‘ทรัมป์’ ส่ออดตั้ง ‘กองทัพอวกาศ’ ขนาดพวกเดียวกันยังร้องยี้!!

Loading

  เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มิ.ย. ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหาร ให้กระทรวงกลาโหมจัดตั้ง ‘ก’ เป็นเหล่าทัพที่ 6 ของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาเรียกร้องมานานหลายเดือน ประเด็นเรื่องการก่อตั้งกองทัพอวกาศ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับสหรัฐฯ แต่คำสั่งล่าสุดของนายทรัมป์ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมากมาย ทั้งเรื่องรูปร่างหน้าตาและหน้าที่ของกองทัพอวกาศ, การหางบประมาณ รวมไปถึงปัญหาที่ว่า ผู้นำสหรัฐฯ คนนี้จะสามารถจัดตั้งเหล่าทัพใหม่ขึ้นมาได้หรือไม่     กองทัพอวกาศคืออะไร? นายทรัมป์เคยพูดเอาไว้เมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมาว่า “อวกาศเป็นเขตสงครามเหมือนกับพื้นดิน, อากาศ และทะเล” แน่นอนด้วยคำพูดแบบนี้อาจทำให้หลายคนนึกถึงฉากการขับยานต่อสู้กันในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ไซ-ไฟ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องความมั่นคงทางอวกาศของสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่พื้นฐานกว่านั้นมาก ลอรา เกรโก นักวิทยาศาสตร์อาวุโสในโครงการความมั่นคงโลก ของสหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้ห่วงใย ระบุว่า การรักษาความมั่นคงทางอวกาศส่วนใหญ่คือการป้องกันไม่ให้ประเทศอื่นๆ เข้ามายุ่งกับดาวเทียมของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่มาแห่งความแข็งแกร่งของกองทัพแดนพญาอินทรี นับตั้งแต่ปี 2527 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ส่งดาวเทียมไปยังวงโคจรโลกมากกว่า 280 ดวง ซึ่งมีหน้าที่ตั้งแต่พยากรณ์อากาศ, สังเกตการณ์ขีปนาวุธ และช่วยด้านการสื่อสารของกองทัพ การป้องกันไม่ให้ต่างชาติรบกวนสัญญาณหรือเจาะระบบดทวเทียมแล้วขโมยข้อมูลไป จึงเป็นเรื่องความมั่นคงระดับชาติ และเป็นไปได้ที่กองทัพอวกาศจะเข้ามารับหน้าที่นี้   แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้กองทัพอวกาศของทรัมป์ไม่เกิดขึ้นจริง  …

ทำถึงขั้นนี้! แอลจีเรียสั่งตัดเน็ตทั่วประเทศกันเด็กโกงข้อสอบ

Loading

  บีบีซีรายงานว่า แอลจีเรียได้สั่งตัดอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศในระหว่างการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมปลายเพื่อแก้ปัญหาการโกง ข่าวระบุว่า การให้บริการอินเตอร์เน็ตทั้งทางอุปกรณ์เคลื่อนที่และสายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจะถูกตัดเป็นเวลา 1 ชั่วโมงหลังจากที่การทดสอบความรู้พื้นฐานของโรงเรียนมัธยมทั่วประเทศเริ่มต้นขึ้นเพื่อยุติการรั่วไหล โดยการตัดระบบอินเตอร์เน็ตจะดำเนินไปตลอดฤดูการสอบระหว่างวันที่ 20-25 มิถุนายนนี้ มาตรการนี้มีขึ้นหลังจากมีการโกงข้อสอบทั่วประเทศเมื่อปี 2559 ซึ่งมีหลายคำถามรั่วไหลออกมาทางออนไลน์ทั้งก่อนและระหว่างการสอบ และด้วยเหตุผลนี้ทำให้ทางการร้องขอให้ผู้บริการอินเตอร์เน็ตปิดการเข้าถึงโซเชียลมีเดียเมื่อปีที่แล้ว แต่ดูเหมือนมาตรการแบบสมัครใจนั้นไม่เพียงพอ นางนูเรีย เบงกาบริต รัฐมนตรีศึกษาแอลจีเรียเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์อันนาฮาร์ของแอลจีเรียว่า จะมีการบล็อคการเข้าถึงเฟซบุ๊กทั่วประเทศตลอดช่วงเวลาดังกล่าว นางเบงกาบริตกล่าวว่า ในขณะที่ทางการรู้สึก “ไม่สะดวกสบาย” กับการตัดสินใจนี้ แต่ก็รู้สึกว่าไม่ควรอยู่นิ่งเฉยต่อหน้าเหตุการณ์ที่อาจมีการรั่วไหลของข้อสอบได้ นอกจากนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ทั้งสำหรับเด็กนักเรียนและเจ้าหน้าที่โรงเรียน ถูกสั่งห้ามนำเข้ามายังอาคารสถานที่สอบ 2,000 แห่งทั่วประเทศ โดยจะมีการติดตั้งเครื่องตรวจจับโลหะไว้ที่ประตูทางเข้า นางเบงกาบริตยังกล่าวด้วยว่า มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดและเครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์มือถือไว้ที่โรงพิมพ์ข้อสอบทุกแห่ง ทั้งนี้ นักเรียนมากกว่า 700,000 คนทั่วประเทศแอลจีเรียจะเข้าสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรระดับมัธยมปลายในสัปดาห์หน้า โดยคาดว่าจะรู้ผลในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ ————————————————————————————————————————————————— ที่มา : มติชนออนไลน์      /   วันที่  21 มิถุนายน 2561 ลิงก์ : https://www.matichon.co.th/foreign/news_1008795

เวียดนามผ่านกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ใหม่ ท่ามกลางเสียงคัดค้าน

Loading

เมื่อวานนี้ (12 มิ.ย.) สภาแห่งชาติเวียดนามผ่านกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ เพิ่มอำนาจควบคุมอินเทอร์เน็ตและการดำเนินการของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในประเทศ ท่ามกลางความกังวลของหลายฝ่ายถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและเสรีภาพในการแสดงออก กฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2562 และกำหนดให้บริษัทอย่าง เฟซบุ๊ก และ กูเกิล จัดเก็บข้อมูลส่วนตัวที่ “สำคัญ” ของผู้ใช้ไว้ในประเทศเวียดนาม รวมทั้งลบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมภายใน 1 วันตามคำร้องของเจ้าหน้าที่ ผู้ประท้วงและนักรณรงค์หลายคนคัดค้านกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ฉบับใหม่นี้ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและถูกใช้จัดการผู้เห็นต่างจากรัฐบาลบนโลกออนไลน์ ขณะที่ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) มองว่ากฎหมายใหม่ของเวียดนามนั้นมีความคล้ายคลึงกับกฎหมายปัจจุบันของไทย จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเวียดนามใช้กฎหมายใหม่ ? สภาแห่งชาติเวียดนาม ลงคะแนนเสียง 91% ผ่านกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ฉบับใหม่เมื่อวานนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตรึงกำลังรอบสภาฯ ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ บริษัทโซเชียลมีเดียในเวียดนามจะต้องนำเนื้อหาที่ละเมิดกฎหมายออกจากระบบภายใน 1 วันหลังจากได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ นอกจากนี้ บริษัทเหล่านี้ยังจะต้องย้ายข้อมูลของผู้ใช้งานมาจัดเก็บไว้ภายในประเทศ รวมทั้งเปิดสำนักงานในเวียดนาม นายโว จอง เวียต ประธานคณะกรรมาธิการกลาโหมและความมั่นคง ซึ่งเป็นผู้ร่างกฎหมายฉบับนี้ กล่าวว่าการย้ายข้อมูลมาไว้ในประเทศจะมีส่วนสำคัญในการปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ และไม่ขัดแย้งกับระเบียบสากลแต่อย่างใด “การย้ายศูนย์ข้อมูลมาไว้ในเวียดนามนั้นจะเพิ่มต้นทุนสำหรับบริษัทเหล่านี้จริง แต่มันเป็นความจำเป็นสำหรับความต้องการด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศ” เขากล่าวต่อสภาแห่งชาติเวียดนาม เสียงคัดค้าน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวถึงกฎหมายฉบับนี้ ว่าเป็นความถดถอยทางสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของเวียดนาม ซึ่งเปิดทางให้รัฐบาลสามารถเซ็นเซอร์ความเห็นบนโลกออนไลน์…