วิชา “รู้เท่าทันข่าวปลอม” ชั้นเรียนใหม่ของเด็กมัธยมอเมริกัน

Loading

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนมัธยม Wakefield High School ในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย กำลังเรียนรู้การจำแนกข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายบนโลกอินเตอร์เน็ต ด้วยคำแนะนำจากอาจารย์วิชาสังคม Patricia Hunt ที่ใช้หลักสูตรออนไลน์ Checkology ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนรู้จักตัวอย่างของข่าวสารและข้อมูลที่บิดเบือน ชี้นำ และหลอกลวง ในชั้นเรียนนี้ อาจารย์ Patricia หยิบยกเหตุยิงกราดที่โรงเรียนมัธยม ในเมืองพาร์คแลนด์ รัฐฟลอริดา เพื่อให้พวกเขาคิดวิเคราะห์และจำแนกข้อมูล ข่าวสาร และข่าวลือ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ได้ อาจารย์ Patricia บอกว่า เด็กๆ ได้รับข้อมูลข่าวสารมากมาย ทั้งสิ่งที่เป็นข่าวจริง ข่าวปลอม ข่าวลือ และข้อมูลที่บิดเบือน ซึ่งเธอก็หวังว่าวิชานี้จะช่วยให้เด็กๆ มีความรู้ความเข้าใจและแยกแยะได้ว่าสิ่งใดคือข่าว และระบุถึงข้อมูลที่มีอคติ ข่าวลวง รวมทั้งโฆษณาชวนเชื่อ ด้าน Alan Miller ผู้ก่อตั้งองค์กร News Literacy Project ที่มีหลักสูตรออนไลน์ Checkology นี้ บอกว่า วัยรุ่นรับรู้ข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และมักเชื่อข้อมูลที่พวกเขาได้รับจากเพื่อนฝูง ที่น่าตกใจคือ…

เรียนท่านรัฐมนตรี รู้หรือไม่? ข้อมูลบนหน้าบัตรประชาชน เอาไปทำอะไรได้บ้าง

Loading

  หลายคนอาจจะตกใจ ร้องเสียงหลง หรืออยากยกมือทาบอก เมื่อรัฐมนตรีมหาดไทยออกมาพูดถึงกรณีค่ายมือถือหนึ่งทำข้อมูลลูกค้านับหมื่นคนรั่วไหล ว่า “มีเพียงข้อมูลหน้า” (ย้ำคำว่า ‘เพียง’) ไม่ใช่ข้อมูลเขิงลึกอะไร ทั้งๆ ที่สิ่งที่ปรากฎในหน้าบัตรประชาชน ก็มีข้อมูลเชิงลึกอยู่ตั้งหลายอย่างแล้ว! ถ้าคุณมีอายุเกินเจ็ดขวบ เราเชื่อว่าทุกคนมีบัตรประชาชนอยู่ในกระเป๋าสตางค์ ลองหยิบขึ้นมาพินิจพิจารณากันดูว่า บนหน้าบัตรมีข้อมูลอะไรปรากฎอยู่บ้าง เลขบัตรประชาชน 13 หนัก ชื่อตัว-ชื่อสกุล วัน/เดือน/ปีเกิด ที่อยู่ วันออกบัตร ผู้ออกบัตร วันที่บัตรหมดอายุ และรูปถ่าย ซึ่งแค่ ‘ข้อมูล 8 อย่าง’ นี้ก็เอาไปทำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง The MATTER จะเล่าให้ฟังว่ามีอะไรบ้าง เพียงข้อมูลหน้าบัตรประชาชนนี่แหล่ะ ไม่ต้องไปใช้เครื่องดูข้อมูลอะไรในชิปที่แปะมากับบัตรเลย เปิดบัญชีธนาคาร สมัครบัตรเครดิต เปิดใช้งานโทรศัพท์มือถือ ขอสินเชื่อ/กู้เงิน เช็คข้อมูลภาษี ใช้สมัครงาน ใช้สมัครสมาชิกสินค้า/บริการบางประเภท ใช้ทำธุรกรรม ใช้ยืนยันตัวตน ใช้รับเงิน ใช้เข้าถึงข้อมูลอื่นๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ด้วยความหลากหลายของการใช้งาน เพียงหน้าบัตรประชาชนนี่แหล่ะ ทำให้มีการรณรงค์ว่าเมื่อนำสำเนาไปใช้ทำอะไรแล้ว นอกจากเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง เจ้าของบัตรจำเป็นจะต้องขีดคร่อมด้วยว่าเอาไปใช้ทำอะไร…

MILLIONS OF APPS LEAK PRIVATE USER DATA VIA LEAKY AD SDKS

Loading

SAN FRANCISCO – Millions of apps leak personal identifiable information such as name, age, income and possibly even phone numbers and email addresses. At fault are app developers who do not protect ad-targeting data transmitted to third-party advertisers.“ “The scale of what we first thought was just specific cases of careless application design is overwhelming,”…

นักวิจัยระบุหลายล้านแอปพลิเคชันเผยข้อมูลผู้ใช้ผ่าน SDK การโฆษณา

Loading

ในงาน RSA ที่จัดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกานักวิจัยจาก Kaspersky Lab ได้เผยถึงงานวิจัยว่า “มีแอปพลิเคชันหลายล้าน รวมถึง SDK จาก Thrid-party เผยให้เห็นถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถดักจับและแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ซึ่งอาจนำไปสู่การติดมัลแวร์ Blackmail หรือการโจมตีในรูปแบบอื่นต่ออุปกรณ์ต่อไป“ นาย Roman Unuchek ได้กล่าวถึงว่าปัญหาคือข้อมูลนั้นถูกส่งผ่าน HTTP จะถูกดักจับได้ง่ายเพราะไม่มีการป้องกันและถูกแชร์อยู่ในเครือข่าย Wi-Fi หรือ ISP เดียวกัน แม้กระทั่งมัลแวร์ที่อาจฝังอยู่ในเร้าเตอร์ตามบ้านเอง โดยข้อมูลที่ไม่มีการปกป้องเหล่านี้สามารถถูกผู้ร้ายแก้ไขเปลี่ยนแปลง เช่น แก้ไขเพื่อแสดงโฆษณาอันตราย ล่อลวงให้ผู้ใช้โหลด Trojan มาติดตั้งเพื่อนำไปสู่มัลแวร์อื่นๆ ต่อไป เมื่อสืบเสาะกลับไปที่ต้นตอของปัญหาพบว่านักพัฒนาใช้ SDK ที่ผูกติดกับเครือข่ายโฆษณาที่ได้รับความนิยมเพื่อประหยัดเวลา อย่างไรก็ตาม Kaspersky พบว่า SDK เหล่านั้นมีช่องโหว่เนื่องจากไม่มีการปกป้องข้อมูลที่ถูกส่งระหว่างแอปพลิเคชันและเซิร์ฟเวอร์เพื่อการโฆษณา ซึ่งมีแอปพลิเคชันหลายล้านใช้งาน SDK โค้ดเหล่านั้นอยู่เสียด้วย งานวิจัยที่ Unuchek ทำคือการมุ่งเป้าไปยังแอปพลิเคชันที่ใช้งาน HTTP Request ด้วย Method ของ GET และ POST ซึ่งจากการสำรวจ…