รู้จัก “โนวีชอก” สารพิษทำลายประสาทที่ใช้วางยาอดีตสายลับรัสเซีย

Loading

นายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ของสหราชอาณาจักร เผยต่อที่ประชุมสภาสามัญชนว่า กรณีที่นายเซอร์เก สกริปาล อดีตสายลับรัสเซียและบุตรสาวถูกลอบทำร้ายด้วยสารพิษนั้น ผลการตรวจสอบชี้ว่าสารเคมีดังกล่าวคือสารพิษทำลายประสาทกลุ่ม “โนวีชอก” (Novichok) ที่คิดค้นโดยสหภาพโซเวียต ซึ่งปกติแล้วจะถูกนำไปใช้เป็นอาวุธเคมี การที่สารพิษดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับรัสเซีย ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้บงการใช้สารพิษลอบสังหารอดีตสายลับจะเป็นทางการรัสเซียเอง ซึ่งรัฐบาลสหราชอาณาจักรกำลังเรียกร้องให้รัสเซียชี้แจงภายในวันนี้ (13 มี.ค.) มิฉะนั้นจะถือว่ารัสเซียได้ “ใช้กำลังโดยผิดกฎหมาย” ในดินแดนของอังกฤษ ซึ่งทำให้ชีวิตของพลเรือนผู้บริสุทธิ์จำนวนมากต้องตกอยู่ในอันตรายไปด้วย ชื่อของสารพิษทำลายประสาท “โนวีชอก” มีความหมายว่า “ผู้มาใหม่” หรือ “เด็กใหม่” ในภาษารัสเซีย เป็นสารพิษกลุ่มที่พัฒนาขึ้นระหว่างช่วงทศวรรษ 1970-1980 เพื่อใช้งานเป็นอาวุธเคมี “รุ่นที่ 4” ในปี 1999 เจ้าหน้าที่จากสหรัฐฯได้ค้นพบสารพิษนี้จำนวนหนึ่งในอุซเบกิสถาน ขณะเข้าตรวจสอบและทำลายโรงงานผลิตอาวุธเคมีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของสหภาพโซเวียต ทำให้พบว่าสารพิษกลุ่มโนวีชอกนั้นได้รับการออกแบบคิดค้นมาเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติตรวจพบร่องรอยได้โดยง่าย สารพิษตัวหนึ่งในกลุ่มนี้คือโนวีชอก เอ-230 (Novichok-A-230) มีความเป็นพิษรุนแรงยิ่งกว่าก๊าซพิษซารินและสารพิษทำลายประสาทวีเอ็กซ์ (VX nerve agent) ที่ใช้ลอบสังหารพี่ชายต่างมารดาของนายคิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือราว 5-8 เท่า ทั้งยังเป็นสารเคมีที่ซับซ้อนยากต่อการพิสูจน์บ่งชี้หลังการใช้งานว่าเป็นสารชนิดใดกันแน่อีกด้วย มีรายงานว่ารัสเซียได้ผลิตสารพิษโนวีชอก เอ-230 ในรูปแบบใหม่ออกมาอีก…

FSB หน่วยข่าวกรองชั้นนำของรัสเซีย

Loading

  Federal Security Service (FSB) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2538 ปรับมาจากหน่วย KGB (Komitet Gosudarstvennoy Bezopasnosti KGB ชื่ออังกฤษ State Security Committee คณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ เป็นอดีตหน่วยงานกลางดูแลการข่าว ความมั่นคงและตำรวจสันติบาล) ของสหภาพโซเวียต โดยเป็นหน่วยงานการข่าวกรอง ทำหน้าที่สืบราชการลับที่จัดเป็นภัยคุกคามต่อรัฐ ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายและการจารกรรมของรัสเซีย ทั้งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานร่วมกับกองกำลังตำรวจต่างชาติในการปราบปรามและต่อต้านกลุ่มมุสลิมจีฮัด รวมทั้งอาชญากรรมบางประเภท ตลอดจนการจลาจล ปฏิบัติการต่อต้านหรือการเรียกร้องต่างๆ ต่อรัฐบาล เช่น กรณีกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนจากเชชเนียในสงครามสองครั้ง เมื่อ พ.ศ.2533 และ พ.ศ.2543 การปฏิวัติกุหลาบ (Rose Revolution) ของจอร์เจีย เมื่อ พ.ศ.2547 และการปฏิวัติสีส้มของยูเครน เมื่อ พ.ศ.2548 หรือกรณีเมื่อ พ.ศ.2558 เอสโตเนียได้กล่าวหารัสเซียว่า ลักพาตัวนาย Eston Kohver เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพื่อใช้แลกเปลี่ยนกับสายลับรัสเซียที่ถูกตัดสินจำคุก   กรณีเกี่ยวกับการใช้สารพิษของหน่วย FSB เมื่อ…

Russia ‘test-fires hypersonic Kinzhal missile’

Loading

  Russia says it has successfully test-launched a hypersonic missile, one of a range of nuclear-capable weapons announced by President Vladimir Putin earlier this month. The country’s defence ministry released video footage showing the missile detaching from a fighter jet and leaving a fiery trail behind it. It said the intended target was hit. On…

รัฐสภาฟลอริดาผ่านกฎหมายเพิ่มอายุขั้นต่ำผู้ซื้อปืน-ให้บุคลากรในโรงเรียน “พกอาวุธ”

Loading

รอยเตอร์ – รัฐสภาแห่งรัฐฟลอริดาผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาวุธปืนเมื่อวานนี้ (7 มี.ค.) โดยกำหนดเพิ่มอายุขั้นต่ำสำหรับบุคคลที่จะซื้อปืนไรเฟิลเป็น 21 ปี การจำหน่ายปืนทุกประเภทต้องมีระยะเวลารอ 3 วัน และอนุญาตให้ลูกจ้างบางคนในโรงเรียนของรัฐสามารถพกอาวุธได้ มาตรการทางกฎหมายล่าสุดมีขึ้นหลังเกิดโศกนาฏกรรมกราดยิงโรงเรียนมัธยม มาร์จอรี สโตนแมน ดักลาส ในเมืองพาร์คแลนด์ เมื่อวันที่ 14 ก.พ. ซึ่งทำให้นักเรียนและครูเสียชีวิตรวม 17 ราย และนำมาซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของกลุ่มผู้รอดชีวิตที่ต้องการเห็นรัฐควบคุมปืนมากกว่านี้ แม้ร่างกฎหมายฉบับนี้จะครอบคลุมข้อเสนอส่วนใหญ่ของนักเรียนและผู้ปกครอง แต่ยังไม่ตอบสนองข้อเรียกร้องสำคัญ คือการสั่งแบนปืนไรเฟิลจู่โจมแบบที่ถูกนำมาใช้ก่อเหตุเมื่อวันที่ 14 ก.พ. ฝ่ายที่สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้อ้างว่า เหตุกราดยิงโรงเรียนในสหรัฐฯ ซึ่งเกิดถี่ขึ้นจนน่าตกใจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คนร้ายมักจะใช้ “ปืนพก” เสียเป็นส่วนใหญ่ มาตรการเหล่านี้จะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยอัตโนมัติภายใน 15 วัน เว้นเสียแต่จะถูก “วีโต” โดย ริค สก็อตต์ ผู้ว่าการรัฐฟลอริดาซึ่งเป็นคนของพรรครีพับลิกัน โฆษกหญิงของ สก็อตต์ ออกมาระบุเมื่อวันอังคาร (6) ว่า เขายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะลงนามรับรองร่างกฎหมายนี้หรือไม่ ร่างกฎหมายยังเปิดทางให้บุคลากรในโรงเรียนสามารถพกปืนขณะปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งก็มีเสียงวิจารณ์ว่า การอนุญาตเช่นนี้อาจทำให้นักเรียนส่วนน้อยเสี่ยงต่อการถูกยิงเพราะทำผิดวินัย…

ออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรและด้วยวาจา … เจ้าหน้าที่ตามคำสั่งใด ? ต้องรับผิด !

Loading

ตัวอย่างคำวินิจฉัยที่น่าสนใจ : เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น นางสาวฐิติพร ป่านไหม พนักงานคดีปกครองชํานาญการ กลุ่มเผยแพร่ขอมูลทางวิชาการและวารสาร สํานักวิจัยและวิชาการ สํานักงานศาลปกครอง ในทางปฏิบัติของการจัดทำภารกิจของหน่วยงานทางปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคนั้น หน่วยงานทางปกครองจะมีการมอบหมายหรือแต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ควบคุมดูแลหรือดำเนินการเพื่อให้ภารกิจดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งโดยทั่วไปหน่วยงานทางปกครองหรือผู้มีอำนาจเลือกที่จะใช้รูปแบบการออกคำสั่งเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความชัดเจน แต่ในบางกรณีหน่วยงานทางปกครองหรือผู้มีอำนาจอาจเลือกที่จะใช้รูปแบบการออกคำสั่งด้วยวาจามอบหมายให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดปฏิบัติหน้าที่ ถ้ากิจการงานที่มอบหมายนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนหรือมีความจำเป็น โดยกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนั้นไม่ได้กำหนดรูปแบบไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะต้องออกคำสั่งโดยทำเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งกรณีเช่นนี้ หน่วยงานทางปกครองย่อมสามารถที่จะออกคำสั่งทางปกครองโดยถือปฏิบัติตามรูปแบบที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กำหนดไว้ กล่าวคือ การออกคำสั่งทางปกครองอาจทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาหรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ (มาตรา 34) และในกรณีที่คำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคำสั่งร้องขอและการร้องขอได้กระทำโดยมีเหตุอันสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ (มาตรา 35) และคำสั่งทางปกครองนั้นย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น (มาตรา 42 วรรคสอง) อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้อาจเกิดประเด็นปัญหาว่า ถ้าแต่เดิมผู้มีอำนาจได้ออกคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว แต่ต่อมาผู้มีอำนาจได้ออกคำสั่งด้วยวาจาเปลี่ยนแปลงให้เจ้าหน้าที่อื่นทำหน้าที่แทน โดยไม่ได้ยกเลิกคำสั่งเดิมที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายตามคำสั่งซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว หากมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ คดีปกครองที่นำมาเป็นอุทาหรณ์ในคอลัมน์กฎหมายใกล้ตัวฉบับนี้ เป็นกรณีที่หน่วยงานทางปกครองมีคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้เป็นผู้ควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิด ทั้งที่ความเสียหายเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้มีอำนาจได้มอบหมายงานด้วยวาจาให้เจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้รับผิดชอบแทน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้มีว่า เทศบาลตำบลเสาไห้ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) ได้มีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรแต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นช่างโยธาเป็นผู้ควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้างงานก่อสร้างปรับปรุงและตกแต่งอาคารที่ทำการ ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยนายกเทศมนตรีได้มีคำสั่งด้วยวาจาให้ปลัดเทศบาลตำบลเสาไห้…