กรมศุลกากรสหรัฐฯ เพิ่มขั้นตอนตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของนักท่องเที่ยว

Loading

กรมศุลกากรสหรัฐฯ ได้อัปเดตประกาศคู่มือเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของนักท่องเที่ยว โดยประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ภายเขตปกครองของสหรัฐฯ ดังนั้นผู้จะเดินทางเข้าประเทศโปรดศึกษาคู่มือให้ดี โดยประกาศประกอบด้วยกฏระเบียบจำนวน 12 หน้า และ การประเมินความเป็นส่วนตัวอีก 22 หน้า ซึ่งทางกรมศุลกากรเองได้กำหนดไว้ชัดเจนถึงการตรวจค้นเบื้องต้นและการตรวจค้นขั้นสูงในครั้งแรก ข้อนึงในการตรวจค้นแบบใหม่คือกรมศุลกากรสามารถตรวจค้นนักท่องเที่ยวที่ต้องสงสัยหรือไม่ต้องสงสัยก็ได้ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สามารถสำรวจข้อมูลเบื้องต้นบนอุปกรณ์ที่เข้าถึงได้ในระบบปฏิบัติการหรือแอปพลิเคชันที่ลงเอาไว้ การตรวจค้นขั้นสูงทำได้แต่เจ้าหน้าที่ต้องมีเหตุผล การตรวจค้นขั้นสูงจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่มีการนำอุปกรณ์ของผู้ใช้เข้าไปตรวจค้นด้วยระบบค้นหาแบบพิเศษภายนอก ซึ่งระบบสามารถ ‘พิจารณา ทำสำเนาหรือวิเคราะห์’ ข้อมูลได้โดยต้องไม่สร้างความเสียหายกับข้อมูลนั้น อย่างไรก็ตามขั้นตอนตรวจค้นขั้นสูงจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุผลอันน่าเชื่อว่าเป็นผู้ต้องสงสัยในการก่ออาชญากรรมหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ โดยผู้ดูแลจะต้องแสดงหรืออย่างน้อยต้องแจ้งวันที่จะทำการค้นหาขั้นสูงเสร็จ การตรวจสอบแบบใหม่นี้ผู้ถูกสำรวจอาจจะได้รับอนุญาตให้อยู่ด้วยได้ระหว่างการค้นหาแต่ไม่ควรที่จะได้รับอนุญาตให้ดูขั้นตอนจริงด้วยตนเองในการตรวจค้นเพราะอาจเห็นเทคนิคกระบวนการตรวจสอบ ผู้ถูกสำรวจรายใดทำร้ายเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรหรือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติจะต้องถูกกำจัด เจ้าหน้ากรมศุลกากรไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลที่เก็บไว้บน Cloud ได้ “เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับหรือเข้าถึงข้อมูลจากภายนอกและไม่ได้แสดงอยู่บนอุปกรณ์ เจ้าหน้าที่อาจจะขอให้นักท่องเที่ยวปิดการเชื่อมต่อเครือข่ายใดๆ (เช่น เปิดโหมดเครื่องบิน) หรือ ด้วยการบังคับใช้กฏหมาย หมายค้นจากความมั่นคงปลอดภัยระดับชาติ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือกระบวนการพิจารณาอื่นๆ ตัวเจ้าหน้าที่เองสามารถปิดการเชื่อมต่อได้ –คู่มือระบุเอาไว้ โดยกรมศุลกากรอ้างว่าการตรวจค้นนี้เพื่อสู้กับกิจกรรมของผู้ก่อการร้าย รูปภาพเปลือยของเด็ก การปลอมแปลงวีซ่า การละเมินทรัพย์สินทางปัญญา และ การละเมิดการส่งออก อย่างไรก็ตามมีความเห็นจากสาธารณะออกมาถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวว่าเจ้าหน้าที่ยังคงสามารถดำเนินการตรวจสอบโดยไม่ต้องมีหมายค้นต่อไปในการตรวจค้นอุปกรณ์ผู้ใช้งานโดยอาจเกิดจากการตัดสินผิดพลาด นอกจากนี้กรมศุลกากรได้แสดงสถิติการค้นหาในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาซึ่งทำการตรวจค้นไปแล้ว 19,051 อุปกรณ์ ในปี 2016 และ 30,200 อุปกรณ์ในปี 2017 จะเห็นได้ว่าเพิ่มขึ้นถึง 59% แต่เจ้าหน้าที่กล่าวว่ามันเป็นแค่ 0.007%…

Lost and Love (Shi gu)

Loading

Movie ของจีน (ปี 2558) “Lost and Love(Shi gu)” นำแสดงโดย Andy LauJing Boran เนื้อเรื่อง เป็นแนวดราม่า โดยสร้างจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในมณฑลหูเป่ย์ เมื่อปี 2553 จากการลักพาเด็กเล็กเพื่อนำไปขายต่างมณฑลของขบวนการค้ามนุษย์ในจีนเพราะค่านิยมตามคติความเชื่อโบราณของครอบครัวจีนที่ต้องการมีบุตรชายจำนวนมากๆ ส่วนเด็กหญิงจะนำไปขายตามซ่องโสเภณี ซึ่งเนื้อเรื่องหลักของภาพยนตร์นี้จะเกี่ยวกับพ่อที่เดินทางไปยังมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศจีน เพื่อตามหาลูกชายที่ถูกลักพาตัวไปตั้งแต่ยังเล็ก โดยจุดหมายในการเดินทางแต่ละครั้งมาจากข้อมูลแจ้งเบาะแสบนโซเชียล เน็ตเวิร์คภาคประชาชนที่ช่วยเหลือกัน  โดยข้อมูลที่ส่งเข้ามาล้วนมีความชัดเจนและเชื่อถือ เพราะผู้ส่งตรวจสอบจนมั่นใจจากพื้นที่เกิดเหตุและข้อมูลของรัฐอีกทั้งตัวผู้ส่งข้อมูลจะมาให้ความร่วมมือด้านต่างๆ และพาไปยังสถานที่ตามข้อมูลที่ตนแจ้งไว้อีกด้วย  เครือข่ายข้อมูลบนโซเชียล เน็ตเวิร์ค ในภาคประชาชนที่เกิดขึ้นด้วยความเต็มใจร่วมมือแลมีความสอบทานข้อเท็จจริงเช่นนี้ หากกระทำได้จริงนับเป็นฐานข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของรัฐได้อย่างดียิ่ง  

Love 020

Loading

  The SeriesTheMovie Series ของจีน (ปี 2559) “Love 020” จำนวน 30 ตอน นำแสดงโดย YangYang ZhengShuang Movie ของจีน (ปี 2559) “Love 020” นำแสดงโดย JingBoran Angelababy เนื้อเรื่อง ทั้งซีรี่ส์และภาพยนตร์สร้างจากนวนิยายเรื่องเดียวกัน แนวโรแมนติกของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน โดยใช้การเล่นและพัฒนาเกมส์คอมพิวเตอร์เป็นแนวการเดินเรื่อง เนื้อเรื่องมิได้ให้แนววิธีการรักษาความปลอดภัยที่ชัดเจน แต่เสนอความคิดที่เหมาะสำหรับนำมาใช้กับงานรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศได้จริง 1.จากซีรี่ส์ “Love 020” 1.1 เสนอแนวความคิดในการนำเอาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของจีนมาประกอบหรือแทรกในเกมส์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เข้ามาเล่นเกมส์ ซึ่งเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ จะได้รับทราบและซึมซับไปโดยอัตโนมัติ นับเป็นวิธีการชักจูงหรือครอบงำที่ดีเช่นเดียวกับการล้างสมองเพียงแต่ใช้ระยะเวลายาวนานในการดำเนินการ 1.2 เป็นการนำเอาล่องรอยข้อมูลจากการติดต่อ สนทนาหรือร่วมกิจกรรมระหว่างกันของเป้าหมาย โดยเฉพาะจากการร่วมเล่นเกมส์ มาเป็นช่องทางสืบค้น ติดตามจนพบตำแหน่งที่พำนักแต่ไม่สามารถพิสูจน์ทราบตัวตนได้ทัน เนื่องจากเป้าหมายถอนตัวออกจากเว็บไซต์ไปก่อน 1.3 แสดงถึงความสำคัญของ server และการเตรียมserver สำรองไว้ทดแทน หากserver…