8 เหตุผล ที่คุณควรสนใจข้อกำหนด GDPR จาก EU

Loading

ในรอบเดือนที่ผ่านมา ถ้าใครใช้บริการ social media หรือ website ที่มีการสมัครสมาชิกในฝั่งยุโรปและอเมริกาแล้วละก็ จะได้รับจดหมายจากบริการนั้น ๆ ในเรื่องการปรับเปลี่ยนนโยบายการเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลของผู้ใช้ต่าง ๆ ออกมา กรณีที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่ผลพวงจากการที่เกิดกรณี Facebook และ Cambridge Analytica ที่ผ่านมา แต่เกิดจากผลพวงที่ของข้อกำหนด EU ที่จะเริ่มใช้ 25 พฤษภาคมนี้ในเรื่อง ข้อกำหนดปกป้องข้อมูล หรือ General Data Protection Regulation (GDPR)  ซึ่งจะมีผลไม่ใช่เฉพาะแค่ EU แต่โดยรวมแล้วทั้งโลกเลยทีเดียว General Data Protection Regulation (GDPR) เป็นเรื่องข้อกำหนดที่จะใหญ่ที่สุดที่ EU เคยทำมา ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริโภคหรือคนที่อยู่ในหสภาพยุโรปนั้นสามรรถควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตัวเองได้ง่ายมากขึ้น และทำให้ข้อกำหนดไม่ว่าจะเป็น EULA, TOS ต่าง ๆ ที่แบรนด์ต่าง ๆ เขียนออกมาคลุมเครือ อ่านยาก ทำความเข้าใจได้ยาก ก็ต้องทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นสำหรับคนทั่วไป ที่จะได้รับรู้สิทธิและเงื่อนไขในเรื่องข้อมูลเมื่อใช้บริการต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งแท้จริงแล้วข้อกำหนดนี้จะสร้างมาตรฐานที่ดีต่อไป และทำให้เกิดความเชื่อใจในการใช้งานเพิ่มมากขึ้นนั้นเอง…

GDPR คืออะไร สำคัญอย่างไร? ทำไมจึงต้องเข้าใจ GDPR?

Loading

โดย…นคร เสรีรักษ์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ก่อตั้ง PrivacyThailand กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ความสนใจหรือความตระหนักรู้เรื่องความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทยนับว่ามีอยู่ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่คนไทยนิยมใช้โซเชียลมีเดียกันจนติดอันดับต้นๆ ของโลก เราโพสต์เราแชร์ข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์โดยไม่เคยตระหนักถึงความสำคัญของความเป็นส่วนตัว ที่น่าห่วงกว่าการไม่เห็นคุณค่าในพื้นที่ส่วนตัว คือการมองไม่ตระหนักถึงอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการโจรกรรมข้อมูลของเราไปใช้ประโยชน์ในทางไม่ชอบ จนพูดกันว่าความเป็นส่วนตัวตายไปแล้วจากโลกดิจิทัลวันนี้ ระยะหลังๆ นี้ เริ่มมีการพูดถึงข้อมูลส่วนบุคคลกันมากขึ้น โดยเฉพาะในแวดวงผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับข้อมูล การติดต่อสื่อสาร และธุรกิจที่มีฐานข้อมูลส่วนบุคคลขนาดใหญ่ นั่นคือความกังวลต่อ GDPR ซึ่งเป็นข้อบังคับของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการเก็บและการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ที่กลัวกันมากก็เพราะบทลงโทษของผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ GDPR จะถูกปรับสูงถึง 20 ล้านยูโร ที่สำคัญคือจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2561 ที่กำลังจะมาถึง จริงๆ แล้ว เรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับนานาชาติไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีพัฒนาการมากมายทั้งในระดับกฎหมายต่างประเทศในนานาประเทศและกฎหมายหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในหลายเวที เช่น การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ข้อตกลงของรัฐสภาแห่งยุโรป ข้อบังคับสหภาพยุโรป (European Union Directive 95/46/EC) แนวทางของสหประชาชาติ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามแนวทางของ APEC การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามข้อบังคับ EU การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม EU Directive 95/46…