ปล่อยน้ำเน่า เข้าบ่อปลา
คอลัมน์ ข้าราษฎร โดย สายสะพาย ชาวบ้านใน 3 อำเภอ ในจังหวัดอุบลราชธานีได้รับความเดือดร้อนจากโรงงานผลิตเอทานอล ได้มอบอำนาจให้นายตัวแทนขอข้อมูลข่าวสารจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม รวม 4 รายการ เพื่อนำไปฟ้องร้องดำเนินคดี ได้แก่ 1.รูปแสดงพื้นที่ แผนผังโรงงานของบริษัทอุบลและบริษัทในเครืออีก 2 บริษัท 2.รายงานการศึกษาและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับเดือนกรกฎาคม 2552 3.มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจสอบ รายงานการวิเคราะห์ที่บริษัทต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดที่จัดทำขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 และ 4.ใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน ต่อมากรมโรงงานอุตสาหกรรมมีหนังสือแจ้งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารรายการที่ 4 คือใบอนุญาต แต่ปฏิเสธเปิดเผยรายการที่ 1-3 นายตัวแทนจึงมีหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร นายตัวแทนชี้แจงต่อคณะกรรมการวินิจฉัยฯ ว่ากลุ่มบริษัทนี้ได้ขออนุญาตจัดตั้งโรงงานซึ่งในใบอนุญาตไม่ระบุว่าบ่อบำบัดน้ำเสียอยู่ติดแม่น้ำลำโดมใหญ่ ต่อมาคันดินกั้นบ่อน้ำเสียพัง น้ำเสีย 400,000 ลูกบาศก์เมตรไหลลงแม่น้ำ ปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้มากมายตาย จากนั้นในช่วงเดือนกรกฎาคมทุกปีจะเปิดเขื่อนที่กั้นแม่น้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม ปลาก็จะตายอีกครั้งหนึ่ง ชาวบ้านจึงรวมตัวร้องเรียน ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้กลุ่มบริษัททำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่และได้ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ชาวบ้านทราบว่าก่อนการก่อสร้างโรงงานได้มีรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จัดทำเมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ฉบับหนึ่งแล้วจึงต้องการได้ข้อมูลนี้ เพราะได้แจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทต่อพนักงานสอบสวน และฟ้องกรมควบคุมมลพิษต่อศาลปกครองแล้ว ส่วนผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมชี้แจงว่า ข้อมูลข่าวสาร 3 รายการที่ไม่เปิดเผยนั้น เพราะเป็นเอกสารที่ส่งไปประกอบการพิจารณาและบริษัทไม่ประสงค์ให้เปิดเผย เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ประกอบกับเห็นว่ามีข้อมูลกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีของบริษัทที่เป็นความลับตามมาตรา…