เนเธอร์แลนด์ผุด “แผงกั้นน้ำท่วมอัจฉริยะ” ใช้งานได้ ไม่ทำลายทัศนียภาพ

Loading

แผงกั้นน้ำท่วมยาวที่สุดในโลก สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และไม่สามารถสร้างเขื่อนแบบดั้งเดิมได้ สำนักข่าวซินหัวรายงาน เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่ผ่านมา ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้สร้างแผงกั้นน้ำท่วมปิดอัตโนมัติความยาวกว่า 300 เมตร บริเวณท่าเรือประมง Spakenburg นับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ล่าสุดที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยภายในประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะแลแห่งนี้ อีกทั้งยังถือว่าเป็นแผงกั้นน้ำท่วมที่ยาวที่สุดในโลกอีกด้วย ตามรายงานระบุ แผงกั้นน้ำท่วมดังกล่าวมีความสูงประมาณ 80 เซนติเมตร และหากไม่ต้องการใช้งาน แผงกั้นจะถูกเก็บลงไปในระดับเดียวกับทางเท้า โดยมีเพียงชิ้นส่วนด้านบนที่เป็นเหล็กเท่านั้นที่โผล่ออกมาบริเวณรอบท่าเรือให้สามารถมองเห็นได้ ทำให้การสร้างแผงกั้นน้ำท่วมนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเดิมของท่าเรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังใช้พื้นที่น้อยมาก และไม่ทำลายสภาพแวดล้อมของอดีตหมู่บ้านชาวประมงแห่งนี้ ซึ่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชือเสียงในปัจจุบันอีกด้วย โดยแผงกั้นน้ำท่วมนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อเกิดน้ำท่วมสูง จนกระแสน้ำไหลเข้ามาเป็นแรงดันให้แผงกั้นน้ำท่วมขึ้นมาจากทางเท้าโดยอัตโนมัติ จากนั้น “กระเป๋า” จากแผ่นโลหะเคฟลาร์น้ำหนักเบาที่อยู่ใต้แผงกั้นจะทำหน้าที่เป็นถังกักเก็บน้ำเอาไว้เป็นเวลา 20 นาที นาย Roeland Hillen ผู้อำนวยการโครงการป้องกันน้ำท่วมดัตช์ได้กล่าวว่า การสร้างแผงกั้นน้ำท่วมนี้เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อปกป้องพื้นที่เปราะบางแห่งนี้ โดยเฉพาะในเขตเมืองที่ไม่สามารถสร้างเขื่อนแบบดั้งเดิมขึ้นได้ อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างแผงกั้นน้ำท่วมแห่งนี้มีมูลค่าสูงถึง 7 ล้านยูโร หรือประมาณ 269 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าการสร้างเขื่อนแบบดั้งเดิมถึง 3 เท่า แต่นับว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่า ทั้งประโยชน์ในการใช้งานและไม่ทำลายสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม ที่มา: XinhuaNewsAgency ——————————————————- From : โพสต์ทูเดย์…

เปิดตัวนิทรรศการ “ผู้บุกรุกบนโลกไซเบอร์” ในอังกฤษ

Loading

ที่ผ่านมาเราอาจเคยได้ยินเรื่องการโจรกรรมข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ตมามากมาย และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดนิทรรศการในกรุงลอนดอน ได้รวบรวมเทคโนโลยีที่สามารถรุกล้ำความเป็นส่วนตัวได้โดยที่พวกเราคาดไม่ถึง บนโลกอินเตอร์เน็ต ที่เราค้นหาข้อมูล หรือดาวน์โหลดภาพ เสียง วิดีโอ โปรแกรมต่างๆมาใช้งานได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายนั้น เราอาจต้องแลกด้วยข้อมูลส่วนตัวของเราโดยไม่รู้ตัว และเลวร้ายกว่านั้น บนโลกที่ทุกอย่างไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ณ วันนี้เราอาจกลายเป็นสินค้าฟรีบนโลกออนไลน์ไปเสียเองก็ได้ ซึ่งนิทรรศการ The Glass Room ที่กรุงลอนดอน ของอังกฤษ เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่รวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้คนทั่วโลก เพื่อบอกว่าบนโลกออนไลน์ ไม่มีอะไรที่เป็นส่วนตัวอีกต่อไป นิทรรศการเลือกจัดสถานที่ให้เหมือนกับร้านค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีทั้งคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต สมาร์ทโฟนจำนวนมาก จัดวางทั่วนิทรรศการ ทว่าไม่มีสินค้าใดวางขายจริงๆ Stephanie Hankey จาก Tactical Tech อธิบายว่า The Glass Room อาจเหมือนร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่เราจัดวางทุกอย่างให้เหมือน พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่คอยให้ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่คุณใส่ลงไปบนโลกออนไลน์ Frederike Kaltheunder จาก Privacy International บอกว่า เราอาจจะคิดว่าเราสามารถไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลส่วนตัวกับองค์กร หรือในที่ทำงาน แต่แท้ที่จริงแล้วเรากำลังถูกล้อมรอบด้วยระบบตรวจจับข้อมูลที่พยายามเก็บข้อมูลส่วนตัวของเรามากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ที่สามารถระบุอารมณ์และเพศของใบหน้าที่ฉายบนจอคอมพิวเตอร์ ก่อนจะทำการประมวลผลว่า ตรงกับภาพของบุคคลใดที่มีคลังภาพมหาศาลอยู่ในอินเตอร์เน็ต หรือจะเป็นหนังสือเล่มหนา…

ข้อพิจารณาเปรียบเทียบการใช้ระบบสารสนเทศของทรัมป์ กับกฎหมายการกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ของไทย

Loading

ขอนำข้อความจากการทวีตของนายทรัมป์ แสดงถึงการดูหมิ่น นายโจสการ์ โบโรห์ และนางมิก้า เบรสซินสกี้ พิธีกรรายการข่าวเช้า Morning Joe ทางสถานี MSNBC เมื่อ 30 มิ.ย.60 มาเป็นกรณีตัวอย่างสำหรับพิจารณาเปรียบเทียบความผิดเกี่ยวกับกฎหมายกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย และข้อขัดแย้งระหว่างกฎหมายอื่นๆ ดังนี้ การโพสต์แสดงความคิดเห็นและพาดพิงบุคคลอื่นบนระบบออนไลน์ ในลักษณะดูหมิ่นเจาะจงบุคคลอย่างเปิดเผย ทั้งเผยแพร่ให้กลุ่มผู้ติดตามจำนวนมากได้รับรู้บนระบบออนไลน์ ย่อมทำให้ผู้นั้นได้รับความอับอายและเสื่อมเสีย หากเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยสามารถพิจารณาได้ว่าเป็น ความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยปกติความผิดฐานหมิ่นประมาทในประเทศไทยควบคุมและคุ้มครองโดยประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งหมายรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ในกรณีของนายทรัมป์ เทียบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย จึงเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ส่วนการนำเสนอผ่าน Twitter ส่วนตัวนั้น เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย เพราะนายทรัมป์ มีกลุ่มผู้ติดตามประมาณสามสิบล้านคน จึงเท่ากับเป็นการใช้ระบบออนไลน์เผยแพร่โดยทั่วไปจนเป็นที่รับทราบของประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญากำหนดว่าข้อมูลที่ปรากฏความผิดฐานหมิ่นประมาทไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจริงหรือข้อมูลเท็จ ถือเป็นความผิดเท่าเทียมกัน แม้จะตีความข้อความของนายทรัมป์ ว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่เนื้อความตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอม­พิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 กำหนดโทษเฉพาะความผิดจากข้อมูลคอมพิวเตอร์ “ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน” และ“อันเป็นเท็จ” เท่านั้น ซึ่งการทวีตดังกล่าวเป็นเนื้อหาจริงจากการกระทำของนายทรัมป์โดยตรง มิได้ถูกนำไปบิดเบือนหรือเป็นข้อมูลเท็จแต่อย่างใด…