บีบีซีได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญการก่อการร้ายและปฏิบัติการของพวกหัวรุนแรงนอกองค์กรรวบรวมและวิเคราะห์เหตุการณ์โจมตีที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตกเพื่อให้เห็นว่ารูปแบบของปฏิบัติการเหล่านี้เป็นอย่างไร
ดร.ลอเรนโซ วิดิโน ผู้อำนวยการโครงการศึกษากลุ่มที่มีแนวความคิดสุดโต่งของมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลของบีบีซีชี้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในโลกตะวันตกจากน้ำมือของนักรบจิฮัดในช่วงสามปีที่ผ่านมามีจำนวนรวมกันถึง 420 คนแล้ว
- เปิดใจภรรยานักรบไอเอส
- นักข่าวบีบีซีบุกแนวรบใน ‘เมืองหลวงไอเอส’
- เปิดใจหนุ่มเยอรมันกลับใจ หลังผิดหวังไอเอส
แม้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเงื้อมมือพวกหัวรุนแรงในซีกโลกอื่นจะรุนแรงกว่ามากนัก สองสามเดือนที่ผ่านมาในช่วงหลังการโจมตีเริ่มถี่ขึ้นมาก
ต่อไปนี้เป็นการจำแนกข้อมูลคร่าว ๆ ของรูปแบบการโจมตี ซึ่งมีทั้งสถานที่ อายุของผู้ปฏิบัติการ สถานะคนเข้าเมือง และความเกี่ยวเนื่องกับองค์กร เช่น กลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลาม (ไอเอส)
การโจมตีมักจะเกิดขึ้นที่ใด
การโจมตีเกิดขึ้น 63 ครั้งในช่วงตั้งแต่เดือนก.ย.ปี 2014 (หลังคำประกาศแนวทางการต่อสู้ของ “กาหลิบ” โดยไอเอส) มาถึงจนปลายเดือนส.ค. 2017 ประเทศถูกที่โจมตีก็คือยุโรปเก้าประเทศ ประกอบด้วยสหรัฐและแคนาดา
เป้าหมายคือเมืองใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นนครบาร์เซโลนาของสเปน, กรุงลอนดอนและเมืองแมนเชสเตอร์ของอังกฤษ, กรุงปารีสและเมืองนีซของฝรั่งเศส กรุงเบอร์ลินของเยอรมนี กรุงบรัสเซลล์ของเบลเยียม กรุงสตอกโฮล์มของสวีเดน และเมืองออร์แลนโดของสหรัฐฯ
การโจมตีเกิดขึ้น 63 ครั้ง ทำให้คน 424 คนเสียชีวิตและทำให้คนมากกว่า 1,800 คนได้รับบาดเจ็บ โดยไม่นับรวมผู้ที่ก่อการที่มักเสียชีวิตในขณะที่โจมตีด้วย การโจมตีในกรุงปารีสเมื่อเดือนพ.ย. 2015 เป็นครั้งร้ายแรงที่สุด มีผู้เสียชีวิตถึง 130 คน รองลงมาก็คือการโจมตีด้วยรถบรรทุกที่เมืองนีซ ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสที่คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 86 ราย
ผู้ที่ปฏิบัติการโจมตี
ผู้ปฏิบัติการมีจำนวนทั้งหมดมี 85 เป็นผู้หญิงสองคน และแม้ว่าจะมีความกังวลว่าคนอายุน้อยที่มีความคิดรุนแรงน่าจะเป็นผู้ลงมือมากที่สุด แต่อายุเฉลี่ยของผู้ลงมือเท่ากับ 27.5 ปี
ผู้ลงมือที่อายุน้อยสุดมีสองคนคือเด็กชายวัย 15 ปีซึ่งทำร้ายครูชาวยิวด้วยมีดขนาดใหญ่ และเด็กหญิงซาเฟีย เอสในวัยสิบห้าเท่ากันผู้แทงเจ้าหน้าที่ตำรวจในสถานีรถไฟของเมืองแฮนโนเวอร์ ประเทศแคนาดา ส่วนผู้ที่อายุมากที่สุดคือ 54 ปี
สถานะผู้อพยพ
สิ่งที่ก่อให้เกิดการถกเถียงกันมากในยุโรปและสหรัฐฯ ก็คือการรับผู้อพยพจากประเทศมุสลิมเข้ามาจะทำเข้าพวกที่ปฏิบัติการเพิ่มขึ้นหรือไม่ จนทำให้มีคนลุกมาเรียกร้องว่าให้กำจัดการเข้าเมืองของคนเหล่านี้
แต่จากการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นพบว่าถึง 2 ใน 3 ของผู้ปฏิบัติการเป็นพลเมืองของประเทศที่ตนเองโจมตี และที่เหลือเป็นผู้อยู่อาศัยโดยถูกกฎหมายหรือเข้ามาเยี่ยมเยือนโดยถูกกฎหมาย มีน้อยมากที่เป็นผู้อพยพเข้ามาไม่นาน
สายสัมพันธ์กับกลุ่มไอเอส
สองในสี่ของการโจมตีที่ก่อความเสียหายมากที่สุดก็คือ ที่กรุงปารีสในเดือนพ.ย. 2015 และกรุงบรัสเซลล์ในปี 2016 เชื่อว่าบงการโดยกลุ่มไอเอส และเชื่อว่ามีกลุ่มติดอาวุธต่างชาติเข้าร่วมด้วยเป็นบางส่วน แต่การโจมตีอีกสองครั้งคือที่เมืองออร์แลนโดของสหรัฐฯ ในเดือนมิ.ย. และที่เมืองนีซของฝรั่งเศสในเดือนก.ค.ปีที่แล้ว เกิดขึ้นจากน้ำมือของบุคคลที่ไม่มีสายสัมพันธ์กับกลุ่มหัวรุนแรงเลย ซึ่งบ่งชี้ว่าแม้คนที่ดูว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่เคยเดินทางไปในพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้ง หากแต่เป็นพวกที่เห็นใจกลุ่มหัวรุนแรงก็สามารถกลายเป็นบุคคลอันตรายได้เช่นกัน
บทสรุปของการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ก็คือกระแสการโจมตียังไม่มีท่าทีว่าจะคลี่คลายลงไปง่าย ๆ และต้องส่งผลต่อนโยบายรักษาความปลอดภัยในประเทศ รวมทั้งนโยบายต่างประเทศในโลกตะวันตกอย่างแน่นอน
ทั้งรัฐบาล นักวิชาการและอีกหลายฝ่ายก็หวังว่าการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของการโจมตีเช่นนี้จะทำให้สามารถเตรียมตัวรับมือได้ดีขึ้นกว่าเดิม ลดจำนวนการปฏิบัติการ ลดการเสียชีวิตและความเสียหายลงได้ในอนาคต
ที่มา : BBC Thai
ลิงค์ : http://www.bbc.com/thai/international-41095035?ocid=wsthai.chat-apps.in-app-msg.line.trial.link1_.auin