การขนย้ายลูกระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หนัก 250 กิโลกรัม พบขณะทำการขุดพื้นที่เพื่อเตรียมสร้างสถานีแก๊ซ ทางเหนือของเมืองเธสสาโลนิกี (Thessaloniki) ของกรีซ เมื่อ 12 ก.พ.60: สำนักข่าว VOA
การขนย้ายตามภาพเป็นการนำขึ้นวางในท้ายรถบรรทุกทหาร ซึ่งใส่ทรายและมีถุงทรายวางอัดล้อมรอบลูกระเบิด เพื่อลดแรงสั่นและกระแทกให้กับลูกระเบิด และในกรณีที่เกิดการระเบิดขึ้น ทรายเป็นเครื่องกำบังที่ช่วยให้แรงระเบิดพุ่งขึ้นด้านบนทั้งช่วยปะทะและลดแรงระเบิดที่แผ่ออกโดยรอบไปพร้อมด้วย
วัตถุระเบิด (Explosives) ตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก
หมายถึง ของแข็ง ของเหลวหรือสารผสม ที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวเอง ทําให้เกิดก๊าซที่มีความดัน และความร้อนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายบริเวณโดยรอบได้ และให้รวมถึงสารที่ใช้ทําดอกไม้เพลิงและสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย แยกเป็น 6 ประเภทย่อย คือ
1. สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดรุนแรงทันทีทันใดทั้งหมด (mass explosive)
2. สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจายแต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด
3.สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ และอาจมีอันตรายบ้างจากการระเบิดหรือการระเบิดแตกกระจายแต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด
4. สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัดหากเกิดการประทุหรือประทุในระหว่างการขนส่งจะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ
5. สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด
6. สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมาก และไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจํากัดเฉพาะในตัวสิ่งของนั้นๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการประทุหรือแผ่กระจายในระหว่างทําการขนส่ง
———————————————————–