ไม่ต้องต่อคิวแลกเหรียญ รถไฟใต้ดินในปักกิ่งเตรียมใช้การสแกนใบหน้าและฝ่ามือผู้โดยสาร

Loading

  ปักกิ่งเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ในหลายประเทศ ผู้คนที่เดินทางไปไหนมาไหนในแต่ละวันนั้นมีมากมายมหาศาล รวมทั้งการเดินทางด้วยรถไฟใต้ดิน แม้รถไฟจะวิ่งเร็วเพียงใดแต่ด้วยปริมาณคนใช้บริการที่มีมาก กว่าที่คนคนหนึ่งจะเดินทางไปถึงจุดหมายเขาอาจต้องเสียเวลากับการเข้าคิวรอซื้อตั๋วหรือแตะบัตรผ่านสถานีเพื่อขึ้นรถไฟ ด้วยเหตุนี้ผู้ให้บริการรถไฟใต้ดินของปักกิ่งจึงมีแผนจะนำเทคโนโลยีจดจำใบหน้าและการสแกนลายนิ้วมือเข้ามาช่วยแก้ปัญหา เพื่อลดเวลาที่ผู้โดยสารต้องรอในระหว่างก่อนขึ้นรถไฟและหลังลงจากรถไฟ ทางการจีนจึงมีแผนจะติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับใบหน้าและเครื่องสแกนฝ่ามือเพื่อให้ผู้โดยสารเข้าและออกจากสถานีได้รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องไปเสียเวลาติดต่อขอแลกเหรียญ ไม่ต้องมัวเข้าคิวรอหยอดเหรียญกับเครื่องออกบัตรโดยสาร และก็ไม่ต้องเข้าแถวอีกครั้งหนึ่งเพื่อรอเสียบบัตรเข้าเครื่องสแกนก่อนเดินเข้าพื้นที่ชานชาลา แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการเก็บเงินค่าโดยสาร แต่คาดว่าระบบสแกนใบหน้าและสแกนฝ่ามือนี้จะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานเพื่อทำการตัดเงินค่าโดยสารแบบอัตโนมัติ ทั้งนี้ระบบสแกนใบหน้าและสแกนฝ่ามือไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีใหม่เอี่ยมในประเทศจีน ตัวอย่างการใช้งานระบบสแกนใบหน้านั้นมีใช้อยู่ก่อนแล้วบริเวณด่านระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะฮ่องกงซึ่งจะใช้ควบคู่กับเรื่องสแกนลายนิ้วมือ ในขณะที่เครื่องสแกนฝ่ามือก็มีการใช้งานกับรถไฟในเซี่ยงไฮ้มาบ้างแล้ว โดยจำกัดเฉพาะผู้โดยสารกลุ่มพิเศษ เช่น ทหารผ่านศึก หรือผู้พิการและทุพพลภาพ อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับแผนการติดตั้งระบบตรวจจับใบหน้าและระบบสแกนฝ่ามือสำหรับผู้โดยสารรถไฟใต้ดินนี้ ความเห็นฝ่ายหนึ่งมองว่าทุกวันนี้ทางการจีนกำลังริดรอนความเป็นส่วนตัวของประชาชนตนเองลงไปในทุกขณะ ในขณะที่อีกส่วนเกรงว่าหากระบบหละหลวมมีช่องโหว่ก็อาจทำให้ข้อมูลอัตลักษณ์เชิงชีวภาพเหล่านี้รั่วไหลออกสู่ภายนอกและถูกผู้ไม่หวังดีนำเอาไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบได้ อีกด้านหนึ่งก็มีความเห็นในแง่การใช้งานว่าประสบการณ์ใช้งานระบบสแกนใบหน้าและสแกนฝ่ามือนั้นอาจไม่ได้ช่วยลดเวลาที่ผู้โดยสารต้องเสียไป เพราะยกตัวอย่างผู้สูงอายุหลายคนซึ่งไม่ค่อยคุ้นชินกับเทคโนโลยีสมัยใหม่มากนักก็อาจไม่รู้ว่าต้องใช้เครื่องอย่างไรจนทำให้ต้องเสียเวลาผู้โดยสารคนอื่นๆ ที่อยู่ในคิวเช่นเดียวกัน สำหรับรถไฟใต้ดินของปักกิ่งนั้นเริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปี 1965 แต่เริ่มมีการปรับปรุงบริการและขยายเส้นทางแบบก้าวกระโดดในช่วงปี 2008 ซึ่งปักกิ่งเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้ในปัจจุบันมีรถไฟวิ่งให้บริการ 23 เส้นทาง มีผู้ใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคนต่อวัน โดยก่อนหน้านี้คิดอัตราค่าโดยสารทุกเส้นทาง (ยกเว้นไปสนามบิน) ทุกระยะทางเท่ากันหมดด้วยราคา 2 หยวน (ประมาณ 10 บาท) ก่อนที่จะปรับวิธีคิดค่าโดยสารในปี 2014 มาเป็นระบบคิดตามระยะทาง โดยปัจจุบันนี้ค่าโดยสารต่ำสุดของการเดินทางเริ่มต้นที่ 3 หยวน (ประมาณ 15…

เท็ด คาซินสกี ‘ยูนาบอมเมอร์’ มือระเบิดที่ส่งความตายผ่านไปรษณีย์

Loading

IN FOCUS การส่งพัสดุระเบิดของเขากินเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 17 ปี และนับเป็นการติดตามหาตัวคนร้ายที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อาชญากรรมของสหรัฐอเมริกา ที่ฮาร์เวิร์ด คาซินสกีเข้าร่วมการทดลองของเฮนรี เมอร์เรย์ (Henry Murray) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา ที่ทดลองเทคนิค OSS หรือการควบคุมความคิด สำหรับหน่วยงานของซีไอเอ ผลจากการทดลองนี้เองที่ทำให้เท็ดเกิดความคิดเกี่ยวกับการโจมตีและการก่อการร้าย คาซินสกีเลือกเหยื่อของเขาแบบไม่ตั้งใจ สำหรับเขาแล้ว มันคือสัญลักษณ์ของวิถีชีวิตที่ใช้เทคโนโลยีในการทำลายความสงบสุขของสังคม คดีฆาตกรรมของคาซินสกีมีโทษถึงประหารชีวิต ครอบครัวของเขาให้ข่าวกับสื่อว่า เป็นเพราะสภาพจิตของเขาไม่ปกติ จิตแพทย์คนหนึ่งตรวจและพบอาการโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง   สายตาของเขาเหม่อลอย ระหว่างที่ภรรยาของผู้ตายซึ่งเป็นหนึ่งในเหยื่อสังหารของเขาเอ่ยปากถาม “คุณชอบหรือที่จะมีใครขโมยความเป็นไปได้ในการมองเห็นแสงเดือน แสงตะวัน หรือความงดงามของธรรมชาติจากคุณไปตลอดชีวิตที่เหลือ” ก่อนที่ผู้พิพากษาจะประกาศคำตัดสินในวันที่ 4 พฤษภาคม 1998 ลงโทษจำคุก เธโอดอร์ จอห์น คาซินสกี (Theodore John Kaczynski) หรือที่ผู้คนรู้จักกันในชื่อ ‘ยูนาบอมเมอร์’ (Unabomber) ตลอดชีวิตถึง 8 ครั้ง และให้คุมขังไว้ในเรือนจำซึ่งมีการดูแลความปลอดภัยขั้นสูงสุด นับแต่นั้น คาซินสกีต้องไปชดใช้กรรมความผิดที่ เอดีเอ็กซ์ ฟลอเรนซ์ ในรัฐโคโลราโด ที่ซึ่งจัดเป็นเรือนจำที่มีมาตรการควบคุมนักโทษที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ห้องขังของเขามีความกว้างขนาด…