ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้มีแค่ Cyber แต่เป็นเรื่องของ ‘สำนึก’
“เราต้องสร้างวัฒนธรรมตระหนักความเป็นส่วนตัวในสังคม” ถอด 10 บทสรุปจากวงเสวนา : เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลออนไลน์โดนละเมิด ‘อินเทอร์เน็ต’ ทำให้ทุกคนบนโลกสามารถเชื่อมต่อกันอย่างไร้พรมแดน และข้อมูล (Data) เกี่ยวกับพฤติกรรม ความสนใจ ของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ ก็กลายเป็นขุมทรัพย์มูลค่ามหาศาล ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในภาคธุรกิจและภาครัฐ ส่งผลให้ ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ ของประชาชน โดนละเมิดอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ที่ ‘ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล’ จะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นวาระสำคัญที่ทุกคนต้องใส่ใจ โดยเฉพาะประเด็นการจำกัดความหมายของคำว่า ‘ความเป็นส่วนตัว’ (Privacy) ในวงเสวนาระหว่างดร.นคร เสรีรักษ์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กรรมการมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง และนายวสันต์ ลิ่วลมไพศาล วิศวกรซอฟต์แวร์บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) และผู้ร่วมก่อตั่งเว็บไซต์ blognone.com เรื่อง “เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลออนไลน์โดนละเมิด : ถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาปัจจุบัน” ที่จัดขึ้นโดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่สุดท้ายแล้ว ความพอดีอยู่ที่ใดในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคลคือภาพสะท้อนอัตลักษ์ อัตลักษณ์จะทำหน้าที่ได้ย่อมหมายความว่า มีพื้นที่ให้แสดงออก…