SEMTEX

Loading

  นายสตานิสลาฟ เบรเบรา (Stanislav Brebera) และนายราดิม ฟูกัสโก (Radim Fukátko) นักเคมีคือผู้พัฒนาดินระเบิดชนิด Semtex ขึ้นมาในเชคโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐเชค) ตั้งแต่ปี 2507  เดิมเป็นดินระเบิดสำหรับการทหารและเพื่อพาณิชย์  แต่ด้วยความเป็นวัสดุนิ่มคล้ายดินน้ำมัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของดินระเบิดชนิดนี้ ทำให้สามารถใช้มือปั้น เป็นรูปแบบต่างๆ และนำไปยึดติดกับสิ่งของต่างๆ ได้ดี ทั้งตรวจค้นได้ยาก  ประกอบกับมีระยะหวังผลจากตำแหน่งที่ทำให้เกิดระเบิดประมาณ 5 เมตร จึงทำให้กลุ่มก่อการร้ายนิยมนำมาปรับใช้ในการประกอบเป็นระเบิดแสวงเครื่อง   ระเบิดแสวงเครื่อง (Improvised Explosive Devices,  IED) คำศัพท์นี้เริ่มใช้จากกองทัพบกอังกฤษในช่วงปี 2513  ซึ่งเป็นระยะเวลาที่อังกฤษเผชิญกับการก่อการร้ายของกลุ่มกองกำลังสาธารณรัฐไอริช (The Irish Republican Amy, IRA) โดยเฉพาะการลอบวางระเบิดตามสถานที่ต่างๆ ในพื้นที่สาธารณะและสถานที่ราชการ ทั้งในเกาะอังกฤษและดินแดนไอร์แลนด์เหนือ จุดประสงค์ของกลุ่มกองกำลังสาธารณรัฐไอริช คือการเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวออกจากการยึดครองดินแดนไอร์แลนด์เหนือ ระเบิดแสวงเครื่องที่กองกำลังสาธารณรัฐไอริชใช้ก่อวินาศกรรมมี  2 รูปแบบ คือ 1. ประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมีส่วนผสมของปุ๋ย เช่น แอมโมเนียมไนเตรท กับ…

‘Big Data’ หลอมรวมกับ ‘Big Brother’: ระบบให้คะแนนประชาชนโดยรัฐบาลจีน

Loading

     จากข่าวเรื่องที่ทางการจีนกำลังวางแผนระบบ ‘ให้คะแนน’ ประชาชนของตัวเอง ฟังดูเหมือนฝันร้ายจากนิยายวิทยาศาสตร์ดิสโทเปีย แต่ในยุคสมัยที่ข้อมูลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถูกเก็บอย่างกว้างขวางบวกกับรัฐบาลอำนาจนิยมที่มองประชาชนเป็น ‘เด็กๆ’ แบบจีนแล้ว ก็น่าประเมินว่าแผนการนี้จะสร้างหายนะต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือแม้กระทั่งหายนะต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปหรือไม่      11 พ.ย. 2560 ทางการจีนมีแผนออกระบบที่เรียกว่า ‘ระบบเครดิตทางสังคม’ ภายในปี 2563 ซึ่งเป็นระบบการให้คะแนนประชาชนกว่า 1,300 ล้านคนในประเทศ      คะแนนดังกล่าวคือคะแนนที่จะระบุว่ารัฐบาลเชื่อถือประชาชนคนนั้นมากขนาดไหน มีการวัดคะแนนพวกนี้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในโลกออนไลน์ของแต่ละบุคคล นั่นหมายความว่าถ้าหาก         คุณซื้อของบางอย่างที่รัฐบาลไม่ชอบ หรือเล่นเกมมากเกินไปหน่อย รัฐบาลก็อาจจะหาเรื่องลดคะแนนคุณได้ ระบบการตรวจสอบเรื่องพวกนี้ง่ายขึ้นในยุคสมัย ‘บิ๊กเดตา’ ที่บรรษัทไอทีใหญ่ๆ มักจะเก็บข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ของผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อหาเหตุทางการค้า แต่ในคราวนี้รัฐบาลจีนกำลังจะนำมาใช้กับการให้คะแนนตัวบุคคลซึ่งอาจจะส่งผลต่อชีวิตส่วนตัวของพวกเขา อย่างการพิจารณาเข้าเรียนที่ใด หรือการจะได้ทำงานที่ใดด้วย หรือแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างจะมีคนยอมเป็นแฟนด้วยหรือไม่ถ้าหากพวกเขามีคะแนนเท่านี้      แผนการนี้มีระบุอยู่ในเอกสารของคณะรัฐมนตรีเผยแพร่ออกมาในปี 2557 ทางการจีนอ้างว่าพวกเขาต้องการสร้างวัฒนธรรมแห่ง ‘ความจริงใจ’ แต่หลายคนไม่มองเช่นนั้น    …

Trump in Philippines: Manila riot police fire water cannon on protesters marking arrival of US President

Loading

Riot police used water canon to prevent hundreds of protesters reaching the U.S. embassy in Manila on Sunday, just a few hours before the arrival of President Donald Trump in the Philippines for a regional summit and the last leg of his Asia tour. Carrying placards declaring “Dump Trump” and “Down with U.S. Imperialism”, the left-wing protesters…

ม็อบปะทะตำรวจปราบจลาจลหน้าสถานทูตสหรัฐ ในกรุงมะนิลา ประท้วง “ทรัมป์” เยือนฟิลิปปินส์

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ชาวฟิลิปปินส์หลายร้อยคนรวมตัวกันบริเวณหน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ จะเดินทางถึงประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ในวันเดียวกัน และเป็นประเทศสุดท้ายของการทัวร์เอเชียของทรัมป์ รายงานระบุว่า กลุ่มผู้ประท้วงพากันถือป้าย “Dump Trump” และ “Down with U.S. Imperialism” เพื่อแสดงการต่อต้านจักรวรรดิของทรัมป์ และระบุว่าทรัมป์จะเดินทางมาฟิลิปปินส์เพื่อทำข้อตกลงที่ไม่มีความยุติธรรมต่อฟิลิปปินส์ และมีรายงานการปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ปราบจลาจล จนเกิดความวุ่นวายขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องฉีดน้ำเพื่อสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์จะเป็นประเทศสุดท้ายของการทัวร์เอเชียของประธานาธิบดีทรัมป์ หลังเสร็จสิ้นการเยือน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และเวียดนาม โดยมีรายงานว่า ทรัมป์จะพบหารือกับประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ของฟิลิปปินส์ ที่กรุงมะนิลา ซึ่งบรรดากลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างพยายามเรียกร้องให้ทรัมป์กดดันนายดูแตร์เต เกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเกิดจากนโยบายกวาดล้างยาเสพติดของผู้นำฟิลิปปินส์ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วหลายพันคน แต่นายดูแตร์เตเชื่อว่า ทรัมป์จะไม่นำเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพูดคุยกันระหว่างการเดินทางเยือนครั้งนี้ ————————————————- ที่มา : มติชนออนไลน์ / 12 พฤศจิกายน 2560…

เนเธอร์แลนด์ผุด “แผงกั้นน้ำท่วมอัจฉริยะ” ใช้งานได้ ไม่ทำลายทัศนียภาพ

Loading

แผงกั้นน้ำท่วมยาวที่สุดในโลก สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และไม่สามารถสร้างเขื่อนแบบดั้งเดิมได้ สำนักข่าวซินหัวรายงาน เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่ผ่านมา ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้สร้างแผงกั้นน้ำท่วมปิดอัตโนมัติความยาวกว่า 300 เมตร บริเวณท่าเรือประมง Spakenburg นับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ล่าสุดที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยภายในประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะแลแห่งนี้ อีกทั้งยังถือว่าเป็นแผงกั้นน้ำท่วมที่ยาวที่สุดในโลกอีกด้วย ตามรายงานระบุ แผงกั้นน้ำท่วมดังกล่าวมีความสูงประมาณ 80 เซนติเมตร และหากไม่ต้องการใช้งาน แผงกั้นจะถูกเก็บลงไปในระดับเดียวกับทางเท้า โดยมีเพียงชิ้นส่วนด้านบนที่เป็นเหล็กเท่านั้นที่โผล่ออกมาบริเวณรอบท่าเรือให้สามารถมองเห็นได้ ทำให้การสร้างแผงกั้นน้ำท่วมนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเดิมของท่าเรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังใช้พื้นที่น้อยมาก และไม่ทำลายสภาพแวดล้อมของอดีตหมู่บ้านชาวประมงแห่งนี้ ซึ่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชือเสียงในปัจจุบันอีกด้วย โดยแผงกั้นน้ำท่วมนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อเกิดน้ำท่วมสูง จนกระแสน้ำไหลเข้ามาเป็นแรงดันให้แผงกั้นน้ำท่วมขึ้นมาจากทางเท้าโดยอัตโนมัติ จากนั้น “กระเป๋า” จากแผ่นโลหะเคฟลาร์น้ำหนักเบาที่อยู่ใต้แผงกั้นจะทำหน้าที่เป็นถังกักเก็บน้ำเอาไว้เป็นเวลา 20 นาที นาย Roeland Hillen ผู้อำนวยการโครงการป้องกันน้ำท่วมดัตช์ได้กล่าวว่า การสร้างแผงกั้นน้ำท่วมนี้เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อปกป้องพื้นที่เปราะบางแห่งนี้ โดยเฉพาะในเขตเมืองที่ไม่สามารถสร้างเขื่อนแบบดั้งเดิมขึ้นได้ อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างแผงกั้นน้ำท่วมแห่งนี้มีมูลค่าสูงถึง 7 ล้านยูโร หรือประมาณ 269 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าการสร้างเขื่อนแบบดั้งเดิมถึง 3 เท่า แต่นับว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่า ทั้งประโยชน์ในการใช้งานและไม่ทำลายสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม ที่มา: XinhuaNewsAgency ——————————————————- From : โพสต์ทูเดย์…