5 แนวทาง ออกแบบระบบ Backup สำหรับองค์กรอย่างไร ให้ปลอดภัยจาก Ransomware
จากข่าว WannaCry Ransomware ที่แพร่ระบาดอย่างรุนแรงจนได้รับความสนใจจากสังคมเป็นอย่างมากนี้ คำแนะนำหนึ่งที่ได้ผลที่สุดก็คือการ Backup หรือสำรองข้อมูลเอาไว้ภายนอก เพื่อถึงแม้ Ransomware ตระกูลใดๆ จะมาเข้ารหัสไฟล์ของเราจนใช้งานไม่ได้ก็ตาม แต่เราก็ยังจะได้สามารถกู้คืนข้อมูลทั้งหมดกลับมาได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าไถ่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า “ไม่ใช่ทุกระบบ Backup ที่จะสามารถปกป้องคุณจาก Ransomware ได้” ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันเรื่องการออกแบบระบบ Backup ให้ตอบโจทย์การรับมือกับ Ransomware โดยเฉพาะ “การป้องกันดีกว่าการแก้ไข” ถึงแม้ว่าองค์กรหลายแห่งจะมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการนำเอาระบบและกระบวนการรักษาความปลอดภัยที่ดีที่สุดมาติดตั้งแล้วก็ตาม มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) ก็ยังคงเป็นปัญหาที่ลุกลาม และแพร่ ระบาดมากขึ้นอยู่ดี ดังที่ปรากฏเป็นข่าวที่ผ่านมา ค่าไถ่ข้อมูลเฉลี่ยที่เรียกร้องอยู่ตอนนี้อยู่ที่ 679 เหรียญสหรัฐต่อผู้ใช้งานที่ตกเป็นเหยื่อแต่ละคน โดยเกือบครึ่งหนึ่งของการโจมตีมีผลต่อผู้ใช้มากกว่า 20 รายต่อหนึ่งองค์กร โดยเอฟบีไอยังมีรายงานว่า มูลค่าของค่าไถ่นี้อาจสูงถึง 5,000 เหรียญสหรัฐ ต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแต่ละคน ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเพื่อเรียกคืนข้อมูลกลับมาจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถึงแม้ว่าเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจะได้มีการจ่ายค่าไถ่เพื่อกู้คืนข้อมูลของพวกเขา ปัญหาก็อาจยังไม่ถูกแก้ไข เนื่องจากมีการสำรวจพบว่า 19% ของบรรดาผู้ที่จ่ายค่าไถ่เพื่อกู้คืนข้อมูลนั้น ยังคงไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือเรียกข้อมูลของพวกเขากลับคืนมาได้ และมีการสนับสนุนเพียงเล็กน้อยจากเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น อย่างที่เกริ่นไว้ในตอนต้น แนวทางในการปฏิบัติด้านการสำรองข้อมูล จึงเป็นการลดความเสี่ยง ที่สามารถทำให้ความเสี่ยงเหล่านี้เป็นเรื่องง่ายสำหรับองค์กรได้ดังต่อไปนี้ 1. Backup ข้อมูลไปยัง Storage ภายนอก ที่เครื่องแม่ข่ายหรือลูกข่ายไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เองโดยตรงแบบ Volume หรือ Folder การสำรองข้อมูลไปยัง Volume ที่ทำการ Mount จาก NAS หรือ…