มาตรการรักษาความปลอดภัยที่ปรากฏในช่วงเดือนมีนาคม ๒๕๖๐ ภายหลังได้รับการเตือนว่ากลุ่มก่อการร้ายจะทำการโจมตีศูนย์การค้าในเขตตะวันตกของเยอรมัน

Loading

จากภาพที่สื่อมวลชนนำเสนอแสดงให้เห็นถึงการประสานการดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัยระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานจากส่วนกลางทันทีภายหลังเกิดเหตุ ๑.  กรณีชายคนร้ายใช้ขวานทำร้ายประชาชนที่เข้ามาใช้บริการในสถานีรถไฟ เมืองดึสเซลดอร์ฟ เมื่อ ๙มีนาคม ๒๕๖๐ ๑.๑ เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่พยาบาลพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์เผชิญเหตุเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุ และทำการปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บในที่เกิดเหตุ ภาพจากTheNewshunter.com ภาพจาก GETTY IMAGES ๑.๒ กำหนดพื้นที่ควบคุมและปิดกั้นเส้นทางเข้า-ออกด้านหน้าอาคารสถานีรถไฟด้วยเส้นแถบ พร้อมกับวางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและอาวุธประจำตัว เพื่อควบคุมประชาชนและดูแลความปลอดภัย พื้นที่ภายนอกสถานีรถไฟ ภาพจากAP  ๑.๓ ปิดกั้นและห้ามการสัญจรผ่านถนน และควบคุมเส้นทางเดินรถไฟทั้งส่วนบนดินและส่วนใต้ดินโดยรอบสถานีรถไฟ ภาพจาก GETTY IMAGES ๑.๔ การปิดกั้นพื้นที่ภายในอาคารสถานีรถไฟ และวางกำลังตำรวจรักษาความปลอดภัย พร้อมอาวุธ  เป็นที่น่าสังเกตว่า กำลังตำรวจและหน่วยงานต่อต้านการก่อการร้าย ในพื้นที่อาคารจะกลุ่มปฏิบัติงานประมาณ ๔-๕ นายต่อกลุ่ม ภาพจาก AFP ภาพจาก GETTY IMAGES  ๑.๕ ข้อสังเกตจากภาพ กรณีที่เกิดเหตุทำร้ายประชาชน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เกิดเหตุน่าจะแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ๑.๕.๑ ตำรวจชาย-หญิง สวมเครื่องแบบและเสื้อแจ็กเก็ตด้านหลังเป็นคำว่า “POLIZEI”  มีอาวุธประเภทปืนสั้น ประจำการอยู่ทั้งด้าน นอกและในอาคารสถานีรถไฟ ภาพจาก The…

กรณีโทรสารหลุดทางโซเชียล

Loading

เมื่อเดือน ก.พ.60 ปรากฏมีการนำโทรสารของทางราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกมาเผยแพร่ตามสื่อสังคมออนไลน์หลายฉบับ เนื้อหาภายในเป็นการจัดเตรียมกำลังพล กองร้อยควบคุมฝูงชนพร้อมอุปกรณ์เตรียมความพร้อมในที่ตั้ง เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือการปฏิบัติบังคับใช้กฎหมายภายในเขตพื้นที่ควบคุมบริเวณพื้นที่ วัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี (ตามตัวอย่าง) โดยผู้เผยแพร่เจตนาให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า รัฐบาลกำลังเป็นฝ่ายที่ทำให้เกิดสถานการณ์รุนแรง หากประชาชนต้องการให้เกิดความสงบเรียบร้อยควรเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการใช้มาตรา 44 และนำกำลังออกจากพื้นที่ของวัดพระธรรมกายโดยเร็ว ซึ่งในความเป็นจริงเอกสารดังกล่าวเป็นการจัดเตรียมกำลังพลเพื่อรองรับหากมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น หรือบางฉบับเป็นการจัดกำลังพลเพื่อสับเปลี่ยนให้เจ้าหน้าที่ได้กลับไปปฏิบัติงานประจำของตนเท่านั้น ปัจจุบันการนำข้อมูลของภาครัฐมาเปิดเผยบนโซเชียลมีเดียถูกกระทำอย่างกว้างขวาง โดยบิดเบือนเนื้อหาบางประเด็นให้ผู้พบเห็นเกิดการเข้าใจผิด ลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาล สร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายตนหากมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ดังนั้น การรับ-ส่งข้อมูลสำคัญ ๆ ไม่ควรใช้ช่องทางผ่านระบบออนไลน์ หากมีความจำเป็นต้องใช้ช่องทางดังกล่าว ควรมีมาตรการรองรับ เช่น เปลี่ยนไปใช้แอพพลิเคชั่น จีแชท (G-Chat) ซึ่งเป็นช่องทางของรัฐ รวมถึงการรับ-ส่งข้อมูลผ่านระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  (E-mail) ควรกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ใช้ mail go thai ซึ่งเป็น E-mail ภาครัฐ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรจัดเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยงานทำหน้าที่ชี้แจงกับประชาชนทันทีที่เกิดเหตุการณ์ละเมิดต่อเอกสารของหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และไม่ถูกนำไปแสวงประโยชน์จนทำให้สถานการณ์ถูกขยายออกไปเป็นวงกว้าง