หน่วยข่าวกรองของสหราชอาณาจักรเก็บข้อมูล Social Media ของประชาชน

Loading

กลุ่ม Privacy International อ้างว่าหน่วยข่าวกรองของสหราชอาณาจักรอาจทำการเก็บข้อมูลการใช้งานสังคมออนไลน์ของประชาชนชาวอังกฤษมานานกว่าทศวรรษและยังแชร์ให้กับหน่วยงานลับของต่างชาติ หลายฝ่ายยังคงตั้งข้อสงสัยการกระทำครั้งนี้ว่าเป็นการเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือไม่? กลุ่ม Privacy International  ได้อ้างว่ามีเอกสารที่แสดงถึงการทำงานของหน่วยงานลับนี้ว่ามีการเข้าถึงข้อมูลสังคมออนไลน์จากฐานข้อมูลบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง โดยกลุ่ม PI ได้กล่าวว่าพวกเขาได้รับจดหมายยืนยันถึงการกระทำที่ไม่เหมาะสมและมิอาจควบคุมได้ว่ามีการแชร์ข้อมูลกับอุตสาหกรรมภายนอกและยังคงดำเนินต่อไป นอกจากนั้นด้วยข้อสัญญาของรัฐบาลทำให้อุตสหกรรมภายนอกดังกล่าวสามารถเข้าถึงระบบของหน่วยงานและได้รับข้อมูล กลุ่ม PI ยังคงกล่าวเพิ่มเติมว่าจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีข้อมูลอะไรอีกบ้างที่หน่วยงานข้อมูลของรัฐบาลได้ไป เช่น ข้อมูลการค้าและการเงิน การสื่อสาร การเดินทาง และเอกสิทธ์ของการสื่อสารแม้ว่าจะถูกฏหมายก็ตาม Millie Graham Wood ที่ปรึกษาด้านกฏหมายของกลุ่ม PI กล่าวกับ International Bussiness Times ว่า “เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รู้ว่าข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ และข้อมูลอื่นๆที่ละเอียดอ่อน ถูกเก็บ แต่เราก็ไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นมานานแค่ไหนแล้ว” Lee Munson นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Comparitech.com  ยืนยันถึงข้อกล่าวหานี้ว่ามีความมันเป็นไปได้ “ผมไม่คิดว่ามันน่าแปลกใจหรอกนะ ถ้ารัฐบาลจะเก็บข้อมูลของทุกคนในสหราชอณาจักร เรารู้อยู่แล้วว่ามีการจัดตั้งหน่วยงาน Home Secretary ขึ้นหลายปีแล้วและตอนนี้รัฐมนตรี Teresa May ก็กระตือรือล้นกับบริการด้านความมั่นคงปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล ผ่านทาง investigatory Powers Act 2016 พวกเขาสามารถใช้อำนาจได้ตามที่ต้องการ โดยให้ผู้บริการเก็บข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ต อีเมล การใช้งานโทรศัพท์ ข้อความ จากนั้นรัฐบาลสามารถเข้าอ่านบทสนทนาและฟังโทรศัพท์ซึ่งแม้ไม่ต้องมีเหตุน่าสงสัย…

เอกสารลับเผยสหรัฐฯ รู้เรื่องสังหารหมู่ที่อินโดนีเซีย แต่ปิดปากเงียบ

Loading

มีการเปิดเผยเอกสารลับ 39 ฉบับที่เก็บรักษาไว้โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ ซึ่งเอกสารทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ชี้ว่า รัฐบาลสหรัฐฯได้รับรู้และติดตามเหตุการณ์สังหารหมู่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์และฝ่ายซ้ายในอินโดนีเซียนับล้านคน เมื่อช่วงระหว่างปี 1965-1966 แต่เลือกที่จะเงียบเฉย ไม่ได้แสดงท่าทีอย่างใดต่อโศกนาฏกรรมดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการสังหารหมู่ครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งแห่งศตวรรษที่ 20 เอกสารลับที่ถูกเปิดเผยในครั้งนี้ รวมถึงโทรเลขและรายงานข่าวกรองทางการทูตหลายฉบับ จากสถานทูตสหรัฐฯในกรุงจาการ์ตาและสถานกงสุลสหรัฐฯในอินโดนีเซียในช่วงสงครามเย็น ระหว่างปี 1964-1968 โดยโครงการคลังเอกสารความมั่นคงของชาติแห่งมหาวิทยาลัย จอร์จ วอชิงตัน ในสหรัฐฯ เป็นผู้ผลักดันให้มีการเปิดเผยเอกสารดังกล่าวสู่สาธารณะ ฝรั่งเศสเผยเอกสารลับชี้เหตุประหาร “มาตา ฮารี” เมื่อ 100 ปีก่อน อินโดนีเซียยอมรับคำขอโทษจากออสเตรเลีย หลังไม่พอใจหลักสูตรฝึกทหาร เหตุสังหารหมู่ครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงสิ้นเดือนกันยายน ปี 1965 หลังมีผู้พยายามก่อรัฐประหารและได้สังหารนายพลในกองทัพอินโดนีเซียไป 6 ราย ความพยายามก่อรัฐประหารที่ล้มเหลวทำให้กองทัพลงมือกวาดล้างขบวนการฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรง โดยมีกลุ่มองค์กรอิสลามที่ทรงอิทธิพลเข้าร่วมด้วย สถิติของทางการอินโดนีเซียระบุว่า มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 500,000 คนในการกวาด รายงานทางโทรเลขฉบับหนึ่งจากเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯในจังหวัดชวาตะวันออก ลงวันที่ 28 ธันวาคม ปี 1965 ระบุว่ามีการนำตัวเหยื่อที่จะถูกสังหารออกจากเขตชุมชน เพื่อนำไปฆ่าแล้วฝังดินไว้ แทนที่จะนำไปทิ้งลงน้ำอย่างที่เคยทำมา รวมทั้งมีการนำตัวเหยื่อไปให้กลุ่มพลเรือนบางส่วนสังหารอีกด้วย เอกสารอีกฉบับหนึ่งที่เลขานุการเอกของสถานทูตสหรัฐฯในขณะนั้นรวบรวมไว้ ซึ่งลงวันที่ 17 ธันวาคม…

ครม.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร ให้หน่วยงานรัฐเชื่อมข้อมูล ปัดล้วงความลับ ปชช.

Loading

ทีมโฆษกรัฐบาล เผย ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร ให้หน่วยงานรัฐเชื่อมข้อมูลกับทะเบียนราษฎร มท. “สรรเสริญ” เบรก ไม่ได้ล้วงความลับของประชาชน อนุญาตให้เข้าถึงเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้ (17 ต.ค.) เมื่อเวลา 15.40 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำวันที่ 17 ต.ค. 2560 ว่าที่ประชุมเห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับการปฏิบัติเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรให้มีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสำคัญ คือ 1. อนุญาตให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรได้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้เพื่อความเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐในสถานการณ์ปัจจุบัน 2. เพิ่มการรับแจ้งเกิดเด็กที่ถูกทอดทิ้ง เด็กเร่ร่อน เด็กที่ไม่ปรากฎบุพการี หรือไม่สามารถพิสูจน์สถานะการเกิดได้ 3. กำหนดการให้เลขประจำบ้านเฉพาะบ้านที่ปลูกอาศัยถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคารหรือกฎหมายอื่น กำหนดให้ผู้อำนวยการทะเบียนกลางจะกำหนดให้มีเลขประจำบ้านสำหรับแพ เรือ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำ ให้มีทะเบียนบ้านชั่วคราวเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบทางทะเบียน และ 4. แก้ไขเพิ่มเติมมิให้บ้านที่ถูกปลูกสร้างโดยบุกรุกที่ดินสาธารณะประโยชน์ หรือที่ดินของรัฐที่ไม่ใช่ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย หรือที่ดินทรัพย์สินของราชการ ไม่ให้กำหนดเลขประจำบ้าน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากส่วนราชการหรือหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมาย ทั้งนี้ กรณีบ้านที่ปลูกสร้างบุกรุกที่สาธารณะ และได้รับการกำหนดเลขประจำบ้านไปก่อนแล้วให้คงใช้ทะเบียนบ้านชั่วคราวต่อไปได้ แต่ถ้าบ้านดังกล่าวไม่มีผู้อยู่อาศัย หรือเป็นบ้านร้าง…

การประเมินมาตรการรักษาความปลอดภัยจากภาพกรณีการชุมนุมประท้วงและการควบคุมความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมืองเซนต์หลุยส์ สหรัฐฯ

Loading

รูปภาพการรายงานข่าวสารของสื่อมวลชนทั้งในสหรัฐฯ และต่างประเทศเกี่ยวกับกรณีกลุ่มประชาชนจำนวนหลายร้อยคนออกมาชุมนุมระหว่าง 15-18 กันยายน 2560ในเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรีสหรัฐฯ เพื่อประท้วงคำตัดสินของศาลยุติธรรมที่ให้ยกฟ้องคดีนายเจสัน สตอกลีย์ อดีตตำรวจเมืองเซนต์หลุยส์ จากข้อหาเจตนาฆ่านายแอนโธนี ลามาร์ สมิธ ชายผิวดำด้วยเหตุต้องสงสัยค้ายาเสพติด เมื่อเดือนธันวาคม 2554 เหตุการณ์ประท้วง 15 กันยายน 2560 เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ก่อเหตุได้ 33คนเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 11 นาย การเริ่มต้นเดินขบวนประท้วงของประชาชนเป็นไปโดยสงบ ช่วงบ่ายจนถึงกลางคืน/ภาพจากรอยเตอร์ ระหว่างการชุมนุมประท้วงช่วงบ่าย ปรากฎกลุ่มคนผิวดำถืออาวุธปืนหลายประเภทเข้าร่วมในกลุ่มเดินขบวน / ภาพจาก AP ข้อพิจารณา จากภาพนี้น่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ทางเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการควบคุมอย่างเข้มงวดกับผู้ชุมนุมประท้วงมากขึ้น ช่วงเย็นเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมอุปกรณ์ป้องกันความรุนแรงเริ่มทำการควบคุมพื้นที่ ด้วยการตั้งแถวปะทะกับผู้ประท้วงบางส่วน  / ภาพจากรอยเตอร์ กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล เตรียมความพร้อมอาวุธและหน้ากากป้องกันแก๊ซพิษ เนื่องจากกลุ่มผู้เดินขบวนประท้วงเริ่มใช้ความรุนแรงทำลายสิ่งของสาธารณะและทำการขว้างปาก้อนหินใส่บ้านนายกเทศมนตรีเมืองเซนต์หลุยส์ / ภาพจากรอยเตอร์ ในช่วงเย็น เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลแจ้งว่า ควบคุมกลุ่มคนที่ก่อเหตุรุนแรงด้วยการฉีดสเปรย์พริกไทย แต่กลุ่มผู้ประท้วงอ้างว่าเป็นแก๊ซน้ำตา /ภาพจากรอยเตอร์ เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปืนบรรจุกระสุนพลาสติก จับกุมตัวผู้ที่ใช้ก้อนหินขว้างปาอาคารพานิชย์ / ภาพจากรอยเตอร์ ข้อพิจารณา การประท้วงวันแรกจะเห็นว่า กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เพียงกระบองเป็นอาวุธควบคุมยังไม่นำปืนกลมาใช้ ภาพเหตุการณ์ประท้วง 16 กันยายน …