จีนพัฒนา AI สแกนหาสิ่งผิดกฎหมาย แม่นยำร้อยละ 95

Loading

ไชน่าเดลี่ สื่อจีนรายงาน (26 เม.ย.) จีนพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับระบบตรวจความปลอดภัย ซึ่งสามารถสแกนหาสิ่งผิดกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว รายงานระบุว่า บริษัท ไชน่าแอโร่สเปซ ซายแอนด์อินดัสเทรียล คอร์ป (China Aerospace Science and Industry Corp หรือ CASIC) หนึ่งในกิจการด้านอวกาศจีน พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถแสกนหาวัตถุผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นโลหะหรืออโลหะที่ซ่อนอยู่ใต้เสื้อผ้าได้ภายในเวลาเพียง 0.7 วินาที ด้วยความแม่นยำถึงร้อยละ 95 บริษัทฯ ออกแบบระบบดังกล่าวเพื่อใช้ในจุดตรวจความปลอดภัยที่มีผู้คนต้องใช้บริการเป็นจำนวนมาก เช่น สนามบิน และสถานีรถไฟ โดยผู้ที่จะถูกตรวจสอบเพียงแค่ยกมือเหนือศรีษะเดินผ่านเครื่องตรวจ ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการตรวจรวมถึงหางแถวสะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบัน ระบบการตรวจสอบความปลอดภัยในบริเวณสำคัญของจีนมักเป็นระบบเอ็กซเรย์ ซึ่งใช้แรงงานคนจำนวนมากและเสียเวลานาน นอกจากนี้ ยังส่งผลข้างเคียงทางรังสีในบางกรณี นายหู หลิน วิศวะกรผู้ออกแบบระบบดังกล่าวเปิดเผยว่า ระบบสแกนแบบใหม่ใช้รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีความเข้มข้นเพียง 1 ใน 1,000 ของสัญญาณโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันเท่านั้น นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาความเป็นส่วนตัวด้วยการเบลอภาพหน้าและส่วนสงวนของผู้เขารับการตรวจสอบอีกด้วย โดยระบบปัญญาประดิษฐ์จะจดจำวัตถุผิดกฎหมายในรูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ระบบฯ ใหม่นี้อยู่ระหว่างการทดลองใช้เต็มรูปแบบที่ท่าอากาศยานนานาชาติในนครปักกิ่ง —————————————————————–…

เตือนระวังมัลแวร์ตัวใหม่ โจมตีแล้ว 17 ปท. ลามถึงไทย ห้ามดาวน์โหลดไฟล์แปลกปลอม ไม่รู้ที่มา

Loading

    กระทรวงดิจิทัลฯ ตรวจพบ กลุ่มแฮกเกอร์ “Hidden Cobra” ใช้ชื่อปฏิบัติการว่า “GhostSecret” ใช้เซิร์ฟเวอร์ในไทยโจมตี ภาคการเงิน หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน ธุรกิจบันเทิง และสาธารณสุข ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย นอกจากห้ามโหลดไฟล์ที่ไม่รู้ที่มาแล้ว ควรอัปเดตระบบปฏิบัติการรวมถึงโปรแกรมป้องกันไวรัสให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเสมอ นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ เปิดเผยว่า ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หน่วยงานสังกัดกระทรวงดิจิทัลฯ ได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2561 บริษัท McAfee ได้เผยแพร่การค้นพบปฏิบัติการโจมตีขโมยข้อมูลด้วยมัลแวร์ (Malware) ซึ่งมุ่งเป้าไปยังหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ หน่วยงานภาคอุตสาหกรรมบันเทิง ภาคการเงิน และภาคสาธารณสุข ในประเทศต่างๆ กว่า 17 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่พบ 45 ระบบ ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์ดังกล่าว โดยเริ่มพบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งปฏิบัติการนี้ถูกตั้งชื่อว่า GhostSecret…

รูปแบบคล้ายกรณี Hidden Cobra! มธ.แจงแก้ปัญหาถูกแฮกเซิร์ฟเวอร์ตั้งฐานจารกรรมหลาย ปท.แล้ว

Loading

  ธรรมศาสตร์ แจงเพิ่มมาตรการป้องกันความปลอดภัยเข้มงวดแล้ว หลังเกิดปัญหา McAfee ตรวจพบเซิร์ฟเวอร์ถูกควบคุมการทำงานใช้เป็นฐานจารกรรมหลายประเทศ รูปแบบคล้ายกรณี Hidden Cobra ที่กองทัพแฮกเกอร์เกาหลีเหนืออยู่เบื้องหลัง ยันประสานงานไทยเซิร์ต ทำตามคำแนะนำแก้ปัญหาเร่งด่วนทันที ตัดการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ตรวจสอบไม่พบความเสียหายต่อระบบภายในมหาวิทยาลัย สืบเนื่องจากสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำเสนอข้อมูลกรณี McAfee (โปรแกรมเอกชนที่ใช้ตรวจสอบไวรัสในคอมพิวเตอร์ ทำให้คอมพิวเตอร์ปลอดภัยจากไวรัสและสปายแวร์ต่างๆ) ตรวจสอบพบแฮกเกอร์เกาหลีเหนือใช้เซิฟเวอร์ประเทศไทยในการจารกรรมข้อมูลจาก 17 ประเทศ โดยระบุที่ตั้ง server ที่ใช้จารกรรมข้อมูลดังกล่าวนั้นตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเบื้องต้นอยู่ระหว่างการตรวจสอบของศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ เอ็ตด้า นั้น (อ่านประกอบ : เรื่องใหญ่! เมื่อ McAfee ตรวจพบเกาหลีเหนือใช้ server (ธรรมศาสตร์) จารกรรมข้อมูล17ปท.ทั่วโลก?) ล่าสุดมหาวิทยาลัยธรรมาศาสตร์ ได้ออกข่าวประชาสัมพันธ์ อ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ ดร.ปกป้อง ส่องเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ (สทส.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า จากกรณีกระแสข่าวมีนักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก McAfee รายงานว่าช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บางเครื่องถูกเข้ามาควบคุมการทำงานบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้เป็นฐานสำหรับการพยายามไปควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์อื่นในหลายประเทศ…

เรื่องใหญ่! เมื่อ McAfee ตรวจพบเกาหลีเหนือใช้ server (ธรรมศาสตร์) จารกรรมข้อมูล17ปท.ทั่วโลก?

Loading

  “…ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเอ็ตด้า ประกาศเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (25 เมษายน 2561) ว่าได้มีการระงับเซิร์ฟเวอร์ซึ่งถูกใช้ในปฏิบัติการของแฮกเกอร์แล้วและส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยมีการรายงานว่าเซิร์ฟเวอร์นี้ตั้งอยู่ที่ Thai National Legislative University (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ..” นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย และไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด! เมื่อ ดร.นพนันท์ อรุณวงศ์ ณ อยุธยา โพสต์ข้อมูลในเฟซบุ๊ก ส่วนตัว ที่ใช้ชื่อว่า noppanan arunvongse na ayudhaya ระบุว่า Security Online/McAfee รายงาน เกาหลีเหนือใช้ server ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยจารกรรมข้อมูล 17 ประเทศทั่วโลก โดย server ที่เกาหลีเหนือใช้จารกรรมข้อมูลดังกล่าวนั้นตั้งอยู่ที่ “วิทยาลัยของรัฐสภาไทย (National Legislative University)” ในกรุงเทพฯ หมายเหตุ รายงานต้นทางของ McAfee ระบุว่า sever ดังกล่าวนั้นคือ server ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์…

‘สายลับต่างชาติ’ นิยมแฝงตัวเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ

Loading

ภายในรั้วมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐฯ คงไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นสถานที่เเรกที่นักสอดแนมจะแฝงตัวเข้าไปปนเปกับนักศึกษา เเต่ แดน โกลด์เดน (Dan Golden) ผู้สื่อข่าวสายสอบสวน กล่าวว่าคุณจะแปลกใจ เพราะมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เต็มไปด้วยนักสอดแนมหรือสายลับ โกลด์เดน กล่าวว่า ในมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ มีนักศึกษาเเละศาสตราจารย์ชาวต่างชาติจำนวนมากมาย บางคนมาหาข้อมูลให้แก่ประเทศของตน ไม่ว่าจะเป็นความลับทางวิทยาศาสตร์หรือมาสร้างเเหล่งข่าว โกลด์เดน พูดถึงตัวอย่างการสอดแนมในรั้วมหาวิทยาลัยในหนังสือที่เขาเขียน เรื่อง“สปาย สคูลส์” (“Spy Schools”) เขากล่าวว่ามหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เป็นแหล่งดึงดูดนักสอดแนม เพราะมีการเเลกเปลี่ยนทางความคิดและวัฒนธรรมกันอย่างอิสระ ชาร์ลี แม็คกอลนิกัล (Charlie Mcgonigal) เจ้าหน้าที่พิเศษที่ดูแลฝ่ายต่อต้านข่าวกรองของสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ กล่าวว่า นี่เป็นปัญหาใหญ่มากเ พราะในสหรัฐฯ สถาบันการศึกษาเปิดกว้าง มีการศึกษาวิจัยและการพัฒนามากมายที่บรรดารัฐบาลต่างชาติต้องการได้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และจะส่งนักศึกษาของตนเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยอเมริกันเพื่อจุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ ส่วนชาวอเมริกันที่ไปเรียนในต่างประเทศก็มักตกเป็นเหยื่อของรัฐบาลต่างชาติที่ต้องการใช้เป็นนักสอดแนม ในปี พ.ศ. 2557 เอฟบีไอได้สนับสนุนเงินในการสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่อิงเนื้อหาจากเรื่องจริง เกี่ยวกับนาย เกลน ชริฟเฟอร์ (Glenn Shriver) นักศึกษาชาวอเมริกันที่รัฐบาลจีนว่าจ้างให้เป็นนักสอดแนมแก่จีน เเม็คกานิกัลกล่าวว่า นักศึกษาถูกใช้โดยรัฐบาลต่างชาติให้เป็นสายลับ เเละสั่งให้ไปสมัครทำงานในรัฐบาลสหรัฐฯ หรือในภาคเอกชนที่ต้องการได้ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อเล็กซ์ แวน…