กรณีเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ นครนิวยอร์ก สหรัฐฯ เมื่อ 11 กันยายน 2544
ตอน 1/3 : ข้อพิจารณาด้าน Information Operating
ลำดับเหตุการณ์พังทลายของกลุ่มอาคารเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์
ข้อมูลที่สื่อมวลชนเผยแพร่ขณะนั้น
1. เวลา 8.46 น. เครื่องบินโดยสารเที่ยวบินที่ 11 ของสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ พุ่งชนอาคาร 1 (WTC 1/อาคารด้านเหนือ) ทำให้ผนังตัวอาคารฉีกขาดเป็นช่องและเกิดเพลิงไหม้ภายในตัวอาคาร อาคาร 1 ยุบตัวเมื่อเวลา 10.18 น.
2. เวลา 9.20 น. เครื่องบินโดยสารเที่ยวบินที่ 175 ของสายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลน์ พุ่งชนอาคาร 2 (WTC 2 /อาคารด้านใต้) และเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง พร้อมกับเพลิงลุกไหม้จากภายในอาคาร หลังการพุ่งชนไม่เกิน 40 นาที อาคาร 2 ยุบตัวลง ประมาณเวลา 9.59 น.
3. เวลา 15.10 น. อาคาร 7 (WTC7) เกิดเพลิงไหม้ จากภายในอาคาร และยุบตัวลงเวลา 16.20 น. โดยปรากฎข่าวสารว่า จากการยุบตัวของอาคาร 1 และอาคาร 2 ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามอาคาร 7 เป็นผลให้อาคาร 7 ยุบตัวตาม ซึ่งเกิดขึ้นหลังการยุบของอาคาร 1 และอาคาร 2 ไปแล้วประมาณ 5 ชั่วโมง
4. เกิดเพลิงไหม้อาคารโดยรอบในบริเวณใกล้เคียงไปพร้อมด้วย
ข้อมูลวิกิพีเดียที่เผยแพร่ในปัจจุบัน
อาคารสามหลังในกลุ่มเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ถล่มลงมาเพราะความเสียหายทางโครงสร้าง
1. ตึกเหนือ (WTC 1) ถล่มลงมา เมื่อเวลา 10.28 น.หลังเพลิงลุกไหม้นานกว่า 102 นาที
2. ตึกใต้ (WTC 2) ถล่มลงเมื่อเวลา 9.59 น. หลังเพลิงลุกไหม้นานกว่า 56 นาที ซึ่งเกิดจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งชนอาคาร
3. เมื่อตึกเหนือถล่ม เศษซากปรักหักพักตกลงมาโดนอาคาร 7 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้อาคารเสียหายและเกิดเพลิงไหม้ ไฟเหล่านี้ลุกไหม้นานหลายชั่วโมงเป็นอันตรายต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างอาคาร กระทั่ง WTC 7 ถล่มเมื่อเวลา 17.21 น.
(ข้อสังเกต : อาคาร 2 ถูกชนหลังอาคาร 1 ประมาณ 30 นาที แต่กลับยุบตัวก่อนอาคาร 1 )
ตามลำดับเหตุการณ์และภาพที่เสนอไว้ข้างต้นจะเห็นถึงข้อมูลบางส่วนที่น่าจะนำมาเป็นข้อพิจารณาด้าน Information Operating กล่าวคือ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารกรณี 911 นับเป็น Information Operating ที่ให้ประโยชน์ด้านบวกแก่สหรัฐฯ เพราะทำให้เกิดประชามติจากชาวอเมริกันและมิตรประเทศที่จะร่วมกันต่อต้านและปราบปรามการก่อการร้าย โดยเฉพาะที่มาจากกลุ่มมุสลิม จนกระทั่งผลการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงกรณี 911 พบข้อมูลหลายประเด็นที่บั่นทอนความน่าเชื่อถือของข่าวสาร ในแง่ที่ว่า ความเสียหายอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในกรณีนี้อาจเป็นปฏิบัติการซ้อนจากกลุ่มอิทธิพลในสหรัฐฯ เอง
อาคาร 1 และอาคาร 2 ของกลุ่มอาคารเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ เป็นอาคารแฝดที่มีความสูงถึง 110 ชั้น โครงสร้างแบบ Steel Framed Tube คือ มีแกนเหล็กตรงกึ่งกลางอาคารเป็นโครงสร้างหลัก มีเสารอบนอกที่อยู่ชิดกันและใช้คานยึดเสารอบนอกแต่ละตัวเข้าด้วยกัน เสาและคานรอบนอกเหล่านี้เป็นส่วนรับและกระจายน้ำหนักอาคารด้านข้างให้ทรงอยู่ได้ในลักษณะเดียวกับกล่อง นอกจากนี้ ยังใช้โครงเหล็กถักแบบท่อ (Truss Tube) มาเสริมการรับและกระจายน้ำหนักให้สมดุลกันระหว่างอาคารแฝดคู่นี้ด้วย และเพื่อเป็นการช่วยลดน้ำหนักของตัวอาคาร ในแต่ละชั้นผนังภายในบางส่วนจึงทำด้วยปูนปลาสเตอร์ ฉะนั้น เมื่ออาคารต้องปะทะกับแรงพุ่งชนด้วยความเร็ว 570 กิโลเมตรต่อชั่วโมงของเครื่องบินแบบโบอิง 767 ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 170 ตัน และเป็นการพุ่งชนแบบเฉือนตรงกึ่งกลางภายในอาคาร การปะทะดังกล่าวทำให้เกิดแรงผลักที่มาจากการเคลื่อนที่ของวัตถุ (Dynamic Load) อย่างมาก ประกอบกับแรงระเบิดจากการลุกไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงที่บรรจุมาเต็มถัง ส่งผลให้โครงสร้างแบบกระจายการรับน้ำหนักของอาคารทั้ง 2 หลัง ขาดความสมดุลแต่ยังไม่ถึงกับถล่มลงทันที แต่จากรายงานถึงเหตุผลที่ทำให้เกิดการถล่มมาจากเพลิงไหม้ในอาคาร ที่อ้างว่ามีอุณหภูมิสูง 825 องศาเซลเซียส ความร้อนนี้ทำให้โครงเหล็กถักอ่อนและบิดตัว ประกอบกับน้ำหนักอาคารที่กดทับ จึงทำให้เหล็กถักงอตัวจนเสียสมดุลและรับน้ำหนักไม่ไหว จึงฉีกขาดหรือหลุดออกจากจุดยึด ดังนั้น เมื่อเกิดการถล่มลงมาชั้นหนึ่ง ชั้นต่อมาจึงถล่มตามกันทั้งอาคารในลักษณะลูกโซ่ สำหรับอาคาร 7 ที่ยุบตามภายหลัง เนื่องเพราะการถล่มของอาคาร 1-2 เป็นเหตุให้รากฐานของอาคาร 7 เริ่มไม่มั่นคง ทั้งเกิดเพลิงไหม้ จึงทำให้โครงเหล็กค้ำยันของอาคาร 7 ถล่มลง
จากข้อมูลเกี่ยวกับการพังทลายนี้หลายด้านขาดความสอดคล้องกัน ทำให้กลุ่มนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ 50 คน ที่สำคัญได้แก่ ศาสตราจารย์สตีเวน อี.โจนส์ นักวิชาการด้านฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยบริกแฮม ได้รวมตัวกันเป็น “คณะทำงานเพื่อพิสูจน์ทราบกรณี 9/11” (Scholars for 9/11 Truth) ทำหน้าที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ โดยเฉพาะการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการยุบตัวของอาคารเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ทั้ง 3 หลัง ผลปรากฏว่า ศาสตราจารย์โจนส์ และสมาชิกสำคัญ ๆ ของคณะทำงานนี้ ให้ความเห็นว่า การยุบตัวของอาคารทั้งหมดน่าจะเกิดจากการระเบิดที่มีการควบคุม ซึ่งเป็นหลักเดียวกับการใช้แรงระเบิดรื้อถอนอาคารขนาดใหญ่ โดยมีข้อสังเกตจากลักษณะการหลอมละลายของโลหะที่ใช้สร้างอาคาร เช่น ผงขี้เถ้าสีขาวที่ฟุ้งกระจายขณะอาคารยุบตัว ผงขี้เถ้าเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้จากโลหะเผาไหม้ในระดับความร้อนที่สูงมาก หรือกรณีชิ้นส่วนเครื่องยนต์ของเครื่องบินโดยสารที่แตกกระเด็นไปเป็นระยะไกล ซึ่งการกระเด็นของชิ้นส่วนโลหะขนาดใหญ่เช่นนี้น่าจะมาจากแรงอัดจากวัตถุระเบิดมากกว่าแรงผลักจากการยุบตัวอาคารหรือแรงปะทะของการพุ่งชนอาคารจนเครื่องบินแตกกระจาย เป็นต้น
ศาสตราจารย์โจนส์ตั้งข้อสังเกตต่อการที่อาคาร 1-2 ถล่มลงในแนวตั้งอีกว่า คล้ายกับมีการวางระเบิดที่แกนกลางตึก ทั้งยังพบโลหะหลอมเหลวจำนวนมากที่ชั้นใต้ดินด้วย ซึ่งการหลอมละลายของโลหะเช่นนี้ต้องใช้ความร้อนถึง 1500 องศาเซลเซียส แต่จากการพุ่งชนและการลุกไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงจากเครื่องบินโบอิงจะให้ความร้อนเพียง 825 องศาเซลเซียส เท่านั้น
สำหรับอาคาร 7 ถล่มลงในแนวตั้ง ทั้งที่ไม่ได้ถูกเครื่องบินพุ่งชน ซึ่งคล้ายกับถูกวางระเบิดตามหลักการรื้อถอนอาคารเช่นกัน นอกจากนี้ ศาสตราจารย์โจนส์ได้ให้ข้อคิดเห็นอีกว่า ไม่เคยปรากฎว่ามีอาคารโครงสร้างเหล็กถล่มลงมาเนื่องจากไฟไหม้ ส่วนที่ว่าการถล่มของอาคาร 7 เกิดขึ้นสืบต่อจากการยุบตัวของอาคาร 1-2 แล้ว ความเสียหายของอาคาร 7 ก็ควรเกิดเฉพาะด้านที่ติดกับอาคาร 1-2 และการถล่มต้องเอียงมาทางด้านอาคาร 1-2 ด้วย ไม่ใช่ถล่มลงตามแนวตั้งในเวลาสั้น ๆ หากสาเหตุจากซากหักพังของอาคาร 2 ตกลงทับพร้อมกับเกิดเพลิงไหม้นานถึง 7 ชั่วโมงเป็นผลให้อาคาร 7 ถล่ม การยุบตัวก็น่าจะค่อย ๆ ถล่มทีละชั้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน อีกประการหนึ่ง อาคาร 7 เป็นอาคารที่สร้างภายหลัง (สร้าง พ.ศ.2545/เสร็จ พ.ศ.2549) และตั้งอยู่นอกเขตเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ พลาซ่า ฉะนั้น หากการยุบตัวของอาคาร 1-2 กระทบกับอาคาร 7 ก็น่าจะทำให้อาคารอื่นที่ตั้งอยู่ในแนวเดียวกับอาคาร 7 ยุบตัวด้วย
รายละเอียดข่าวสารการพังทลายของอาคารต่าง ๆ นับเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความไม่ชัดเจนและต่อมาส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐด้วย อีกทั้งความเสียหายของอาคารต่าง ๆ ที่ตั้งโดยรอบเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ยังกลายเป็นหัวข้อการโต้แย้งในเวลาต่อมา อย่างเช่น อาคาร 7 ซึ่งมีจำนวน 47 ชั้นยุบตัวทั้งหลัง แต่อาคาร Verizon และอาคาร Old Post Office ซึ่งตั้งขนาบอาคาร 7 ทั้ง 2 ข้าง ต่างได้รับความเสียหายเพียงบางส่วน ขณะที่การยุบตัวของอาคาร 1 ซึ่งมีจำนวน 110 ชั้น เป็นผลให้อาคารฝั่งตรงข้ามที่ตั้งเรียงกัน 3 หลัง ได้แก่ อาคาร American Express เรือนกระจก Winter garden และอาคาร Merrill Lynch ต่างได้รับความเสียหายในระดับที่แตกต่างกัน กล่าวคือ อาคาร American Express ซึ่งที่ตั้งอยู่ห่างกว่า แต่เสียหายมากกว่าอาคาร Merrill Lynch เรือนกระจก Winter garden ที่ตั้งระหว่างอาคาร American Express และอาคาร Merrill Lynch แต่เยื้องเข้ามาด้านใน กระจกแตกเสียหายเกือบทั้งหลัง ลักษณะการแตกของกระจกเช่นนี้คล้ายกับเกิดจากแรงอัดปะทะมากกว่าเกิดจากการตกทับของเศษซากอาคาร 1 สำหรับการยุบตัวของอาคาร 2 ซึ่งมีจำนวน 110 ชั้น เช่นเดียวกับอาคาร 1 ทำให้โบสถ์ St. Nicholas และอาคาร Bankers Trust ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้าม พังทลาย เป็นต้น
อาคาร 7 เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการที่มีความสำคัญหลายหน่วยงาน ได้แก่ สรรพากรเขตนครนิวยอร์ก (IRS Regional Council) อยู่ในพื้นที่ชั้นที่ 24 และชั้นที่ 25 หน่วยงานอารักขาประธานาธิบดีสหรัฐฯ (U.S. Secret Service) อยู่ในพื้นที่ชั้น 9 และชั้นที่ 10 สำนักข่าวกรองกลาง (C.I.A.) ไม่ระบุในพื้นที่ตั้ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (Securities & Exchange Commission) อยู่ในพื้นที่ชั้นที่ 11, 12, 13 และยังมีสถาบันการเงินการคลัง และการประกันภัยกระจายอยู่ในชั้นต่าง ๆ อีกด้วย อนึ่ง ปรากฎรายงานว่า เอกสารหลักฐานเกี่ยวข้องกับการแต่งบัญชีของบรรษัทเอนรอน ซึ่งเป็นกรณีคอร์รัปชันครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ ในขณะนั้น เก็บรักษาไว้ที่อาคาร 7 และถูกทำลายไปพร้อมกับเหตุครั้งนี้ด้วย
ข้อมูลประกอบการพิจารณาจาก : www.911thology.com/nexus1.html
www.nexus-magazin.de/ausgaben/nexus-magazin-31-oktober-november-2010
www.911-truth.net/11th_of_September-the_Third_Truth_NEXUS_magazine_English.pdf
www.911-truth.net/11th_of_September-the_Third_Truth_NEXUS_magazine_English_ pictures_used.zip
www.wikipedia.org/