Thanks FBI จากใจ Apple เมื่อคำสั่งศาลทำให้แบรนด์ Stronger!!

Loading

ประเด็นที่ แอปเปิล อิงค์ (Apple Inc.) ไม่ยอมปลดล็อคไอเมสเสจของผู้ก่อการร้าย กลายเป็นประเด็นสุดร้อนแรงเหลือเกินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา งานนี้มีทั้งผู้สนับสนุนแอปเปิล แต่ก็มีคนที่ไม่เห็นด้วยอยู่ไม่น้อย บางโพลล์ที่ทำออกมามากกว่าที่เข้าข้างแอปเปิลเสียด้วยซ้ำ แน่นอนหนึ่งในนั้นคือฝ่ายบังคับคดี FBI และที่ขอมีเอี่ยวอีกคนก็โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ผู้สมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่เลือกใช้กระแสนี้มาเป็นกลยุทธ์เลือกคะแนนเสียงให้ตัวเองอย่างเข้ากับสถานการณ์ แต่ไม่ว่าเรื่องนี้จะลงเอยอย่างไร สิ่งหนึ่งที่แอปเปิลต้องตระหนักไปนาน คือการขอบคุณ FBI จากใจ ที่ทำให้ระบบปฏิบัติการของไอโฟนยิ่งเป็นที่รู้จัก และแบรนด์ก็สตรองขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะได้ใจทั้งสาวกเดิมและสร้างสาวกใหม่ได้อีกมากมาย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2016 ที่ผ่านมา ศาลแขวงสหรัฐฯ ออกคำสั่งให้แอปเปิลปลดล็อค iPhone 5c ของ ซาเย็ด ฟารุก ผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์กราดยิง 14 ศพ ที่ศูนย์ดูแลผู้มีความผิดปกติด้านการพัฒนาการ ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อ 2 ธันวาคม 2015 ซึ่ง FBI ยึดโทรศัพท์ของคนร้ายเป็นของกลางเพื่อค้นหาหลักฐานและสืบสวนเชิงลึกต่อไป แต่งานนี้ไม่ได้ง่ายเหมือนที่คิด เพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถแฮกข้อมูลที่เก็บไว้ในเครื่องได้ จนต้องมีคำสั่งศาลข้างต้นออกมาแต่ก็ไม่ได้กำหนดบทลงโทษหากไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งศาล ซึ่งไม่มีใครสนใจรายละเอียดของคำสั่งมากไปกว่าการที่แอปเปิลออกแถลงการณ์ปฏิเสธไม่ให้ความร่วมมือทันทีที่มีคำสั่งศาล มิหนำซ้ำ ทิม…

Botnet of Things – ภัยคุกคามจาก Internet of Things และแนวทางการรับมือ

Loading

ภาพรวม ปัจจุบันการใช้งานอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things หรือ IoT) เช่น กล้องวงจรปิด สมาร์ตทีวี หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกติดตั้งหรือไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ดีพอ ทำให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถเจาะระบบเพื่อควบคุมอุปกรณ์ดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีได้ อุปสรรคต่อมาคือในหลายกรณีผู้ใช้งานไม่สามารถที่จะป้องกันหรือดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้ เพราะตัวอุปกรณ์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับการปรับปรุงด้านความมั่นคงปลอดภัยตั้งแต่แรก ก่อนหน้านี้ ความเสี่ยงของการใช้งานอุปกรณ์ IoT มักถูกพูดถึงเฉพาะในแง่ของการสูญเสียความเป็นส่วนตัว เช่น การเจาะระบบกล้องวงจรปิดเพื่อใช้สอดแนม แต่ปัจจุบันเนื่องจากการมีการใช้งานอุปกรณ์ IoT ในรูปแบบอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้มีความเสี่ยงในด้านอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เช่น การเจาะระบบอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อขโมยข้อมูลด้านสุขภาพ หรือเปลี่ยนแปลงการทำงานของอุปกรณ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการรักษาพยาบาลหรือกรณีร้ายแรงที่สุดอาจส่งผลต่อชีวิตของผู้ป่วยได้ [1] ปัจจุบันหนึ่งในปัญหาใหญ่ของการใช้งานอุปกรณ์ IoT คือการเจาะระบบเพื่อควบคุมอุปกรณ์ดังกล่าวมาใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์ ที่ผ่านมา อุปกรณ์ IoT เคยถูกควบคุมเพื่อใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์อยู่หลายครั้ง สาเหตุหลักเกิดจากอุปกรณ์จำนวนมากถูกติดตั้งโดยใช้รหัสผ่านที่มาจากโรงงาน ทำให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถล็อกอินเข้าไปติดตั้งมัลแวร์ในอุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อควบคุมมาใช้ในการโจมตีได้ หนึ่งในเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นคือมีการใช้มัลแวร์ชื่อ Mirai ควบคุมอุปกรณ์ IoT ไปโจมตีแบบ DDoS ความรุนแรงสูงถึง 1.1 Tbps (เทระบิตต่อวินาที) บริษัท Gartner…