body of knowledge – knowledge – knowledge management (km)

Loading

โดย : จำเรียง  จันทรประภา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา           ศัพท์ภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นที่สนใจในวงวิชาการที่ต้องการทราบความหมายอย่างมาก แม้แต่ชื่อในคอลัมน์นี้ ผู้เขียนในฐานะเป็นเลขานุการคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ใคร่ขอเสนอความหมายของศัพท์ดังนี้           คำว่า body of knowledge บัญญัติศัพท์ว่า องค์ความรู้ หมายถึงความรู้ที่ประกอบด้วยมโนทัศน์หลัก โครงสร้างและช่องทางที่จะเข้าถึงความรู้ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในกระบวนการต่อไปนี้ (1) รวบรวม ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งและมีส่วนร่วม (2) ทดลองปฏิบัติ วิเคราะห์และสรุปสาระ (3) เกิดแนวคิด เนื้อหาและแนวทางพัฒนา เรียกว่า ความรู้ (4) การสังเคราะห์ แนวคิด เนื้อหา แนวทาง บูรณาการมาเป็นความรู้ในระดับสูงขึ้น           คำว่า knowledge บัญญัติศัพท์ว่า ความรู้ หมายถึง สาระ ข้อมูล แนวคิด หลักการ…

“ระเบียบวาระแห่งชาติ”

Loading

โดย : สุปัญญา  ชมจินดา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา           คำว่า “ระเบียบวาระการประชุม” หมายถึง “ลำดับรายการที่กำหนดไว้ในการประชุมแต่ละครั้ง” มักมีผู้นำมาใช้เป็นภาษาปากในรูปย่อว่า “วาระการประชุม”  ทำให้เข้าใจกันไปว่าคำว่า “วาระ” และ “ระเบียบวาระ” มีความหมายเหมือนกันและใช้แทนกันได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน ทั้งนี้เพราะ “วาระ” กับ “ระเบียบวาระ” มีความหมายต่างกัน และ “ระเบียบวาระการประชุม” ก็มิอาจใช้คำว่า “วาระการประชุม” แทนได้  ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าคำว่า “ระเบียบวาระ” ใช้คำว่า “วาระ” แทนได้ จึงทำให้มีการใช้คำว่า “วาระแห่งชาติ” เพื่อสื่อความหมายถึงคำว่า “ระเบียบวาระแห่งชาติ” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะ “ระเบียบวาระแห่งชาติ” ไม่อาจใช้คำว่า “วาระแห่งชาติ” แทนได้ เพราะจะทำให้การสื่อความหมายผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป   ราชบัณฑิตยสถานโดยคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ได้พิจารณาเรื่องคำดังกล่าวไว้แล้วว่าคำว่า “วาระ” และ “ระเบียบวาระ” มีความหมายต่างกัน กล่าวคือ “วาระ”…

สหรัฐฯ ผลักดันระบบคนเข้าเมืองเเบบเน้น ‘คุณสมบัติ’ เเทนระบบครอบครัว

Loading

ปัจจุบัน สหรัฐฯ มีนโยบายที่บรรดานักวิจารณ์เรียกว่า “การย้ายถิ่นระบบห่วงโซ่” หรือ chain immigration เเต่คนที่เห็นด้วยเรียกว่า “การย้ายถิ่นระบบครอบครัว” หรือ family-based immigration ระบบคนเข้าเมืองของสหรัฐฯ ขึ้นอยู่กับระบบสนับสนุนหรือ sponsorship ที่ผู้ถือสัญชาติอเมริกันเเละผู้มีสิทธิ์อาศัยอยู่ถาวรอย่างถูกกฏหมาย หรือผู้ถือใบเขียว สามารถสนับสนุนให้ญาติของตนจากประเทศบ้านเกิด ย้ายเข้ามาอาศัยในสหรัฐฯ ได้ คู่สมรสเเละบุตรที่ยังอายุไม่ครบวัยเบญจเพศตามกฏหมาย มีสิทธิ์ในการสมัครในฐานะสมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิด เเละไม่จำเป็นต้องรอให้ได้หมายเลขวีซ่าเสียก่อน และสำหรับสมาชิกครอบครัวในกลุ่มนี้ ไม่มีการจำกัดจำนวนโควต้าว่าได้กี่คน โดยผู้ถือสัญชาติเพียงเเค่ยื่นใบสมัครเพื่อร้องขอเท่านั้น เเต่สำหรับสมาชิกครอบครัวในฐานะพี่ชายหรือน้องชาย พี่สาวหรือน้องสาว เเละบุตรที่โตเป็นผู้ใหญ่เเล้ว ขั้นตอนการพิจารณาอาจจะนานกว่าเเละยากมากขึ้น Naomi Tsu รองประธานด้านกฏหมายแห่ง Southern Poverty Law Center กล่าวว่า การขอวีซ่าย้ายมาอยู่สหรัฐฯ ให้กับพี่น้อง เป็นเรื่องยากมาก เพราะถือว่าเป็นสมาชิกครอบครัวอันดับท้ายๆ เเละจะยากขึ้นไปอีกหากเป็นประชาชนจากประเทศที่มีคนย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยูในสหรัฐฯ เป็นจำนวนมากเเล้ว Stephen Lee อาจารย์ด้านกฏหมายคนเข้าเมืองเเละการจัดการ ที่มหาวิทยาลัยเเคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ กล่าวกับรายการวิทยุเอ็นพีอาร์ว่า มีหลายกรณีที่ญาติอาจถูกตัดสิทธิ์ เขายกตัวอย่างว่า หากผู้สมัครเป็นผู้ก่อการร้าย เเม้ว่าจะเป็นคู่สมรสของผู้ถือสัญชาติ ก็ไม่มีสิทธิ์ย้ายเข้ามาอยู่ในสหรัฐฯ…

ศาลสหรัฐฯไฟเขียวห้ามมุสลิม 6 ชาติเข้าประเทศ

Loading

The Supreme Court ruled in favor of Mr Trump’s controversial travel ban, delivering a victory to the President AP ศาลสูงสุดสหรัฐฯ มีคำสั่งอนุญาตให้บังคับใช้มาตรการแบนคนจากชาติมุสลิม6ประเทศ ได้อย่างเต็มรูปแบบ แม้ว่าจะอยู่ระหว่างรอพิจารณาคำร้องอุทธรณ์ วันนี้ (5 ธ.ค.60) ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา มีคำตัดสินว่า รัฐบาลของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ สามารถบังคับใช้คำสั่งฝ่ายบริหารฉบับแก้ไข ที่เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบหรือห้ามนักเดินทางจาก 6 ชาติมุสลิมและอีก 2 ประเทศ เดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้อย่างเต็มรูปแบบ แม้ว่ากำลังอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์ก็ตาม ซึ่งมาตรการนี้นายโดนัลด์ ทรัมป์ประธานาธิบดีได้ผลักดันมาตรการป้องกันผู้ก่อการร้ายเดินทางเข้าประเทศมานานเกือบ 1 ปี ท่ามกลางเสียงคัดค้าน กล่าวหาว่า มาตรการของเขามุ่งเป้าไปที่ชาวมุสลิม, ละเมิดรัฐธรรมนูญ และไม่ได้ส่งเสริมความมั่นคงตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง ทำให้มาตรการฉบับที่ 3 ซึ่งนายทรัมป์ประกาศใช้แทนคำสั่งฉบับที่ 2 ที่หมดอายุเมื่อเดือนกันยายน ได้เพิ่มเวเนซุเอลา และเกาหลีเหนือเข้ามาด้วย เพื่อลดข้อครหา ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่เห็นด้วยได้ยื่นฟ้องร้องคัดค้านทันที ที่ศาลในเมืองริชมอนด์ รัฐเวอร์จิเนีย และนครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งตัดสินเมื่อเดือนตุลาคม ให้หยุดการบังคับใช้มาตรการห้ามนักเดินทางจากประเทศ ชาด, อิหร่าน, ลิเบีย, โซมาเลีย, ซีเรีย และเยเมน ในระหว่างที่กำลังมีการฟ้องร้องทางกฎหมาย แต่ล่าสุด ศาลสูงสุดสหรัฐฯ กลับคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ 2 ศาลแล้ว โดยศาลสูงสุดตัดสินใจอนุญาตให้บังคับใช้คำสั่งของประธานาธิบดีในทันที เพื่อจำกัดการเดินทางของคนจากประเทศที่มีความเสี่ยงก่อการร้ายสูง ————————————————————– ที่มา : TNN24 / 5 ธ.ค. 60, 11.59 น. Link :  http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=155744&t=news

Trump’s travel ban on six Muslim-majority countries to be fully enacted after Supreme Court ruling

Loading

The Supreme Court ruled in favor of Mr Trump’s controversial travel ban, delivering a victory to the President AP The Supreme Court has decided that President Donald Trump‘s most recent travel ban that targets six Muslim-majority countries can go into full effect, handing a victory to the President even as legal challenges remain in lower courts. The…