดนั้นเชิญติดตามอ่านกันได้เลยครับ      ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของสามคำนี้ก่อน ทั้งสามคำประกอบขึ้นจากคำว่า “ทัน” ซึ่งเป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เป็นไปตามเวลาที่กำหนด คำว่า “กาล” หมายถึง เวลา, คราว, ครั้ง ดังนั้น คำว่า “ทันกาล” จึงหมายถึง ทันเวลา, ดำเนินการเสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา เช่น อย่ามัวชักช้าเดี๋ยวงานจะเสร็จไม่ทันกาล      คำว่า “การณ์” หมายถึง เหตุ, เค้า มูล ดังนั้น คำว่า “ทันการณ์” จึงน่าจะหมายถึง ทันต่อเหตุการณ์ เช่น ปัจจุบันเราสามารถรายงานข่าวได้รวดเร็วทันการณ์ เพราะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย      ส่วนคำว่า “การ”…