ทำความรู้จัก “ซิมอัตลักษณ์”

Loading

ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2560 เป็นต้นไป ผู้ซื้อซิมโทรศัพท์มือถือใหม่ทุกคนจะต้องถูกจัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีอัตลักษณ์ นั่นคือการถ่ายภาพตรวจสอบใบหน้าและสแกนลายนิ้วมือ (Finger Print) เพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่แท้จริง ตามคำสั่งของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขั้นตอนดังกล่าวถูกบังคับใช้ทั้งการซื้อซิมผ่านศูนย์บริการ ร้านค้าที่จำหน่ายซิม หรือซื้อผ่านระบบออนไลน์ หากไม่มีการลงทะเบียนซิมมือถือใหม่ด้วยวิธีอัตลักษณ์จะไม่สามารถใช้งานได้ การลงทะเบียนซิมมือถือด้วยวิธีอัตลักษณ์ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบใบหน้าและสแกนลายนิ้วมือของผู้ซื้อซิมนั้น จะช่วยพิสูจน์ตัวตนว่าผู้ซื้อซิมเป็นเจ้าของบัตรประชาชนตัวจริง ช่วยลดการปลอมแปลง เนื่องจากปัจจุบันแม้จะต้องใช้บัตรประชาชนในการซื้อซิมมือถืออยู่แล้ว แต่ยังคงมีการปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชนอยู่เนืองๆ ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.เป็นต้นไป ผู้ที่มีความประสงค์จะซื้อซิมมือถือเบอร์ใหม่ ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนสมาร์ทการ์ดหรือพาสปอร์ตตัวจริงกรณีเป็นชาวต่างชาติ หรือบัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าวตัวจริง ไปซื้อซิม ณ จุดขาย ไม่ว่าจะเป็นศูนย์บริการลูกค้าของ ค่ายมือถือ ตัวแทนจำหน่ายซิมมือถือที่มีอยู่ราว 55,000 แห่งทั่วประเทศ ระบบการลงทะเบียนด้วยวิธีอัตลักษณ์ ณ จุดซื้อซิม จะมีทั้งสแกนลายนิ้วมือและถ่ายภาพตรวจสอบใบหน้าผ่านเครื่องอ่านบัตรหรือSmart Card Reader ปัจจุบันค่ายมือถือได้นำระบบสแกนลายนิ้วมือ มาให้บริการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และอำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา รวม 25 จุด และในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อีก…

SEMTEX

Loading

  นายสตานิสลาฟ เบรเบรา (Stanislav Brebera) และนายราดิม ฟูกัสโก (Radim Fukátko) นักเคมีคือผู้พัฒนาดินระเบิดชนิด Semtex ขึ้นมาในเชคโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐเชค) ตั้งแต่ปี 2507  เดิมเป็นดินระเบิดสำหรับการทหารและเพื่อพาณิชย์  แต่ด้วยความเป็นวัสดุนิ่มคล้ายดินน้ำมัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของดินระเบิดชนิดนี้ ทำให้สามารถใช้มือปั้น เป็นรูปแบบต่างๆ และนำไปยึดติดกับสิ่งของต่างๆ ได้ดี ทั้งตรวจค้นได้ยาก  ประกอบกับมีระยะหวังผลจากตำแหน่งที่ทำให้เกิดระเบิดประมาณ 5 เมตร จึงทำให้กลุ่มก่อการร้ายนิยมนำมาปรับใช้ในการประกอบเป็นระเบิดแสวงเครื่อง   ระเบิดแสวงเครื่อง (Improvised Explosive Devices,  IED) คำศัพท์นี้เริ่มใช้จากกองทัพบกอังกฤษในช่วงปี 2513  ซึ่งเป็นระยะเวลาที่อังกฤษเผชิญกับการก่อการร้ายของกลุ่มกองกำลังสาธารณรัฐไอริช (The Irish Republican Amy, IRA) โดยเฉพาะการลอบวางระเบิดตามสถานที่ต่างๆ ในพื้นที่สาธารณะและสถานที่ราชการ ทั้งในเกาะอังกฤษและดินแดนไอร์แลนด์เหนือ จุดประสงค์ของกลุ่มกองกำลังสาธารณรัฐไอริช คือการเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวออกจากการยึดครองดินแดนไอร์แลนด์เหนือ ระเบิดแสวงเครื่องที่กองกำลังสาธารณรัฐไอริชใช้ก่อวินาศกรรมมี  2 รูปแบบ คือ 1. ประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมีส่วนผสมของปุ๋ย เช่น แอมโมเนียมไนเตรท กับ…

‘Big Data’ หลอมรวมกับ ‘Big Brother’: ระบบให้คะแนนประชาชนโดยรัฐบาลจีน

Loading

     จากข่าวเรื่องที่ทางการจีนกำลังวางแผนระบบ ‘ให้คะแนน’ ประชาชนของตัวเอง ฟังดูเหมือนฝันร้ายจากนิยายวิทยาศาสตร์ดิสโทเปีย แต่ในยุคสมัยที่ข้อมูลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถูกเก็บอย่างกว้างขวางบวกกับรัฐบาลอำนาจนิยมที่มองประชาชนเป็น ‘เด็กๆ’ แบบจีนแล้ว ก็น่าประเมินว่าแผนการนี้จะสร้างหายนะต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือแม้กระทั่งหายนะต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปหรือไม่      11 พ.ย. 2560 ทางการจีนมีแผนออกระบบที่เรียกว่า ‘ระบบเครดิตทางสังคม’ ภายในปี 2563 ซึ่งเป็นระบบการให้คะแนนประชาชนกว่า 1,300 ล้านคนในประเทศ      คะแนนดังกล่าวคือคะแนนที่จะระบุว่ารัฐบาลเชื่อถือประชาชนคนนั้นมากขนาดไหน มีการวัดคะแนนพวกนี้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในโลกออนไลน์ของแต่ละบุคคล นั่นหมายความว่าถ้าหาก         คุณซื้อของบางอย่างที่รัฐบาลไม่ชอบ หรือเล่นเกมมากเกินไปหน่อย รัฐบาลก็อาจจะหาเรื่องลดคะแนนคุณได้ ระบบการตรวจสอบเรื่องพวกนี้ง่ายขึ้นในยุคสมัย ‘บิ๊กเดตา’ ที่บรรษัทไอทีใหญ่ๆ มักจะเก็บข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ของผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อหาเหตุทางการค้า แต่ในคราวนี้รัฐบาลจีนกำลังจะนำมาใช้กับการให้คะแนนตัวบุคคลซึ่งอาจจะส่งผลต่อชีวิตส่วนตัวของพวกเขา อย่างการพิจารณาเข้าเรียนที่ใด หรือการจะได้ทำงานที่ใดด้วย หรือแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างจะมีคนยอมเป็นแฟนด้วยหรือไม่ถ้าหากพวกเขามีคะแนนเท่านี้      แผนการนี้มีระบุอยู่ในเอกสารของคณะรัฐมนตรีเผยแพร่ออกมาในปี 2557 ทางการจีนอ้างว่าพวกเขาต้องการสร้างวัฒนธรรมแห่ง ‘ความจริงใจ’ แต่หลายคนไม่มองเช่นนั้น    …