อินโดนีเซียเตือนภัย “ภูเขาไฟอากุง” อาจระเบิดบนเกาะบาหลี

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียและประเทศใกล้เคียงมีคำเตือนไปยังสายการบินต่างๆ ที่จะเดินทางผ่านภูเขาไฟอากุง (Agung) บนเกาะบาหลี หลังจากภูเขาไฟแห่งนี้ปล่อยควันไฟและเถ้าถ่านสูงกว่า 6,000 เมตร ทางการอินโดฯ ได้เพิ่มระดับการเตือนภัยของภูเขาไฟอากุงเป็น “ระดับสีแดง” ซึ่งเป็นระดับสูงสุด แต่สนามบินนานาชาติของบาหลียังคงเปิดให้บริการตามปกติ อย่างไรก็ตาม สายการบินบางแห่ง รวมทั้ง AirAsia Garuda และ Virgin Australia ต่างประกาศยกเลิกเที่ยวบินที่เข้าและออกจากเกาะบาหลี ตั้งแต่วันอาทิตย์ โดยผู้โดยสารสามารถขอค่าตั๋วคืนได้ตามระเบียบข้อบังคับของแต่ละสายการบิน เกาะบาหลีคือแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอินโดนีเซีย แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังเกาะแห่งนี้เกือบ 5 ล้านคน แต่ธุรกิจต่างๆ เริ่มซบเซาตั้งแต่เดือนกันยายน เมื่อภูเขาไฟอากุงเริ่มการปะทุรอบใหม่ ———————————————————- ที่มา : VOA Thai / พฤศจิกายน 27, 2017 Link : https://www.voathai.com/a/indonesia-bali-volcano-tourism/4137323.html

เตือนภัย! อีเมลปลอมแอบอ้างเป็น Apple หลอกให้ยืนยันตัว เวอร์ชันภาษาไทย

Loading

ก่อนหน้านี้เราเคยได้เตือนภัย เว็บ Apple ปลอม อีเมลปลอมอ้างเป็น Apple ส่งมาหลอกเอารหัส โปรดระวัง ซึ่งมาในรูปแบบของ iCloud แต่รอบนี้ก็มาในเวอร์ชันที่เนียนมากยิ่งขึ้น โดยมาพร้อมกับภาษาไทยพร้อมทั้งแจ้งล็อคชั่วคราวให้ยืนยันตัวตนเพื่อปลดล็อค เตือนภัย! อีเมลปลอมแอบอ้างเป็น Apple ครั้งนี้ผมเองก็เกือบไปเหมือนกัน เพราะมาค่อนข้างเนียน เนื่องจากก่อนหน้านี้ผมได้มีโอกาสได้ใช้ Firefox และการได้รับอีเมลเตือนมาเกี่ยวกับ Mozilla Firefox (หัวอีเมล) ก็ถือว่าเนียนพอสมควร โดยหลอกว่าบัญชีถูกล็อคชั่วคราว ให้ทำการยืนยันซึ่งผมเองก็สองจิตสองใจอยู่เหมือนกัน แต่ด้วยความอยากรู้ก็เลยคลิกเข้าไปดู แต่จากการตรวจสอบ URL ค่อนข้างไม่น่าเชื่อถือ แต่ไหน ๆ ก็ไหน ๆ เลยลองวัดใจคลิกเข้าไปดู ก็เข้าข่ายแจ้งเตือนด้านความปลอดภัย (ดังภาพ) แต่ผมก็ลองพยายามเชื่อมต่อดูเพราะอยากรู้ว่าเป็นอย่างไร หลังจากกรอกรหัสปลอม ๆ ไปเพื่อดูว่าจะบบจะตอบรับเช่นไร สรุปคือระบบให้ยืนยันบัญชี (อันตรายมาก) โดยใส่ทั้งชื่อและที่อยู่, คำถามปลอดภัย, รหัสบัตรเครดิต, ฯลฯ เรียกได้ว่าเอามันทุกอย่างเลยจริง ๆ ซึ่งก็เลยอยากเอามาเตือนภัยให้รู้ทันกันครับ ————————————————————————————- ที่มา : imod bu yugioh2500 / 26 พฤศจิกายน 2560 Link : https://www.iphonemod.net/fake-apple-email-phishing-thai.html

ความเป็นส่วนตัวคืออะไร เมื่อเว็บไซต์ยอดนิยมแอบตามความเคลื่อนไหวของผู้ใช้ตลอด

Loading

ทีมนักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Princeton University ออกมาแจ้งเตือนผู้ใช้ถึงการละเมิดความเป็นส่วนบุคคลแบบเนียนๆ ชี้พบ 482 เว็บไซต์จาก 50,000 เว็บไซต์ยอดนิยมที่จัดอันดับโดย Alexa มีการบันทึกความเคลื่อนไหวของผู้ใช้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการพิมพ์หรือการเลื่อนเมาส์ เพื่อนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมเชิงลึก ในธุรกิจการทำ Analytics นั้น การเก็บข้อมูลความเคลื่อนไหวของผู้ใช้แบบนี้ถูกเรียกว่า Session Replay ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวัลว่า แฮ็กเกอร์อาจสามารถดักฟังข้อมูลที่ส่งกลับไปยังไซต์ต้นทาง หรือขโมยข้อมูลออกมาจากระบบ Analytics ที่ไม่มั่นคงปลอดภัย เพื่อดึงข้อมูลความลับของผู้ใช้ออกมาได้ เรียกการโจมตีเหล่านี้ว่า Session-replay Attack ทีมนักวิจัยระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ให้บริการการบันทึกข้อมูลเซสชันของผู้ใช้มากมาย โดยสามารถเก็บข้อมูลรหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต หมายเลขโทรศัพท์ เลขบัตรประชาชน วันเกิด และข้อมูลอื่นๆ ได้ ซึ่งบางผู้ให้บริการเก็บข้อมูลเหล่านี้บนแบบฟอร์มก่อนที่จะกดปุ่ม Submit เสียอีก หรือถ้าเลวร้ายสุดๆ ก็คือเก็บบันทึกความเคลื่อนไหวทุกครั้งหลังมีการเลื่อนเมาส์หรือกดแป้มพิมพ์ ยกตัวอย่างบริการ Analytics ที่พร้อมใช้ในรูปแบบสคริปต์ ได้แก่ FullStory, Hotjar, Yandex และ Smartlook ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูลผู้ใช้ที่มากจนเกินไปนี้คือ ถ้าแฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงบัญชีที่ใช้เก็บข้อมูลเหล่านี้ของเว็บไซต์ได้ ก็จะทำให้ได้ข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงรหัสผ่านและหมายเลขบัตรเครดิตของผู้ใช้ทันที…