สถาบันการเงินปรับตัวรับดิจิทัล ตั้งองค์กรกลาง-การพิสูจน์ตัวตน

Loading

สถาบันการเงินปรับตัวรองรับโลกดิจิทัล ลงทุนตั้งองค์กรกลาง-การพิสูจน์ตัวตน โดยไม่ต้องเห็นหน้ากันในอนาคต แม้ว่าในวันนี้ เวลานี้ จะมีกรณีที่มี มิจฉาชีพได้เข้าไปปลอมแปลงตัวเองผ่านการขโมยบัตรประชาชน + สวมหน้ากากอนามัย + ท้าทายกระบวนการเปิดบัญชี เพื่อการนำเงินเข้าและโอนเงินออกจากการกระทำความผิดนั้น ผมเองก็เฝ้าติดตามว่าเรื่องนี้มันจะไปจบตรงไหน ใครจะเป็นแพะ ใครจะเป็นแกะใครจะเป็นผู้ร้าย ใครจะเป็นพระเอก ที่สุดความจริงจะปรากฏ มันยังไม่ถึงเวลาที่จะไปตำหนิว่าใครหย่อนยาน ใครไม่ทำอะไรอย่างที่ควรจะทำ การออกตัวแรงๆ ของพี่ๆ ตามข่าวสารแบบฟันธง ผมในฐานะคนหัวโบราณอยากจะบอกว่า ระวังธงหัก ยังไม่ชัดอย่ารีบ สงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหารนะครับ … จากการให้ข้อมูลของผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนกรณีที่บุคคลถูกนำบัตรประชาชนไปเปิดบัญชีว่า ภาคเอกชนและภาครัฐที่มีการนำบัตรประชาชนไปใช้ลงทะเบียนลูกค้าหรือผู้มาขอรับบริการนั้น มีสิ่งที่ต้องทำ 3 เรื่องอย่างเข้มข้น คือ 1.ต้องดูหน้าตาว่าผู้มาขอใช้บริการ หน้าตาเหมือนในบัตรหรือไม่ (Face to face) 2.ต้องตรวจสอบว่าบัตรประชาชนใบที่ใช้ทำธุรกรรมเป็นของจริงหรือปลอม (สามารถตรวจสอบได้โดยใช้เครื่องอ่านบัตรประชาชน) 3.ในกรณีมีการแจ้งบัตรหาย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครองมีระบบให้คอมพิวเตอร์ของแต่ละหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบได้ว่า บัตรใบนี้มีสถานภาพเป็นปกติ ถูกแจ้งหายหรือถูกยกเลิก หากได้ทำครบทั้ง 3 ขั้นตอนจะสามารถยืนยันพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนในโลกการทำธุรกิจแบบมาเจอหน้ากัน พิสูจน์กัน แล้วก็ตกลงทำรายการของกันและกัน กลับมาเวลานี้ครับ ทางกระทรวงการคลังกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มี คำสั่งที่…

แฉกลเม็ดโจรไซเบอร์! ต้มเหยื่อไทยหลอกให้เซ็นรับพัสดุจนสูญเสียเงิน

Loading

โดย…วิรวินท์ ศรีโหมด  การหลอกลวงของมิจฉาชีพในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ด้วยยุคเทคโนโลยีที่เข้าถึงทุกคนได้ง่าย จึงเป็นช่องทางที่ผู้ไม่หวังดีสามารถแฝงตัวเข้ามาได้ง่าย หนึ่งในนั้นคือ <strong>“หลอกลวงให้เซ็นรับพัสดุจนสูญเสียเงิน” ซึ่งกำลังเป็นภัยสังคมที่แพร่หลายขณะนี้ วันนี้โพสต์ทูเดย์ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานทางด้านนี้ จะมาเปิดโปงขบวนการรวมถึงแนะนำวิธีการระมัดระวังตัวไม่ให้เสียรู้ แฉกลลวงหลอกให้เซ็นรับ-สุดท้ายเสียเงิน ภัยรูปแบบดังกล่าวหากไม่ระวังตัวหรือรู้เท่าทันคุณอาจตกเป็น “เหยื่อ” สมาชิกเฟซบุ๊กรายหนึ่งเล่าประสบการณ์ที่พบเจอกับพฤติกรรมของมิจฉาชีพว่า ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีกล่องพัสดุระบุชื่อของตัวเองส่งมาจากประเทศจีน โดยพนักงานจัดส่งได้มีการเรียกเก็บเงินเป็นจำนวน 1,680 บาท แต่ด้วยความโชคดีที่ไม่เคยซื้อของออนไลน์แบบเก็บเงินปลายทางมาก่อน จึงสงสัยและปฏิเสธการเซ็นรับพัสดุชิ้นนั้นพร้อมกับจ่ายเงินไป เมื่อสอบถามไปยังบริษัทส่งของก็ทราบว่ามีเรื่องร้องเรียนประเภทนี้ทุกวัน โดยมิจฉาชีพจะสุ่มส่งของหาเหยื่อ เมื่อเซ็นรับก็ต้องจ่ายเงินซึ่งจะตกหลุมพรางทันที ทั้งที่มูลค่าของในกล่องราคาไม่มาก ขณะที่สมาชิกเฟซบุ๊กอีกรายเล่าว่า สั่งโมเดลไอรอนแมนมาจากเพจเฟซบุ๊กหนึ่ง โฆษณาว่าเป็นของแท้ที่โรงงานผลิตเกินจำนวนจึงนำออกมาขายในราคา 2,000 บาท จากราคาปกติประมาณ 30,000 บาท เมื่อของส่งมาถึงก็ได้เปิดพัสดุดูก่อน (ได้รับการยินยอมจากผู้ส่ง) แต่เมื่อเปิดของออกมาดูก็พบว่าของไม่ตรงตามรายละเอียดที่ลงโฆษณาไว้จึงปฏิเสธการรับ พ.ต.อ.โอฬาร สุขเกษม ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ให้ข้อมูลว่า ขบวนการนี้ส่วนใหญ่อยู่ในไทย นอกนั้นมาจากประเทศเพื่อนบ้าน จีนและประเทศแถบแอฟริกา รูปแบบการหลอกจะส่งของมาที่บ้านหรือเปิดเฟซบุ๊กหรือเว็บไซต์พร้อมกับนำข้อมูลอันเป็นเท็จลงไว้ หากมีผู้สนใจติดต่อซื้อขายก็จะตกเป็นเหยื่อทันที ผกก. 3 ปอท. มองว่า การฉ้อโกงรูปแบบนี้ไม่ต่างจากอดีต เพียงแต่ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสารเพิ่มขึ้น และผู้ตกเป็นเหยื่อก็มักโพสต์เตือนภัยลงในโซเชียลมีเดีย…

จนท.กดปุ่มพลาดส่งข้อความเตือนภัยขีปนาวุธทั่วฮาวาย

Loading

ข้อความเตือนภัยที่แจ้งว่ากำลังมีขีปนาวุธมุ่งหน้ามายังรัฐฮาวายและให้ทุกคนหาที่หลบภัยโดยด่วน สร้างความตื่นตระหนกและปั่นป่วนวุ่นวายไปทั่วหมู่เกาะ ก่อนที่ทางการจะออกมาแจ้งว่าเป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ซึ่งบังเอิญไปกดปุ่มเตือนภัยทั้งที่ไม่มีเหตุร้ายใด ๆ เกิดขึ้น ข้อความเตือนภัยดังกล่าวถูกส่งไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชน รวมทั้งสถานีโทรทัศน์และวิทยุต่าง ๆ ซึ่งพากันออกอากาศแจ้งเตือนภัยต่อกันไปในวงกว้าง เมื่อเวลา 8.07 น. ของวันเสาร์ที่ 13 ม.ค. ตามเวลาท้องถิ่น (ราว 1.07 น. ของวันอาทิตย์ที่ 14 ม.ค. ตามเวลาในประเทศไทย) ข้อความดังกล่าวระบุว่า “ขีปนาวุธกำลังมุ่งหน้ามาสู่ฮาวาย หากท่านอยู่กลางแจ้งให้รีบหาที่หลบภัยในอาคาร อยู่ให้ห่างจากหน้าต่าง หากขับรถอยู่ให้รีบจอดข้างทาง หาที่หลบภัยที่ใกล้ที่สุดและนอนราบลงกับพื้น เราจะแจ้งให้ท่านทราบอีกครั้งเมื่อภัยสิ้นสุดลง นี่ไม่ใช่การซ้อม” อย่างไรก็ตาม ไม่มีสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น และในอีก 18 นาทีต่อมาทางการรัฐฮาวายได้ส่งข้อความแจ้งว่าเป็นการส่งข่าวสารที่ผิดพลาด โดยที่จริงแล้วสถานการณ์ยังเป็นปกติและมีความปลอดภัย บรรดาผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่างแสดงความไม่พอใจต่อความผิดพลาดของทางการในครั้งนี้ โดยนายแมตต์ โลเพรสติ สมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรรัฐฮาวายระบุว่า ตนกำลังอยู่ที่บ้านเมื่อได้รับข้อความเตือนภัย ทำให้ตกใจรีบพาลูกและภรรยาเข้าไปหลบในอ่างอาบน้ำซึ่งเป็นบริเวณที่มิดชิดแน่นหนาที่สุดของบ้านพร้อมกับสวดมนต์ภาวนาไปด้วย เหตุนี้ทำให้เขาโกรธมากเมื่อได้ทราบในภายหลังว่าเป็นการแจ้งข่าวผิดพลาด การแจ้งเตือนภัยดังกล่าวยังทำให้การแข่งขันกอล์ฟรายการยูเอส พีจีเอ ฮาวาย โอเพ่น ที่ฮอนโนลูลูต้องหยุดชะงักลงกลางคันอีกด้วย นายเดวิด อีเก ผู้ว่าการรัฐฮาวายได้ออกมากล่าวขออภัยต่อประชาชน และแจ้งว่าการเตือนภัยที่ไม่เป็นความจริงในครั้งนี้ เกิดขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานบริหารจัดการเหตุฉุกเฉิน (EMA)…