Google promises to stop spying on Android phones, even ones without SIM cards

Loading

An investigation published by Quartz has revealed Android phones have been tracking users using cell towers since the beginning of 2017, “even when location services are disabled.” This allows Android devices to send information back to Google. Quartz rightly points out that this goes “far beyond a reasonable consumer expectation of privacy.” ibankcoin notes that even a brand new…

พบสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์เก็บข้อมูลส่งกลับ “กูเกิล” ได้ แม้ตัวเครื่องจะไม่มีซิม

Loading

หากยังจำได้เมื่อประมาณปีที่ผ่านมา สมาร์ทโฟนยี่ห้อเสี่ยวหมี่ (Xiaomi) เคยเกิดกรณีอื้อฉาว เนื่องจากตัวเครื่องมีการแอบส่งข้อมูลของผู้ใช้งานในเครื่องกลับไปที่ประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิต ล่าสุด เหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้วกับสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ที่พบว่ามีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่งกลับบริษัทกูเกิล (Google) เช่นกัน แม้ว่าผู้ใช้งานจะปิดฟีเจอร์ที่สามารถระบุโลเคชันของเครื่องไว้ก็ตาม เว็บไซต์ข่าวที่รายงานเรื่องนี้เป็นแห่งแรก คือ Quartz ที่พบว่า สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือในบริเวณใกล้เคียง และแชร์ข้อมูลเหล่านั้นกับกูเกิล ทาง Quartz พบว่า สมาร์ทโฟนที่รันระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สามารถลักลอบส่งข้อมูลกลับได้ แม้จะปิดฟีเจอร์โลเคชัน หรือไม่มีซิมการ์ดอยู่ในตัวเครื่องก็ตาม และไม่มีช่องทางใด ๆ ที่จะสามารถปิดการทำงานนี้ได้เลย ด้านองค์กรที่รณรงค์เรื่องสิทธิของผู้บริโภคได้ออกมาแสดงความเห็นว่า การกระทำเช่นนี้เป็น “การทรยศหักหลังผู้ใช้งาน” ขณะที่กูเกิล ออกมาบอกว่า ข้อมูลเหล่านั้นไม่มีการเก็บไว้ และจะมีการอัปเดตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อยุติการกระทำดังกล่าว กูเกิลให้เหตุผลว่า บริษัทมีการเก็บข้อมูลเพื่อปรับปรุงบริการด้านสปีด และประสิทธิภาพของการส่งข้อความเท่านั้น พร้อมบอกด้วยว่า ไม่เคยนำข้อมูลเซลล์ไอดี (Cell ID) มารวมอยู่ในข้อมูลที่จัดเก็บนี้แต่อย่างใด  อย่างไรก็ตาม กลุ่มรณรงค์ด้านสิทธิและความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ กล่าวว่า การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคมีสิทธิในการควบคุมการทำงานเบื้องหลังของสมาร์ทโฟนของตัวเองน้อยมาก รวมถึงตั้งคำถามกลับไปยังกูเกิลด้วยว่า ยังมีอะไรอีกไหมที่ทำงานอยู่เบื้องหลังสมาร์ทโฟนโดยที่ผู้บริโภคไม่รู้ตัว ———————————————————– ที่มา : MGR online…

พฤติกรรมที่ขาดความมั่นคงปลอดภัยเป็นเหมือนโรคร้ายต่อองค์กร

Loading

ผลสำรวจจาก Preempt ผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยและผู้เชี่ยวชาญระบบเครือข่ายที่เข้าไปสำรวจพนักงานระดับบริหารกว่า 200 คนในองค์กรที่มีลูกจ้างมากกว่า 1 พันคน พบว่าลูกจ้างมีสิทธิ์ในการเข้าถึงมากกว่าที่ควรจะเป็น โดยประมาณ 25% มีความพยายามที่จะเข้าถึงข้อมูลมากกว่าสิทธิ์ที่สมควรได้ในที่ทำงานและ 60% ในจำนวนนี้สามารถทำได้สำเร็จ นี่เป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะทีม IT Security ควรจะให้ความสนใจเรื่องการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรเกินขอบเขตเป็นเรื่องหลัก รายงานยังได้ระบุว่า “ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยนั้นสามารถทำให้บริษัทและพนักงานมีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้การดำเนินงานของธุรกิจและความน่าเชื่อถือขององค์กรเสียหายได้ ดังนั้นในธุรกิจควรจะประเมินปัจจัยความเสี่ยงจากลูกจ้างที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดช่วงเวลาการจ้างงาน เช่นกันสำหรับ IT Security ผลสำรวจนี้ชี้ไปถึงว่าทีมควรทำความเข้าใจให้มากขึ้นถึงวิธีการประเมินความเสี่ยงและความน่าเชื่อถือต่อพนักงาน” สถิติที่น่าสนใจของพฤติกรรมที่มีความมั่นคงปลอดภัยต่ำมีดังนี้ 1 ใน 3 ของลูกจ้างยอมรับว่าทำผิดกฎหรือทำงานบางอย่างให้เสร็จโดยไม่ได้แก้ปัญหาอย่างถาวรและในจำนวนนี้มากกว่า 10% ปฏิบัติเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว 41% ของลูกจ้างใช้รหัสผ่านของที่ทำงานเหมือนกับรหัสผ่านของบัญชีส่วนตัว 20% ของลูกจ้างตระหนักถึงรหัสผ่านว่าอาจจะถูกแทรกแทรงได้จากภาวะการรั่วไหลของข้อมูล 56% บอกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนรหัสผ่านบัญชีที่มีการรั่วไหลเท่านั้น มากกว่า 1 ใน 3 จะไม่รู้เรื่องอะไรเลยหากชื่อหรือรหัสผ่านบัญชีรั่วไหนสู่สาธรณะ เมื่อถามถึงการให้คะแนนตัวเองถึงเรื่อง IT Security เทียบกับคนอื่นๆ ในองค์กรว่าเป็นอย่างไร พบว่า 41% บอกว่าพวกเขาอยู่ในกลุ่ม 25% แรก อีก 50% ให้คะแนนตัวเองว่าอยู่ในกลุ่ม…

Poor Security Habits Plague Large Enterprises

Loading

Despite being ripe targets for cybercriminals, most large enterprises lack control over employee data access and follow weak password practices.  According to Preempt’s survey of 200 management-level professionals at organizations with 1,000 employees, employees have more access than they should. A quarter (25%) of employees have tried to access data at work that they weren’t supposed to.…

Skype ถูกศาลเบลเยียมปรับ 1.2 ล้านบาท ฐานไม่ยอมส่งข้อมูลสนทนาของผู้ใช้งานให้

Loading

เป็นอีกประเด็นของเรื่องราวด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยในครั้งนี้ศาลเบลเยียมได้สั่งปรับ Skype เป็นเงิน 35,000 เหรียญหรือราวๆ 1.22 ล้านบาท เนื่องจากทาง Microsoft Skype ไม่ยอมส่งมอบข้อมูลบทสนทนาของผู้ใช้งานให้ตามที่ร้องขอ คดีนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2012 ที่เจ้าหน้าที่รัฐของเบลเยียมได้ติดต่อไปยัง Skype เพื่อขอเนื้อหาบทสนทนาของกลุ่มอาชญากรที่พูดคุยกันผ่านทาง Skype เป็นหลัก แต่ทาง Skype นั้นไม่สามารถส่งข้อมูลบทสนทนาใดๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ได้เลย พร้อมชี้แจงว่ากรณีนี้ไม่สามารถเป็นไปได้เลยด้วยเหตุผลทางเทคนิค อย่างไรก็ดี ทาง Skype นั้นยังได้ส่งข้อมูลอื่นๆ เช่น Email Address, User History, Account Detail และ IP Address ให้กับทางหน่วยงานรัฐ ทางการของเบลเยียมนั้นมีข้อกำหนดว่าธุรกิจโทรคมนาคมนั้นจะต้องทำการส่งมอบข้อมูลตามคำสั่งศาลเพื่อการสืบสวน และเมื่อกรณีนี้เกิดขึ้นในเบลเยียม กฎหมายของเบลเยียมจึงถูกบังคับใช้กับ Skype ตามไปด้วย นอกจากประเด็นด้านเทคนิคที่ Skype อ้างว่าทำให้ไม่สามารถส่งมอบข้อมูลให้ได้แล้ว ทาง Skype เองก็ยังมองว่าตนเองไม่ใช่ธุรกิจโทรคมนาคมแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงผู้ให้บริการ Software เท่านั้น กฎหมายข้อนี้จึงไม่ควรถูกนำมาบังคับใช้ แต่ประเด็นนี้ก็ไม่สามารถอ้างได้กับศาลเบลเยียม…