คดีวอเตอร์เกต

Loading

คดีวอเตอร์เกต (Watergate scandal)  กรณีอื้อฉาวทางการเมืองของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติงานของสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐฯ (FBI) และการติดตามรายงานข่าวสารของหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันโพสต์ สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์จับกุมชายห้าคนที่ลักลอบโจรกรรมข้อมูลจากที่ทำการสำนักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต ในอาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อ17 มิถุนายน 2515 คณะทำงานของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน พยายามปกปิดหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุโจรกรรมดังกล่าว การในคดีลักลอบโจรกรรมใหญ่พรรคเดโมแครตที่อาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์FBIเข้ามาทำการสืบสวนจนเชื่อมโยงเส้นทางการเงินของคนร้ายทั้งห้าคนจนพบข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มระดมทุนสนับสนุนประธานาธิบดีนิกสันในการลงแข่งขันเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2  โดยหลักฐานทั้งหมดบ่งชี้ไปยังคณะทำงานของประธานาธิบดีนิกสันทำการทุจริต  จากการสืบสวนจนถึงเดือนกรกฎาคม 2516 คณะทำงานสืบสวนคดีวอเตอร์เกตซึ่งแต่งตั้งโดยวุฒิสภา รายงานว่าภายในห้องทำงานของประธานาธิบดีนิกสันมีระบบบันทึกเสียง ซึ่งบันทึกการสนทนาต่างๆ เป็นจำนวนมากใจความจากเทปบันทึกเสียงนี้ชี้ให้เห็นว่าประธานาธิบดีนิกสันเคยพยายามปกปิดการมีส่วนรู้เห็นต่อการโจรกรรมข้อมูลของพรรคเดโมแครต ศาลฎีกาสูงสุดแห่งสหรัฐฯ จึงมีคำสั่งให้ประธานาธิบดีนิกสันส่งมอบเทปบันทึกเสียงทั้งหมดแก่พนักงานสืบสวน ประธานาธิบดีนิกสันจึงต้องยอมส่งมอบเทป  จากการสืบสวนและพิจารณาในชั้นศาลส่งผลให้ประธานาธิบดีนิกสัน ต้องลาออกจากตำแหน่ง เมื่อ 9 สิงหาคม 2517 นับเป็นการลาออกจากตำแหน่งครั้งแรกของประธานาธิบดีในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ จากเหตุการณ์นี้ยังนำไปสู่การฟ้องร้องการไต่สวนการลงโทษ และการจำคุกบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 43 คน รวมไปถึงคณะทำงานระดับสูงของรัฐบาลนิกสันด้วย นอกจากการสืบสวนของ FBI  และการสอบสวนของคณะทำงานสืบสวนคดีวอเตอร์เกตแล้ว  การติดตามรายงานข่าวสารคดีนี้โดยตลอด ของ เดอะวอชิงตันโพสต์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ชื่อดังของสหรัฐฯ  ทำให้ FBI จำเป็นต้องทำการสืบสวนพร้อมกับผลักดันให้หน่วยงานพ้นจากอำนาจของประธานาธิบดีนิกสัน ประธานาธิบดีนิกสันขณะเดินทางออกจากทำเนียบขาว ก่อนการลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีมีผลบังคับใช้เมื่อ 9 สิงหาคม 2517

What is VX nerve agent?

Loading

(CNN)Malaysian police have revealed the substance that killed Kim Jong Nam was a highly toxic nerve agent more commonly used in warfare. VX nerve gas was first developed in the UK in the 1950s as a deadly chemical warfare agent, according to the Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Experts say the formula has…

ชี้สารพิษสังหารคิม จอง นัม เป็น “อาวุธทำลายล้างสูง”

Loading

ตำรวจมาเลเซียแถลงว่าจากการตรวจสอบสารพิษที่ใช้ปลิดชีวิตนายคิม จอง นัม พี่ชายต่างมารดาของนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ พบว่าเป็นสารพิษต่อระบบประสาท “VX nerve agent” ซึ่งองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กำหนดว่าเป็นอาวุธทำลายล้างสูง สิ่งควรรู้เกี่ยวกับสารพิษ VX nerve agent เป็นของเหลวไม่มีรสชาติ ไม่มีกลิ่น มีสีเหลืองอัมพันใส เป็นสารเคมีที่ใช้ในสงครามซึ่งมีพิษร้ายแรงที่สุด การสัมผัสสาร VX เพียงหยดเดียวบนผิวหนังมีอันตรายถึงชีวิต และทำให้ตายได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ทำงานโดยซึมผ่านเข้าทางผิวหนังและทำลายการถ่ายทอดกระแสประสาท สามารถแพร่กระจายด้วยการฉีดพ่น ไอระเหย หรือใช้ผสมในน้ำ อาหาร และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งจากการสูดดม รับประทาน สัมผัสทางผิวหรือ หรือดวงตา จะตกค้างอยู่บนเสื้อผ้าได้นาน 30 นาที หลังสัมผัสกับไอระเหยของสารพิษนี้ ซึ่งจะกระจายไปยังผู้อื่นได้ การสัมผัสกับสารพิษนี้ในปริมาณน้อยทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหล ปวดตา สายตาพร่ามัว น้ำลายไหลยืด และเหงื่อออกในปริมาณมาก แน่นหน้าอก หายใจเร็ว มีปัสสาวะมาก สับสน วิงเวียน อ่อนแรง หรืออาเจียน มีชื่อเป็นทางการว่า S-2…

เยอรมันสั่งห้ามขายตุ๊กตาของเล่นเด็ก Cayla เพราะมีอุปกรณ์เข้าข่ายจารกรรมข้อมูล

Loading

หน่วยงานเครือข่ายรัฐบาลกลางเยอรมัน (The Federal Network Agency) สั่งถอดตุ๊กตา My Friend Cayla ออกจากร้านขายของทั้งหมด เพราะในตัวตุ๊กตามีไมโครโฟนบันทึกการสนทนา เข้าข่ายการจารกรรมข้อมูล ส่วนผู้ปกครองที่ซื้อตุ๊กตาไปให้ลูกหลาน ทางการขอร้องให้ทำลายทิ้งเสีย ตุ๊กตา Cayla มีไมโครโฟน ที่ใช้พูดคุยกับเด็กๆ ฟีเจอร์ของตุ๊กตาถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่อุปกรณ์จารกรรมข้อมูลแบบแอบแฝง (hidden espionage devices) ซึ่งผิดกฎหมายของเยอรมนี ผู้ผลิต Genesis Toys ก็เคยเจอปัญหานี้มาก่อนแล้ว หน่วยงาน NGO ด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล Electronic Privacy Information Center (EPIC) ร้องเรียนคณะกรรมาธิการการค้าสหรัฐฯว่า ตุ๊กตาดังกล่าวละเมิดความเป็นส่วนตัว ทำการบันทึกการสนทนา และส่งไฟล์เสียงไปยังเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ ที่มา : https://www.blognone.com/node/90211