ในรอบเดือนที่ผ่านมา ถ้าใครใช้บริการ social media หรือ website ที่มีการสมัครสมาชิกในฝั่งยุโรปและอเมริกาแล้วละก็ จะได้รับจดหมายจากบริการนั้น ๆ ในเรื่องการปรับเปลี่ยนนโยบายการเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลของผู้ใช้ต่าง ๆ ออกมา กรณีที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่ผลพวงจากการที่เกิดกรณี Facebook และ Cambridge Analytica ที่ผ่านมา แต่เกิดจากผลพวงที่ของข้อกำหนด EU ที่จะเริ่มใช้ 25 พฤษภาคมนี้ในเรื่อง ข้อกำหนดปกป้องข้อมูล หรือ General Data Protection Regulation (GDPR) ซึ่งจะมีผลไม่ใช่เฉพาะแค่ EU แต่โดยรวมแล้วทั้งโลกเลยทีเดียว
General Data Protection Regulation (GDPR) เป็นเรื่องข้อกำหนดที่จะใหญ่ที่สุดที่ EU เคยทำมา ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริโภคหรือคนที่อยู่ในหสภาพยุโรปนั้นสามรรถควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตัวเองได้ง่ายมากขึ้น และทำให้ข้อกำหนดไม่ว่าจะเป็น EULA, TOS ต่าง ๆ ที่แบรนด์ต่าง ๆ เขียนออกมาคลุมเครือ อ่านยาก ทำความเข้าใจได้ยาก ก็ต้องทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นสำหรับคนทั่วไป ที่จะได้รับรู้สิทธิและเงื่อนไขในเรื่องข้อมูลเมื่อใช้บริการต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งแท้จริงแล้วข้อกำหนดนี้จะสร้างมาตรฐานที่ดีต่อไป และทำให้เกิดความเชื่อใจในการใช้งานเพิ่มมากขึ้นนั้นเอง
อย่างไรก็ตามในประเทศไทยเองกลับไม่ค่อยตื่นตัวกันในเรื่องนี้ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวอย่างมาก และคิดว่าจะทำอะไรก็ได้เพราะนี้เป็นข้อกำหนดของทาง EU ที่ไม่ได้มีผลต่อคนไทย ซึ่งจริง ๆ แล้วเข้าใจผิดอย่างมาก และนี้คือ 8 ข้อว่าทำไมคนไทยต้องสนใจเรื่อง GDPR
1. GDPR ไม่ใช่แค่เรื่องของคนยุโรป : ด้วยข้อกำหนด GDPR นั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาแล้วบังคับเฉพาะในยุโรป หรือมีผลที่สหภาพยุโรปเท่าั้น แต่ด้วยข้อกำหนดใหม่นี้จะถูกบังคับใช้กับ องค์กรและธุรกิจใด ๆ ก็ตามที่ที่ดำเนินกิจการในแผนดินสหภาพยุโรป และ/หรือ ทำกิจการที่ต้องดำเนินงานกับประชาชนในสหภาพยุโรป รวมถึงกิจการออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ต่างประเทศก็ตาม ถ้ามีการที่ต้องเก็บข้อมูลหรือมีลูกค้าเป็นคนในสหภาพยุโรปนั้นก็จะถูกกฏหมายเหล่านี้บังคับทันที
2. ข้อมูลที่เก็บจะถูกปกป้องโดย GDPR : ข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ที่เก็บมานั้นจะถูกปกป้องโดย GDPR โดนทันที ซึ่งถ้าเกิดกรณีการใช้ไม่ถูกต้องโดยบริษัทที่เก็บข้อมูลไป จะเกิดการฟ้องร้องจาก GDPR โดยทันทีเพื่อปกป้องประชาชนในสหภาพยุโรป
3. มีสิทธิ์ที่จะถูกลืม : ด้วยข้อกำหนด GDPR นี้ทำให้คนที่ถูกเก็บข้อมูลไป สามารถร้องข้อการลบทิ้งข้อมูลหรือไม่ถูกเก็บข้อมูลอีกต่อไปได้ ตัวอย่างอย่างเช่น เราสามารถร้องให้ Google ลบทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวเราทิ้งได้ทั้งหมด หรือถ้าข้อมูลไม่อัพเดทเราก็มีสิทธิ์ที่จะร้องขอให้เกิดการอัพเดทข้อมูลดังกล่าวได้ด้วย
4. ต้องให้ผู้บริโภคมีสิทธิ์มาควบคุมข้อมูล : ภายใต้ข้อกำหนด GDPR นี้ องค์กรและกิจการต่าง ๆ ที่เก็บข้อมูลไป ต้องให้สิทธิ์ที่จะให้ผู้ที่ถูกเก็บข้อมูลนั้นเข้ามาบริหารจัดการข้อมูล และต้องรับรู้ก่อนด้วยว่าจะมีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไปเพื่ออะไร และมีปุ่มให้ยินยอมในการเก็บข้อมูลนั้นในอนาคตขึ้นมา
5. ทุกคนต้องปฏิบัติตาม : สิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจคือไม่ใช่แค่คนทำงานที่ต้องปฏิบัติตามการเก็บข้อมูลนี้เท่านั้น แต่ผู้เกี่ยวข้องและสั่งงานทั้งหมดต้องเข้าใจด้วยว่าจะต้องปฏิบัติตามกฏหมายและข้อบังคับของ GDPR นี้ ซึ่งทำให้ฝั่งลูกค้า หรือเจ้านายคุณเอง ก็ต้องระมัดระวังในการเก็บ รักษา และใช้ข้อมูลเหล่านี้ เพื่อไม่ให้ผิดไปจากข้อกำหนด GDPR
6. ต้องทำให้ Data Download ได้ หรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดเก็บได้ : เหมือนการย้ายค่สยมือถือในปัจจุบันที่เบอร์เป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลที่สามารถย้ายค่ายได้ ในการเก็บ Data ต่อไปในอนาคตนั้นก็ต้องทำให้ Data นั้นสามารถ Download หรือย้ายไปยังผู้ให้บริการอื่น ๆ ตามที่ผู้บริโภคกำลังต้องการขึ้นมา
7. ต้องมีมาตรการณ์รองรับเมื่อข้อมูลรั่ว : ด้วย GDPR นี้ ทำให้องค์กรและกิจการต่าง ๆ ต้องมีแผนรองรับด้วยว่าเมื่อข้อมูลรั่วจะจัดการอย่างไร และมีมาตรการณ์ในการเยียวยาผู้เสียหายอย่างไร ไม่ใช่รอให้เกิดแล้วแก้ไขไปที หรือมีการเยี่ยวยาที่ไม่ชัดเจน แบบในประเทศไทยขึ้นมา
8. GDPR มีบทลงโทษทันที : ด้วยข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ประกาศออกมา ถ้าเกิดกรณีใด กรณีหนึ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ GDPR และเกิดเรื่องกับคนที่อยู่ในสหภาพยุโรป สิ่งที่เกิดขึ้นมา EU สามารถเป็นโจทย์ฟ้องร้องคุณได้ทันที ในฐานะที่เป็นคู่ค้าหรือใช้ข้อมูลของประชากรยุโรปแบบผิดวัตถุประสงค์ไป ซึ่งนี้จะมีผลเสียหายอย่างมากสำหรับธุรกิจนั้นเอง
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าด้วยข้อกำหนดนี้ไม่ได้ใช้กับอนาเขตของ EU เท่าั้น แต่ยังติดตัวไปกับประชากร EU ทุกคน ทำให้บริษัทต่าง ๆ ในฝั่งอเมริกาเองก็ตามก็ต้องออกมารับมือและป้องกันไว้ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นในอนาคต และด้วยประเทศไทยเองที่เป็นเมืองท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวมาหลายล้านคน การที่ต้องคิดเผื่อเรื่องนี้ไว้นับว่าจำเป็นอย่างมาก เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียที่ร้ายแรงตามมา
——————————————————————
ที่มา : MarketingOops! / May 8, 2018
Link : https://www.marketingoops.com/exclusive/8-reason-to-know-about-gdpr/