เทคโนโลยี: กลุ่ม “จี-7” จับมือต่อต้านการแพร่ระบาดของมัลแวร์เรียกค่าไถ่แบบ “WannaCry”

Loading

  กลุ่ม “จี-7” จับมือต่อต้านการแพร่ระบาดของมัลแวร์เรียกค่าไถ่แบบ “WannaCry” รัฐมนตรีการคลังของประเทศกลุ่ม G-7 ซึ่งร่วมประชุมอยู่ที่เมือง Bari ของอิตาลี ได้สัญญาว่าจะร่วมมือกันต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ส และไม่ใช้นโยบายแทรกแซงค่าเงินเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า แถลงการณ์ของที่ประชุมผู้นำการเงินของกลุ่ม G-7 ระบุว่าควรใช้นโยบายทางการคลังเข้าช่วยในการสร้างงาน ร่วมไปกับการรักษาระดับหนี้ภาครัฐไม่ให้สูงเกินไป ขณะเดียวกันก็ใช้นโยบายทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยระวังไม่ให้เกิดเงินเฟ้อ การประชุมของ 7 ประเทศผู้นำเศรษฐกิจโลก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และเยอรมนี มีขึ้นขณะที่เกิดแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Ransomware เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ไวรัสดังกล่าวซึ่งมีชื่อว่า WannaCry จะเรียกค่าไถ่จากคอมพิวเตอร์ที่ถูกไวรัสนี้เล่นงานจนใช้การไม่ได้ โดยคาดว่ามีจำนวนหลายแสนเครื่องในเกือบ 100 ประเทศ ขณะเดียวกัน บริษัท Saudi Telecom Co. ของซาอุดิอาระเบีย ปฏิเสธรายงานที่ว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทถูกไวรัสเรียกค่าไถ่ WannaCry เล่นงาน หลังจากมีรูปภาพคอมพิวเตอร์ของบริษัทพร้อมข้อความเรียกค่าไถ่ ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์ แถลงการณ์ของ Saudi Telecom Co ระบุว่า รูปที่เห็นทางอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นรูปคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของพนักงานคนหนึ่งในบริษัท…

ระวังภัย มัลแวร์เรียกค่าไถ่ WannaCry แพร่กระจายผ่านช่องโหว่ของวินโดวส์ รีบอัปเดตทันที

Loading

วันที่ประกาศ: 13 พฤษภาคม 2560 ปรับปรุงล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2560 เรื่อง: ระวังภัย มัลแวร์เรียกค่าไถ่ WannaCry แพร่กระจายผ่านช่องโหว่ของวินโดวส์ รีบอัปเดตทันที ประเภทภัยคุกคาม: Intrusion สถานการณ์การโจมตี เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2560 บริษัท Avast ได้รายงานการแพร่ระบาดของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ชื่อ WannaCry [1] โดยมัลแวร์ดังกล่าวมีจุดประสงค์หลักเพื่อเข้ารหัสลับข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกค่าไถ่ หากไม่จ่ายเงินตามที่เรียกจะไม่สามารถเปิดไฟล์ได้ สิ่งที่น่ากังวลเป็นพิเศษสําหรับมัลแวร์นี้คือความสามารถในการกระจายตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติ ผ่านช่องโหว่ระบบ SMB (Server Message Block) ของวินโดวส์ ผู้ใช้งานที่ไม่อัปเดตระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีความเสี่ยงที่จะติดมัลแวร์นี้ ช่องโหว่ที่ถูกใช้ในการแพร่กระจายมัลแวร์เป็นช่องโหว่ที่ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2560 [2] และถึงแม้ทาง Microsoft จะเผยแพร่อัปเดตแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าวไปตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2560 แล้ว [3] แต่ก็ยังพบว่าปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ยังไม่ได้อัปเดตแพตช์ดังกล่าวและถูกโจมตีจากมัลแวร์นี้มากกว่า 500,000 เครื่อง ใน 99 ประเทศ…