Facebook และ Microsoft ออกระบบ Privacy ใหม่ รับ GDPR

Loading

General Data Protection Regulation (GDPR) หรือกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองที่อาศัยอยู่ในเขตสหภาพยุโรปเตรียมถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม 2018 ที่จะถึงนี้ ทำให้หลายบริษัททั่วโลกเตรียมรีบเร่งเพื่อออกนโยบายและมาตรการควบคุมให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว ไม่เว้นแม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook และ Microsoft Credit: ShutterStock.com เพื่อสามารถให้บริการตาม GDPR ทาง Facebook ได้ออก Global Privacy Center ใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้ Facebook สามารถบริหารจัดการข้อมูลที่ตนต้องการจะแชร์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตั้งค่าความเป็นส่วนบุคคล (Privacy) ของตนได้อย่างครอบคลุม สำหรับ Microsoft นั้น ได้เพิ่มหน้า Activity History เข้าไปยัง Microsoft Privacy Dashboard ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูว่ามีข้อมูลอะไรที่บันทึกอยู่ในบัญชีของ Microsoft บ้าง รวมไปถึงปรับแต่งความเป็นส่วนบุคคลของตนบนอุปกรณ์และเบราว์เซอร์ได้ และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ผู้ใช้จะสามารถเรียกดูและบริหารจัดการข้อมูลที่ใช้ไป กิจกรรมที่เกิดขึ้นบนอุปกรณ์และบริการต่างๆ รวมไปถึงสามารถนำข้อมูลที่เห็นบน Dashboard ออกมาและลบบางส่วนที่ไม่ต้องการทิ้งได้ ตรงกับความต้องการของ GDPR ที่ระบุว่าผู้ใช้ต้องมีสิทธิ์ลบข้อมูลส่วนบุคคลทิ้งได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังมี…

ใครคือผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมาย GDPR

Loading

กฏหมาย GDPR กำลังจะถูกใช้ในกลุ่มประเทศ EU ประมาณกลางปี 2018 โดยเรื่องนี้มีผู้ได้ผลกระทบไม่น้อย วันนี้เราจึงสรุปบทความที่นำเสนอถึงมุมมองว่า GDPR นั้นมีผลกระทบอย่างไร จริงๆแล้วใครมีผลกระทบบ้างและบริษัทหรือผู้ให้บริการ Cloud มีการรับมือกับกฏหมายนี้อย่างไร ซึ่งแม้แต่ในประเทศเราเองหากท่านใดที่มีการทำธุรกิจกับกลุ่มประเทศใน EU หรือมีการใช้ Cloud ในโซนนั้นก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ส่วนนึงที่สำคัญมากกับกฏหมายนี้คือคำว่า ‘Data Localization‘ ซึ่งอ้างถึงการเก็บข้อมูลต้องอยู่ภายในภูมิภาคหรือประเทศเดียวกันกับที่ๆ ข้อมูลนั้นเกิดขึ้น ซึ่งประเทศอย่าง จีน เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอแลนด์ รัสเซีย อินโดนีเซีย แคนย่า แทนซาเนีย และอีกหลายประเทศสามารถผ่านคำสั่งนี้ก่อนปี 2018 แล้ว อันที่จริงแล้ว GDPR ได้กล่าวถึงการที่ข้อมูลส่วนบุคคลจะสามารถถูกส่งไปในประเทศนอก EU ซึ่งมีระดับการปกป้องที่ได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น หากองค์กรใดมีข้อสงสัยแม้เพียงน้อยนิดต่อปลายทางนั้นก็ไม่สามารส่งข้อมูลไปที่นั่นได้ เนื่องด้วยบทปรับอันแสนแพงหลายองค์กรจึงต้องทำให้แน่ใจว่าข้อมูลของลูกค้าจะไม่ออกไปนอก EU รวมถึงประเทศที่ข้อมูลนั้นเกิดขึ้นด้วย นอกจากนี้ภายในกฏหมาย GDPR ยังมีนิยามคำว่า ‘Data Controller’ และ ‘Data Processor’ ที่ต้องเข้าใจดังนี้ Data Controller หมายถึง…