เปิดตัวนิทรรศการ “ผู้บุกรุกบนโลกไซเบอร์” ในอังกฤษ

Loading

ที่ผ่านมาเราอาจเคยได้ยินเรื่องการโจรกรรมข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ตมามากมาย และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดนิทรรศการในกรุงลอนดอน ได้รวบรวมเทคโนโลยีที่สามารถรุกล้ำความเป็นส่วนตัวได้โดยที่พวกเราคาดไม่ถึง บนโลกอินเตอร์เน็ต ที่เราค้นหาข้อมูล หรือดาวน์โหลดภาพ เสียง วิดีโอ โปรแกรมต่างๆมาใช้งานได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายนั้น เราอาจต้องแลกด้วยข้อมูลส่วนตัวของเราโดยไม่รู้ตัว และเลวร้ายกว่านั้น บนโลกที่ทุกอย่างไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ณ วันนี้เราอาจกลายเป็นสินค้าฟรีบนโลกออนไลน์ไปเสียเองก็ได้ ซึ่งนิทรรศการ The Glass Room ที่กรุงลอนดอน ของอังกฤษ เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่รวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้คนทั่วโลก เพื่อบอกว่าบนโลกออนไลน์ ไม่มีอะไรที่เป็นส่วนตัวอีกต่อไป นิทรรศการเลือกจัดสถานที่ให้เหมือนกับร้านค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีทั้งคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต สมาร์ทโฟนจำนวนมาก จัดวางทั่วนิทรรศการ ทว่าไม่มีสินค้าใดวางขายจริงๆ Stephanie Hankey จาก Tactical Tech อธิบายว่า The Glass Room อาจเหมือนร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่เราจัดวางทุกอย่างให้เหมือน พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่คอยให้ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่คุณใส่ลงไปบนโลกออนไลน์ Frederike Kaltheunder จาก Privacy International บอกว่า เราอาจจะคิดว่าเราสามารถไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลส่วนตัวกับองค์กร หรือในที่ทำงาน แต่แท้ที่จริงแล้วเรากำลังถูกล้อมรอบด้วยระบบตรวจจับข้อมูลที่พยายามเก็บข้อมูลส่วนตัวของเรามากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ที่สามารถระบุอารมณ์และเพศของใบหน้าที่ฉายบนจอคอมพิวเตอร์ ก่อนจะทำการประมวลผลว่า ตรงกับภาพของบุคคลใดที่มีคลังภาพมหาศาลอยู่ในอินเตอร์เน็ต หรือจะเป็นหนังสือเล่มหนา…

ข้อพิจารณาเปรียบเทียบการใช้ระบบสารสนเทศของทรัมป์ กับกฎหมายการกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ของไทย

Loading

ขอนำข้อความจากการทวีตของนายทรัมป์ แสดงถึงการดูหมิ่น นายโจสการ์ โบโรห์ และนางมิก้า เบรสซินสกี้ พิธีกรรายการข่าวเช้า Morning Joe ทางสถานี MSNBC เมื่อ 30 มิ.ย.60 มาเป็นกรณีตัวอย่างสำหรับพิจารณาเปรียบเทียบความผิดเกี่ยวกับกฎหมายกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย และข้อขัดแย้งระหว่างกฎหมายอื่นๆ ดังนี้ การโพสต์แสดงความคิดเห็นและพาดพิงบุคคลอื่นบนระบบออนไลน์ ในลักษณะดูหมิ่นเจาะจงบุคคลอย่างเปิดเผย ทั้งเผยแพร่ให้กลุ่มผู้ติดตามจำนวนมากได้รับรู้บนระบบออนไลน์ ย่อมทำให้ผู้นั้นได้รับความอับอายและเสื่อมเสีย หากเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยสามารถพิจารณาได้ว่าเป็น ความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยปกติความผิดฐานหมิ่นประมาทในประเทศไทยควบคุมและคุ้มครองโดยประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งหมายรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ในกรณีของนายทรัมป์ เทียบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย จึงเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ส่วนการนำเสนอผ่าน Twitter ส่วนตัวนั้น เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย เพราะนายทรัมป์ มีกลุ่มผู้ติดตามประมาณสามสิบล้านคน จึงเท่ากับเป็นการใช้ระบบออนไลน์เผยแพร่โดยทั่วไปจนเป็นที่รับทราบของประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญากำหนดว่าข้อมูลที่ปรากฏความผิดฐานหมิ่นประมาทไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจริงหรือข้อมูลเท็จ ถือเป็นความผิดเท่าเทียมกัน แม้จะตีความข้อความของนายทรัมป์ ว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่เนื้อความตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอม­พิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 กำหนดโทษเฉพาะความผิดจากข้อมูลคอมพิวเตอร์ “ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน” และ“อันเป็นเท็จ” เท่านั้น ซึ่งการทวีตดังกล่าวเป็นเนื้อหาจริงจากการกระทำของนายทรัมป์โดยตรง มิได้ถูกนำไปบิดเบือนหรือเป็นข้อมูลเท็จแต่อย่างใด…

พบกลุ่มก่อการร้ายใหม่ ‘Sowbug’ มุ่งเน้นโจมตีองค์กรระหว่างประเทศในเอเชีย

Loading

Symantec พบกลุ่มผู้ก่อการร้ายไซเบอร์ใหม่นามว่า ‘Sowbug’ ที่มีพฤติกรรมมุ่งเน้นโจมตีองค์กรด้านการต่างประเทศและการทูตของภูมิภาคอเมริกาใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่ม Sowbug นั้นจะเข้าไปโจรกรรมเอกสารภายในองค์กรที่เข้าแทรกซึมได้ผ่านทาง Backdoor ที่ใช้ชื่อคล้ายกับโปรแกรมอย่าง Adobe พร้อมทั้งติดตั้งในโฟลเดอร์ของโปรแกรมดังกล่าวทำให้ตรวจจับได้ยาก Symantec พบหลักฐานชิ้นแรกของกลุ่มนี้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากมัลแวร์ถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ชื่อ Felismus ที่มีจุดประสงค์โจมตีเป้าหมายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต่อมาพบผู้ตกเป็นเหยื่ออยู่ทั้ง 2 ฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิค ความจริงแล้ว Symantec เคยพบการเคลื่อนไหวของกลุ่ม Sowbug แล้วตั้งแต่ต้นปี 2015 และอาจจะเริ่มปฏิบัติการมาก่อนหน้านั้นแล้ว ปัจจุบันพบการโจมตีจากกลุ่มนี้แทรกซึมไปยังองค์กรรัฐบาลของอเมริกาใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อาเจนติน่า บราซิล เอกวาดอร์ เปรู บรูไน และ มาเลเซีย กลุ่ม Sowbug มีศักยภาพการโจมตีและแทรกซึมสูง โดยจะเลือกโจมตีนอกเวลางานขององค์กรเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่เพื่อทำให้จับได้ยากที่สุด โจมตีอย่างมีเป้าหมาย หลักฐานที่พบหลังจากการแทรกซึมของกลุ่มนี้มีตัวอย่างให้เห็นเช่นเมื่อปี 2015 เข้าโจมตีกระทรวงการต่างประเทศแห่งนึงของอเมริกาใต้พบและมีพฤติกรรมเพื่อค้นหาข้อมูลบางอย่างแบบจงใจ หลักฐานชิ้นแรกของการแทรกซึมเกิดขึ้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015 แต่ปรากฏการโจมตีจริงเมื่อวันที่ 12 กลุ่มผู้โจมตีดูเหมือนมีความสนใจในส่วนงานนึงของการทหารที่ดูแลด้านความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค การปฏิบัติการที่เกิดขึ้นครั้งนั้นมีความตั้งใจที่จะดึงไฟล์เอกสาร Word ทั้งหมดที่อยู่ในไฟล์เซิร์ฟเวอร์ของส่วนงานนั้นออกมาโดยใช้คำสั่ง ‘cmd.exe /c…