คดีวอเตอร์เกต

Loading

คดีวอเตอร์เกต (Watergate scandal)  กรณีอื้อฉาวทางการเมืองของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติงานของสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐฯ (FBI) และการติดตามรายงานข่าวสารของหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันโพสต์ สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์จับกุมชายห้าคนที่ลักลอบโจรกรรมข้อมูลจากที่ทำการสำนักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต ในอาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อ17 มิถุนายน 2515 คณะทำงานของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน พยายามปกปิดหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุโจรกรรมดังกล่าว การในคดีลักลอบโจรกรรมใหญ่พรรคเดโมแครตที่อาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์FBIเข้ามาทำการสืบสวนจนเชื่อมโยงเส้นทางการเงินของคนร้ายทั้งห้าคนจนพบข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มระดมทุนสนับสนุนประธานาธิบดีนิกสันในการลงแข่งขันเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2  โดยหลักฐานทั้งหมดบ่งชี้ไปยังคณะทำงานของประธานาธิบดีนิกสันทำการทุจริต  จากการสืบสวนจนถึงเดือนกรกฎาคม 2516 คณะทำงานสืบสวนคดีวอเตอร์เกตซึ่งแต่งตั้งโดยวุฒิสภา รายงานว่าภายในห้องทำงานของประธานาธิบดีนิกสันมีระบบบันทึกเสียง ซึ่งบันทึกการสนทนาต่างๆ เป็นจำนวนมากใจความจากเทปบันทึกเสียงนี้ชี้ให้เห็นว่าประธานาธิบดีนิกสันเคยพยายามปกปิดการมีส่วนรู้เห็นต่อการโจรกรรมข้อมูลของพรรคเดโมแครต ศาลฎีกาสูงสุดแห่งสหรัฐฯ จึงมีคำสั่งให้ประธานาธิบดีนิกสันส่งมอบเทปบันทึกเสียงทั้งหมดแก่พนักงานสืบสวน ประธานาธิบดีนิกสันจึงต้องยอมส่งมอบเทป  จากการสืบสวนและพิจารณาในชั้นศาลส่งผลให้ประธานาธิบดีนิกสัน ต้องลาออกจากตำแหน่ง เมื่อ 9 สิงหาคม 2517 นับเป็นการลาออกจากตำแหน่งครั้งแรกของประธานาธิบดีในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ จากเหตุการณ์นี้ยังนำไปสู่การฟ้องร้องการไต่สวนการลงโทษ และการจำคุกบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 43 คน รวมไปถึงคณะทำงานระดับสูงของรัฐบาลนิกสันด้วย นอกจากการสืบสวนของ FBI  และการสอบสวนของคณะทำงานสืบสวนคดีวอเตอร์เกตแล้ว  การติดตามรายงานข่าวสารคดีนี้โดยตลอด ของ เดอะวอชิงตันโพสต์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ชื่อดังของสหรัฐฯ  ทำให้ FBI จำเป็นต้องทำการสืบสวนพร้อมกับผลักดันให้หน่วยงานพ้นจากอำนาจของประธานาธิบดีนิกสัน ประธานาธิบดีนิกสันขณะเดินทางออกจากทำเนียบขาว ก่อนการลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีมีผลบังคับใช้เมื่อ 9 สิงหาคม 2517