กรณีฐานข้อมูลศูนย์รับบริจาคโลหิตออสเตรเลียรั่วไหล

Loading

1. วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2559 ศูนย์รับบริจาคโลหิตออสเตรเลียได้ออกแถลงการณ์ขอโทษ หลังจากฐานข้อมูลของผู้บริจาคโลหิตจำนวน 550,000 คน ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, วันเดือนปีเกิด, ข้อมูลจากแบบสอบถามก่อนการบริจาคเลือด เช่น กิจกรรมทางเพศที่ผ่านมา ฯลฯ ส่วนหนึ่งมาจากการลงทะเบียนผ่านระบบเครือข่ายข้อมูลออนไลน์ โดยการรั่วไหลดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2553 จนปัจจุบัน เนื่องจากผู้พัฒนาเว็บไซต์ของศูนย์รับบริจาคโลหิตฯ ทำการสำรองฐานข้อมูล (mysqldump) ขนาด 1.74 GB ไว้บนอินเตอร์เน็ต ข้อมูลดังกล่าวถูกพบโดยศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ (AusCERT) ซึ่งในเวลาต่อมาศูนย์รับบริจาคโลหิตฯ จึงได้รายงานเรื่องการละเมิดข้อมูลดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลออสเตรเลีย และติดต่อกับหน่วยงานป้องกันทางไซเบอร์, ศูนย์บัญชาการตำรวจสหพันธรัฐออสเตรเลียเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป ที่มา : http://www.donateblood.com.au/media/news/blood–service–apologises–donor–data–leak ข้อพิจารณา 2. โดยทั่วไปข้อมูลสารสนเทศที่อัพโหลดขึ้นไปบนอินเตอร์เน็ต ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการในการค้นข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งมักใช้โปรแกรมสืบค้นข้อมูลในระบบสารสนเทศ (Search Engine) กรณีที่เกิดขึ้นตามข้อ 1แสดงว่าผู้พัฒนาระบบได้มีการอัพโหลดไฟล์ฐานข้อมูลผู้บริจาคโลหิตไว้นาน ซึ่งนับเป็นความประมาท หากการกระทำในทำนองเดียวกับผู้พัฒนาระบบดังกล่าวและเกิดขึ้นในหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย จนท.ผู้ก่อให้เกิดต้องถูกสอบข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 83…

ผลวิจัยพบ web application กว่า 80% มีช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยตาม OWASP Top 10

Loading

บริษัท Contrast Security รายงานผลการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของ web application โดยอ้างอิงจาก OWASP Top 10 (https://www.owasp.org/index.php/Top_10_2013-Top_10) พบสถิติที่น่าสนใจคือ 80% ของ web application ที่ถูกทดสอบมีช่องโหว่อย่างน้อย 1 จุด โดยเฉลี่ยแล้วพบช่องโหว่ 45 จุดต่อหนึ่ง web application ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจมีดังนี้ 69% มีช่องโหว่ให้ถูกขโมยข้อมูลสำคัญได้ (sensitive data exposure) 55% มีช่องโหว่ cross-site request forgery 41% มีช่องโหว่การยืนยันตัวตนและการจัดการเซสชั่น (broken authentication and session management) 37% มีปัญหาการตั้งค่าความมั่นคงปลอดภัย (security misconfiguration) 33% มีปัญหาการจัดการระดับสิทธิการเข้าใช้งาน (missing function level access control) การพัฒนา…