จากภาพที่สื่อมวลชนนำเสนอแสดงให้เห็นถึงการประสานการดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัยระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานจากส่วนกลางทันทีภายหลังเกิดเหตุ
๑. กรณีชายคนร้ายใช้ขวานทำร้ายประชาชนที่เข้ามาใช้บริการในสถานีรถไฟ เมืองดึสเซลดอร์ฟ เมื่อ ๙มีนาคม ๒๕๖๐
- ๑.๑ เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่พยาบาลพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์เผชิญเหตุเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุ และทำการปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บในที่เกิดเหตุ
ภาพจากTheNewshunter.com
ภาพจาก GETTY IMAGES
- ๑.๒ กำหนดพื้นที่ควบคุมและปิดกั้นเส้นทางเข้า-ออกด้านหน้าอาคารสถานีรถไฟด้วยเส้นแถบ พร้อมกับวางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและอาวุธประจำตัว เพื่อควบคุมประชาชนและดูแลความปลอดภัย พื้นที่ภายนอกสถานีรถไฟ
ภาพจากAP
- ๑.๓ ปิดกั้นและห้ามการสัญจรผ่านถนน และควบคุมเส้นทางเดินรถไฟทั้งส่วนบนดินและส่วนใต้ดินโดยรอบสถานีรถไฟ
ภาพจาก GETTY IMAGES
- ๑.๔ การปิดกั้นพื้นที่ภายในอาคารสถานีรถไฟ และวางกำลังตำรวจรักษาความปลอดภัย พร้อมอาวุธ เป็นที่น่าสังเกตว่า กำลังตำรวจและหน่วยงานต่อต้านการก่อการร้าย ในพื้นที่อาคารจะกลุ่มปฏิบัติงานประมาณ ๔-๕ นายต่อกลุ่ม
ภาพจาก AFP
ภาพจาก GETTY IMAGES
- ๑.๕ ข้อสังเกตจากภาพ
กรณีที่เกิดเหตุทำร้ายประชาชน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เกิดเหตุน่าจะแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
๑.๕.๑ ตำรวจชาย-หญิง สวมเครื่องแบบและเสื้อแจ็กเก็ตด้านหลังเป็นคำว่า “POLIZEI” มีอาวุธประเภทปืนสั้น ประจำการอยู่ทั้งด้าน นอกและในอาคารสถานีรถไฟ
ภาพจาก The Telegraph
๑.๕.๒ ตำรวจหน่วยคอมมานโด ที่ปรากฎภาพเป็นชายสวมเครื่องแบบและเสื้อเกราะด้านหลังเป็นคำว่า “POLIZEI” มีประเภทอาวุธ ได้แก่ ปืนสั้นและปืนกลเบา ประจำการอยู่ทั้งด้านนอกอาคารสถานีรถไฟ
ภาพจาก GETTY IMAGES
๑.๕.๓ ตำรวจหน่วยพิเศษต่อต้านการก่อการร้าย เป็นชายแต่งตัวลำลอง สวมเสื้อเกราะ เขียนคำว่า “POLIZEI” ที่หน้าอกปกปิดใบหน้าและสวมหมวกกันกระแทกและแก๊ซ เจ้าหน้าที่บางนายจะสวมปลอกสีส้มที่แขนซ้าย เขียนคำว่า “POLIZEI” มีอาวุธพร้อมใช้งาน ประเภทปืนสั้นปืนกลเบา และอุปกรณ์ต่อต้านการก่อการร้ายคาดว่า เข้าทำหน้าที่ตรวจค้นภายในอาคารสถานีรถไฟ เนื่องจากภาพที่ปรากฎแสดงการเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้ในท่าเตรียมพร้อมทำการต่อสู้
ภาพจาก CNN
ภาพจาก GETTY IMAGES
- ๑.๖ จากการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนทั้งภายในและภายนอกเยอรมันหรือจากระบบสารสนเทศอื่นไม่ปรากฎภาพจากระบบกล้องโทรทัศน์วงจร ทำให้พิจารณาได้ว่า ทางการเยอรมันควบคุมการกระจายข่าวสารผ่านระบบสารสนเทศอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ