เด็ก 16 โดนจับรอขึ้นศาล หลังแฮกระบบคอมพิวเตอร์แก้ผลการเรียนของตัวเอง

Loading

  เมื่อวันพุธที่แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมด้วยเจ้าหน้าที่ U.S. Secret Service ได้จับกุมเด็กหนุ่มวัย 16 ปีรายหนึ่ง ในความผิดจากการแฮกระบบคอมพิวเตอร์รวม 14 กระทง เจ้าหน้าที่ตำรวจเขต Concord ในรัฐ California ได้รับแจ้งเหตุการแฮกตั้งแต่เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ก่อนจะทำการติดตามสืบสวนจนนำไปสู่การจับกุมเด็กคนดังกล่าวได้ที่บ้านของเขาเอง โดยผู้กระทำผิดได้แฮคระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ผลการเรียนทั้งของตนเองและผู้อื่น เด็กหนุ่มได้ทำการสร้างเว็บไซต์หลอกดักรหัสผ่านโดยเว็บดังกล่าวถูกปลอมทำเลียนแบบหน้าเว็บไซต์ของโรงเรียน Ygnacio Valley High School ที่ตนเองเรียนอยู่ และส่งลิงก์หน้าเว็บดังกล่าวทางอีเมลให้บรรดาครูอาจารย์ผู้สอนหลายคน ซึ่งก็มีคนหนึ่งหลงเชื่อเข้าไปกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ ทำให้ผู้ก่อเหตุสามารถเข้าถึงระบบข้อมูลผลการเรียนของนักเรียนได้ และทำการแก้ไขผลการเรียนหลายวิชาของนักเรียนหลายคน มีทั้งการแก้เพิ่มคะแนนของตนเอง และแก้เพื่อลดคะแนนของคนอื่นลง โดยมีนักเรียนที่ได้รับการแก้คะแนนราว 14-15 ราย เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามหาตัวผู้กระทำผิดโดยการใช้หมายศาลเพื่อตรวจสอบหมายเลข IP แล้วจึงหาข้อมูลแวดล้อมจนสามารถระบุที่อยู่ของเจ้าของหมายเลข IP ดังกล่าวได้ จากนั้นตำรวจได้ขอหมายศาลเพิ่มเติมสำหรับการเข้าตรวจค้นบ้านเจ้าของหมายเลข IP พร้อมทั้งนำสุนัขตำรวจที่สามารถดมกลิ่นหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าตรวจค้นพื้นที่ด้วย ซึ่งสุนัขตำรวจก็ช่วยให้ตำรวจค้นพบแฟลชไดรฟ์ที่ถูกซ่อนไว้ในกล่องกระดาษทิชชู่ อันเป็นหลักฐานมัดตัวเด็กหนุ่มจอมแฮก ในขณะนี้เด็กหนุ่มผู้ก่อเหตุถูกพักการเรียนไปแล้ว และได้รับการปล่อยตัวจากเจ้าหน้าที่ตำรวจให้พักอยู่กับผู้ปกครองในระหว่างรอการนัดจากศาลในภายหลัง เมื่อสัปดาห์ก่อนก็มีข่าวการแฮคระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ผลการเรียนเช่นกัน โดยเหตุเกิดที่ Alabama ซึ่งส่งผลต่อการจัด 10 อันดับนักเรียนผู้กำลังจะจบการศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น ซึ่งเรื่องนี้จะเกี่ยวพันกับโอกาสในการขอรับทุนการศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยของนักเรียนด้วย…

ย้ำเก็บภาษีเงินดิจิทัลเพื่อคุ้มครองประชาชน

Loading

ประกาศใช้แล้ว เก็บภาษีกำไรเงินดิจิทัล 15 % พร้อมเสนอ ครม.เก็บภาษีนิติบุคคล 15 % พ่วง VAT สกัดรายย่อยถูกหลอกและฟอกเงิน นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังจากพระราชกำหนด หรือ พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 พ.ศ. 2561 โดยระบุว่า พ.ร.ก. ดังกล่าวเพื่อกำกับดูแล มิให้มีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลไปหลอกลวงประชาชน หรือเป็นแหล่งฟอกเงิน ซึ่งกรมสรรพากรได้แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 19 พ.ศ. 2561 ให้มีผลบังคับใช้แล้วเพื่อเก็บภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย นายสาโรช ทองประคำ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย กรมสรรพากร กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล ได้มีการกำหนดให้รายได้ที่ได้จากกำไรหรือผลประโยชน์ที่ได้จากการถือครองและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนเงินคริปโตเคอร์เรนซี หรือโทเคนดิจิทัล ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินลงทุน หรือกำไร ต้องเสียภาษีกำไรหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ของเงินได้ และนักลงทุนต้องนำรายได้มาคำนวณการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ สิ้นปีด้วย  ทั้งนี้…

คลอดแล้ว กม.คุมบิตคอยน์ เก็บอัตราภาษี 15%

Loading

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 พ.ค. นี้ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีทั้งสิ้น 100 มาตรา โดยเหตุผลที่ประกาศใช้ดังกล่าวระบุว่า ปัจจุบันได้มีการนำคริปโตเคอเรนซี และโทเคนดิจิทัล มาใช้เป็นเครื่องมือในการระดมทุนผ่านการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน รวมถึงนำมาซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนในศูนย์ซื้อขายคริปโตเคอเรนซี และโทเคนดิจิทัล แต่ยังไม่มีกฎหมายที่กำกับ หรือควบคุมการดำเนินการดังกล่าวในประเทศไทย ซึ่งทำให้มีการประกอบธุรกิจ หรือการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงิน ระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเกิดผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง  ดังนั้น เพื่อกำหนดให้มีการกำกับและควบคุมการประกอบธุรกิจและการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล และเพื่อรองรับการนำเทคโนโลยีมาทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน อันจะเป็นการสนับสนุน และอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีศักยภาพมีเครื่องมือในการระดมทุนที่หลากหลาย รวมทั้งประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอเพื่อใช้ในการตัดสินใจ เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการ และป้องกันมิให้มีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจนไปใช้ประโยชน์ หรือกระทำการใดในลักษณะที่เป็นการหลอกลวงประชาชน หรือที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชญากรรม โดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ ในบทเฉพาะกาล มาตรา 100 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้ประกอบธุรกิจอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับและเป็นธุรกิจที่ต้องขออนุญาตตามพระราชกำหนดนี้ หากจะดำเนินกิจการต่อไป ให้ยื่นคำขออนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดนี้ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้มีผลใช้บังคับ และเมื่อได้ยื่นคำขออนุญาตแล้ว ให้ดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าจะมีคำสั่งไม่อนุญาต ขณะเดียวกัน…

พ่อแม่ผู้ก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายในอินโดนีเซีย ใช้ลูกเป็นเครื่องมือสังหารชาวคริสต์

Loading

    ตำรวจอินโดนีเซียกล่าวว่า ครอบครัวที่มีสมาชิก 6 คนอยู่เบื้องหลังการก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายที่โบสถ์ชาวคริสต์ 3 แห่งในเมืองสุราบายาของอินโดนีเซีย วันอาทิตย์ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต อย่างน้อย 13 รายและบาดเจ็บ 41 คน ครอบครัวดังกล่าวเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศซีเรียไม่นานนี้ ตำรวจกล่าวด้วยว่าผู้ก่อเหตุมีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม Jemaah Ansharut Daulah ซึ่งได้รับแนวคิดมาจากกลุ่มรัฐอิสลาม และกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ก็อ้างความรับผิดชอบต่อโศกนาฏกรรมครั้งนี้ในเมืองสุราบายา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศอินโดนีเซีย ด้านประธานาธิบดีโจโค วิโดโด ประณามการโจมตีครั้งนี้ว่าเป็นการกระทำที่ “ป่าเถื่อน” เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ครอบครัวผู้ก่อเหตุ นอกจากจะมีพ่อและแม่ แล้วยังประกอบด้วยลูกสาวและลูกชายทั้งหมดอีก 4 คน โดยลูกคนเล็กสุดเป็นผู้หญิงวัย 9 ขวบ สำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นาย António Guterres กล่าวในแถลงการณ์วันอาทิตย์ว่ารู้สึก “ตกตะลึง” ที่มีการใช้เด็กในการโจมตีด้วยระเบิดฆ่าตัวตาย โฆษกของสำนักงานเลขาธิการ UN กล่าวว่า นาย Guterres ย้ำถึงการสนับสนุนรัฐบาลและชาวอินโดนีเซียในความพยายามต่อสู้และป้องกันการก่อการร้าย ตลอดจนความรุนแรงจากความคิดสุดโต่ง ความพยายามดังกล่าวรวมถึงการสร้างสังคมที่มีความหลากหลาย สนับสนุนความคิดสายกลาง และการยอมรับความแตกต่างในสังคม…